welcome to crescent moon space

welcome to crescent moon space
small but beautiful small alternative space for theatre lovers

Wednesday 30 September 2009

ไทยจ๋า รอบแรกวันนี้


วันนี้รอบแรก
ละครใบ้เบบี้ไมม์กับงานชิ้นใหม่ "ไทยจ๋า" รอบแรกวันนี้ เราได้ข่าวมาว่ามีผู้ชมจองที่นั่งเข้ามาล้นห้องโรงละครแล้ว หากใครอยากจะมากรุณาโทรเช็คเรื่องที่นั่งก่อน


สำหรับละครสัญชาติไทยไท้ย "ไทยจ๋า" เรื่องนี้เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สร้างบทและกำกับโดย เพียงไพฑูรย์ สาตราวาหะ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาศิลปการละคร อักษรฯ จุฬาฯ

"ไทยจ๋า" เรื่องราวอินไซด์ไทยแลนด์ มาตุภูมิที่พวกเรารักในมุมมองน่ารักน่าชัง แสดงโดย งิ่ง ทา เกลือ กลุ่มนักแสดงละครใบ้ไทยแต๊ๆ "เบบี้ไมม์"


ชมฟรี
เพียง 3 รอบเท่านั้น
โทร 081 552 1260

Tuesday 29 September 2009

Babymime ทำไมพวกเขาจึงเป็นทารก?



Babymime คืออะไร?


Baby = เด็กทารก

mime = ละครใบ้

Babymime = กลุ่มละครใบ้ ที่ใช้แรงบันดาลใจและจินตนาการของเด็กเน้นการแสดงแบบดูง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ฮาหนุก-ฮาหนาน โดยหยิบเอาเรื่องราว ที่อยู่ใกล้ตัวมานำเสนอให้น่าสนใจ อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่คนมองข้าม แต่เราหยิบมันขึ้นมา เคาะ กระเทาะ ตบตี คลุกเคล้าจนเป็นเรื่องราวที่มีรสชาติกลมกล่อมไปด้วยความสุข เสียงหัวเราะและงานศิลปะ

เริ่มต้นเมื่อปี 1999 ที่โชคชะตาทำให้ 4 หนุ่มจากต่างสถาบันการศึกษา งิ่ง , ธา, เกลือ และโจ โคจรมาพบกันในการมาเรียนละครใบ้คนหน้าขาวของครูอั๋น (ไพฑูรย์ ไหลสกุล) หลังจากพวกเขาได้เก็บประสบการณ์อยู่นาน จึงเริ่มทำละครใบ้ในรูปแบบใหม่ของตัวเองโดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “Babymime”


ปัจจุบัน มีสมาชิกหลัก 3 คน ปี 2003 Babymime แจ้งเกิดเป็นครั้งแรกในงานระดับชาติ ร่วมแสดงกับนักแสดงละครใบ้ชาวต่างประเทศ ในงาน Pantomime in Bangkok ครั้งที่ 6 (ปัจจุบัน ละครใบ้ในกรุงเทพฯ ดังกล่าวเพิ่งฉลองครบรอบ 10 ปี ไปเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา) อีกทั้งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว Babymime ก็เพิ่งได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดง International Street Show in Bangkok เป็นครั้งแรกของกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้ชมเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่นั้นมา คณะละครใบ้เลือดใหม่ Babymime ก็ทำงานละครใบ้แนวที่ถนัดคือ comedy และมีผลงานต่างๆเรื่อยมา รวมทั้งเวทีใหญ่น้อยอีกนับไม่ถ้วน

ติดตามผลงานเรื่องใหม่ของพวกเขาได้ใน "ไทยจ๋า" วันที่ 30 ก.ย. และ 1,2 ตุลาคมนี้ ที่ Crescent Moon space ดูฟรีด้วยนะเออ...





ขอขอบคุณภาพจาก เบบี้ไมม์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
http://www.vrbabymime.com/


Sunday 27 September 2009

โครงการอ่านบทละคร – อ่านสันติภาพ (2)


พวกเขาจะอ่านอะไร?

เราได้รับคำตอบมาแล้ว และเปิดเผยได้แล้วว่า มีหนังสือเล่มไหนบ้างที่พวกเขาจะอ่าน ใน "อ่านสันติภาพ"


ดุจดาว วัฒนปกรณ์
อ่าน "Einstein quotes" กับบางส่วนมาจากหนังสือชื่อว่า Imagination is more important than knowledge และอีกบางส่วนมาจากการค้นคว้าเองเพิ่มเติม

จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ และ ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
อ่าน “บ้านที่แท้จริง” จากหนังสือชื่อเดียวกันของหลวงพ่อชา สุภทโท

วรัญญู อินทรกำแหง
อ่าน บทสัมภาษณ์ของดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา บางตอนจากนวนิยายของทินกร หุตางกูร บทสัมภาษณ์ของ ศ.ดร.นพ. เทพนม เมืองแมน และเอกสารรายงานขององค์กร USO : Universal Spiritual Organization และบทบันทึกจากการเดินทางไปทำบทความสารคดีของหน่วยงานนี้ที่แก่งกระจาน

วสุรัชต อุณาพรหม
อ่านบทเพลงในละคร West End เรื่อง Evita ซึ่งเป้นบทเพลงที่สะท้อนถึงความคิดภายในและความทรงจำของ อีวา เปรอง ความทะเยอทะยานที่จะมีชีวิตอยู่ และความปรารถนาที่จะเป็นที่รัก "You Must Love Me"

สุกัญญา เพี้ยนศรี
อ่าน "วันหนึ่งในฤดูหนาว ณ สำนักงานป้องกันตนแห่งชาติ” จากรวมเรื่องสั้น “ค่ำคืนนี้” เขียนโดย เอคุนิ คาโอริ แปลโดย น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ

วิชย อาทมาท
อ่านหนังสือเรื่อง “เหว่ ...ใครใช้มึงคิดกบฏ” ของ อิศรา อมันตกุล เรื่องสั้นชื่อ “ข่าวที่บรรณาธิการขว้างทิ้ง”

ฟารีดา จิราพันธุ์
อ่านเพลง "Imagine" ของ John Lennon

ผดุงพงศ์ ประสาททอง
อ่าน“นางนวล กับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน” ผู้เขียนคือ หลุยส์ เซปุล์เบดา Luis Sepulvedaแปลโดย สถาพร ทิพยศักดิ์ จะนำเนื้อเรื่องมาตัดต่อและเล่าใหม่


กมลภัทร อินทรสร
อ่านหนังสือ “ท่านพุทธทาสกับอำนาจวัตถุนิยม” ของท่านพุทธทาส และบทกวีของ Emily Dickinson

ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
อ่าน"ฝูงมนุษย์ กับ Mr. Wing" จากบทประพันธ์ของ คุณช่วง มูลพินิจ – ฝูงมนุษย์ และ Mr. Wing ของ Jimmy Liao

สายฟ้า ตันธนา
อ่านเรื่องสั้น เรื่อง "แพะในหมู่บ้าน" ของ วรภ วรภา จากนิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน "ช่อการะเกด 49" ฉบับเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2552

ภาวิณี สมรรคบุตร
อ่านเรื่องสั้น “เพชรฆาต” จากหนังสือรวมเรื่องสั้น “สิ่งมีชีวิตที่รียกว่าคน” ของ วินทร์ เลียววารินทร์

เตรียมตัวอ่านรอ หรืออาจจะจองที่รอไว้เพื่อให้นักละครมาอ่านให้ฟัง ที่เบอร์ 081 259 6906 และ 083 995 6040

หรือ
email : crescentmoon_theatre@yahoo.com

หรือจองที่นั่งโดยโพสต์คอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างนี้ได้เลย

Friday 25 September 2009

Left Out - Review

INTIMACY and EMOTION amid the RAZZMATAZZ
written by Jasmine Baker
published in THE NATION on Tuesday, June 16, 2009



Thanks to the muscle of their marketing budget, we got endless reports on what has been happening inside Muangthai Rachadalai Theatre—Myria “Nat” Benedetti flying to and fro over the stage, for example.

Away from the hype, however, were two small-scale productions, both with English surtitle translations, taking place at intimate performance spaces. They may not be flawless but, for more laid-back theatregoers, they are a breath of fresh air.


LEFT OUT


At the thirty-seater Crescent Moon Space was Dujdao Vadhapakorn’s follow-up to “Something Else”, her successful directorial debut. In her new work “Left Out”, Dujdao once again made use of her skills as a registered dance movement therapist to unleash the creativity of the performers (herself included).


Addressing the stories often left out of conversations amongst women, Dujdao upended the scenery to invite the audience to explore new perspectives. Hung from the ceiling were a table, a pair of stools, and countless dolls. It made a striking composition.

Though the only two live performers were Dujdao and her collaborator, Silpathorn Award-winning actress Sineenadh Keiparapai, young Apichaya Somboon, appearing in a short film footage projected onto the wall, was a vital character who brought an extra dimension to the show. Apichaya was chatty and inquisitive, but her words were always ignored. The film, so dark the spectators could hardly see her face, contributed symbolically to the fact that the little girl was left alone in her own world
.

Representing reticent female adults who have been socially conditioned to repress their feelings, Dujdao and Sineenadh never spoke once throughout the play and could only express their agony and frustration though their bodies. Dujdao’s discomfort in dealing with sexual matters led to a scene in which she furiously wrote taboo words on a black board and moved alongside the images of blooming flowers. Sineenadh, as a mother, relived her pain in childbirth while wandering blankly on stage.



The two were dynamic, but on the down side, their movements were extremely monotonous. Stronger dance basics or an experienced choreographer, perhaps, would have helped them live up truly to the performance’s billing as “a combination of dance, film and mind”.





Read more:
http://blog.nationmultimedia.com/danceandtheatre/2009/07/06/entry-1

Monday 21 September 2009

Next program - ไทยจ๋า


เชิญชมการแสดงละครใบ้สัญชาติไทยไท้ยไทย
ผลงานวิทยานิพนธ์ สร้างบทและกำกับโดย
"มาย" เพียงไพฑูรย์ สาตราวาหะ
นิสิตปริญญาโท ภาควิชาศิลปการละคร อักษรฯ จุฬาฯ

ไทยจ๋า

พบกับเรื่องราวอินไซด์ไทยแลนด์ มาตุภูมิที่พวกเรารักในมุมมองน่ารักน่าชัง นำเสนอผ่านการแสดงละครใบ้

นำแสดงโดย กลุ่มนักแสดงละครใบ้ไทยแต๊ๆ "เบบี้ไมม์"

ชมฟรี เพียง 3 รอบเท่านั้น

30 กันยายน 1 และ 2 ตุลาคม 19.30น.
ณ Crescent Moon Space
จองบัตรด่วน ที่นั่งมีจำนวนจำกัดเพียงรอบละ 30-40 ที่เท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม/จองบัตร 081 552 1260

ด่วน!!!

Sunday 20 September 2009

โครงการอ่านบทละคร – อ่านสันติภาพ (1)


จะมีใครมาร่วมแจมในการ ‘อ่านสันติภาพ’ กันบ้าง?

ตอนนี้พระจันทร์เสี้ยวการละครกำลังเตรียมโครงการอ่านบทละคร เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเราได้นักการละครที่สนใจเข้ามาร่วมแจมกับเราทั้งหมด 13 คน จะมีชิ้นการแสดง ‘อ่านบทละคร’ ทั้งหมด 12 ชิ้น จากหนังสือหลายเรื่อง ทั้งจากเรื่องสั้น สารคดี หนังสือธรรมะ บทความ บทกวี และเพลง ในคอนเซ็ป "อ่านสันติภาพ" แต่ที่น่าแปลกคือ ไม่มีใครเลือกหยิบบทละครมาอ่านเลย แต่ก็น่าสนใจที่ว่า แล้วบรรดาหนังสือที่พวกเขาเลือกมานั้นน่าสนใจตรงไหน


แล้วพวกเขาคือใครบ้าง ตามดูกันได้เลย

สายฟ้า ตันธนา
นักแสดงที่ทำละครมากกว่า 10 ปี และเป็นผู้กำกับ จากกลุ่มออนบ๊อกซ์

ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
นักการละครจากกลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ อาจารย์สอนละครที่ มหาวิทยาลัยบูรพา

จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ และ ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
ทั้งสองเป็นอาจารย์สอนละครจาก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา

ภาวิณี สมรรคบุตร
นักการละครที่มีประสบการณ์มามากกว่า 10 ปี อีกคนหนึ่ง เป็นสมาชิกกลุ่มแปดคูณแปด ผู้ดูแลและอำนวยการโรงละคร Democrazy Theatre Studio

ดุจดาว วัฒนปกรณ์
นักการละครจากลุ่มบีฟลอร์ จบปริญญาโทด้าน Dance and Movement Therapy จากประเทศอังกฤษ

วสุรัชต อุณาพรหม
นักการละคร อาจารย์สอนละครและศิลปะ จบปริญญาโทด้านการออกแบบการแสดงจากประเทศอังกฤษ

วรัญญู อินทรกำแหง
นักการละครจากกลุ่มบีฟลอร์ และเป็นนักเขียนหนังสือให้กับนิตยสารฉบับหนึ่ง ผลงานการแสดงที่เพิ่งผ่านมาคือ RUN

กมลภัทร อินทรสร
นักละครจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร นอกจากนั้นยังทำงานภาพยนตร์ สารคดี และ มิวสิควิดิโอ

วิชย อาทมาท
นักการละครอิสระ ที่มีฝีมือทางการถ่ายภาพ และทำอาร์ตเวริ์ค รวมทั้งงานตัดต่อเสียง

สุกัญญา เพี้ยนศรี
นักศึกษาการละคร ชั้นปีที่ 4 จาก ม.สวนสุนันทา เพิ่งมีผลงานศิลปะนิพนธ์เรื่อง “Drawing”

ผดุงพงศ์ ประสาททอง
นักการละครที่ทำงานละครมาตั้งแต่อายุ 15 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มละครมะขามป้อม ทำงานในหลายด้าน ผลงานกำกับ เช่น Sperms

ฟารีดา จิราพันธุ์
นักการละครจากพระจันทร์เสี้ยวการละคร ทำงานในหลายด้านมานานกว่า 10 ปี เพิ่งผลการแสดงเรื่องล่าสุด “The World according to Farida and Damkorng”



นักการละครทั้ง 13 คน มาร่วมโครงการกับเรากันด้วยความใจดีและใจที่รักละคร แล้วพวกเขาก็จะพานักอ่านอีกหลายคนมานำเสนอ การอ่านบทละคร : “อ่านสันติภาพ” ให้เราได้ดูได้ฟังกันว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไรกับสันติภาพ
โปรดติดตามและมาให้กำลังใจพวกเขาได้ในวันที่ 24-25 ตุลาคมนี้ ที่ ละครโรงเล็ก Crescent Moon space โรงละครเล็กๆของเรารับผู้ชมได้รอบละ 30-40 ที่นั่ง กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่เบอร์ 083 995 6040 และ 081 259 6906



Water Time – สูจิบัตร


รายชื่อนักแสดง

น้ำ ศศิธร พานิชนก (ฮีน)
“ยังคงยืนยันว่ามีความสุขมากๆที่ได้ทำและเล่นละครเรื่องนี้ ผู้กำกับเก่ง บทดี นักแสดงน่ารัก เรารักสิ่งที่เราทำเหมือนกัน ขอบคุณจริงๆค่ะ”

เคนจิ โชโกะ ทานิกาวา (โช)
“ดีใจที่ได้เล่นอีกครั้ง เป็นเคนจิมาแล้วหลายรอบ เหลืออีก 11 รอบ ผมจะทำให้ดีที่สุด ขอให้คนดูทุกคนชอบนะครับ”

เอ อภิรักษ์ ชัยปัญญหา (โย)
“นักแสดงธรรมดาๆ คนหนึ่งกับโอกาสดีๆที่ได้ร่วมงานกับผู้กำกับการแสดง คนเขียนบท และนักแสดงเก่งๆ มันเป็นประสบการณ์ที่เกินคาด.. และคงอยู่ในความทรงจำของผมไปอีกนานเท่านาน”



รายชื่อทีมงาน

พันพัสสา ธูปเทียน -กำกับการแสดง
โชโกะ ทานิกาวา -เขียนบท
อภิรักษ์ ชัยปัญหา -อำนวยการผลิต
วรัญญา มหาจุนทการ -แปลบทภาษาญี่ปุ่น
ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ -แปลบทภาษาอังกฤษ
ศรีมณฑา ธีระวัฒนชัย -ออกแบบฉาก
พรพรรณ อารยะวีรสิทธิ์ -ออกแบบแสง
สุรชต อุณาพรมหม -ผู้ช่วยฝ่ายแสง
อรุณโรจน์ ถมมา -ผู้ช่วยฝ่าย
แสงรติพร ยงทัศนะกุล -ออกแบบสิ่งพิมพ์
ณัฐพร เทพรัตน์ -ออกแบบเสื้อผ้า และอุปกรณ์ประกอบฉาก
คานธี อนันตกาญจน์ -เรียบเรียงดนตรี
อรุณโรจน์ ถมมา -กำกับเวที
สุรชัย มิดำ -กำกับเวที
อรุณวดี ลีวะนันทเวช -อำนวยการ/บัตร
ชนกภัทร คงนุช -อำนวยการ/บัตร
วิจิตรา ดวงกันยา -อำนวยการ/ของที่ระลึก
ศศิธร พานิชนก - ประสานงาน
เสฏพันธุ์ เสริญไธสง -จัดหาทุน
นวลตา วงศ์เจริญ -ภาพโปสเตอร์
ทามากิ โอโน -ภาพประชาสัมพันธ์
วิชย อาทมาท -ถ่ายภาพ


Director’s Note

สายน้ำ และเวลามีความเกี่ยวพันธ์กันคือเวลานั้นเปรียบเหมือนสายน้ำที่ไหลผ่านไปและไม่มีวันหวนคืน การเสียใจกับอดีต เป็นความเจ็บปวดที่เศร้ามาก เพราะเราทำอะไรไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ Water Time มีจุดกำเนิดมาจากการพูดคุยกันกับนักแสดง คนเขียนบท และผู้กำกับ โดยนำเอาประสบการณ์ร่วมของพวกเรามาเป็นแรงบันดาลใจ
“This one is for you… DAD”


****** สำหรับการ Restage ในครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเสียงตอบรับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความผูกพันที่เรามีต่อละครเรื่องนี้ ******




Friday 18 September 2009

มี Water Time ใน Happening

นำบทสัมภาษณ์บางส่วนของฮีนกับโชโกะจากนิตยสาร Happening ฉบับล่าสุดมาให้อ่านกันว่าพวกเขาได้ประสบการณ์ดีๆอย่างไรบ้างกับ Water Time



Water Time

เราทะเลาะกันด้วยภาษาอะไร

จาก คอลัมภ์ บนเวที! Playing play!
จากนิตยสาร Happening ฉบับที่ 31 เดือนกันยายน 2009



.....


ช่วงเวลาของโปรดักชั่นเริ่มตั้งแต่กระบวนการคิดในเดือนธันวาคม 2551 จนถึงวันแสดงจริงครั้งแรก ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ใจช่วงวันแห่งความรักเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นั้นถือว่าสั้นมาก ทุกคนจึงต้องซ้อมกันอย่างหนักด้วยวิธีการกำกับแบบครูหนิงที่จริงจังและดึงเอาพลังของนักแสดงออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กระทั่งผลตอบรับในครั้งนั้นก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจ

“ฟีตแบ็กดีและอบอุ่นมากค่ะ คนมาดูเต็มทุกรอบ อ่านจากใบคอมเม้นท์ที่คนดูเขียนหลังจากจบการแสดง เราก็ขนลุก เพราะเขาได้ในสิ่งที่เราอยากจะบอกจริงๆ บางคนก็บอกว่าอยากกลับไปกอดแฟนที่บ้าน บางคนก็จะไปขอคืนดีกับแฟน หรือบางคนก็เดินเข้ามาขอบคุณ” รอยยิ้มของเธอปรากฏบนใบหน้า


หลังจากประสบความสำเร็จเกินคาด ละครเรื่องนี้จึงได้มีโอกาสไปทัวร์ต่างจังหวัดด้วย เริ่มที่ม้าหมุนสตูดิโอ จังหวัดลำปาง และ Minimal Gallery จังหวัดเชียงใหม่

“คณะละครที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการทัวร์มากครับ เพราะทำให้เกิดทีมเวริ์ก และยังให้ความรู้แก่คนต่างจังหวัดที่สนใจด้านนี้แต่ไม่มีโอกาสเรียนด้วย เหมือนสมัยก่อนที่ผมอยู่ญี่ปุ่น ผมก็จะชอบมากเวลามีคณะละครจากเกียวมาเล่น” เขาเอ่ยถึงสมัยที่เคยอยู่เมือง อะโอะโมริ (Aomori) จังหวัดทางภาคเหนือของญี่ปุ่น ก่อนที่แรงบันดาลใจเหล่านั้นจะผลักดันให้เขาก้าวมาทำงานละครที่โตเกียวบ้าง

“ที่ลำปางกับเชียงใหม่มีคนดูตั้งแต่เด็กๆไปจนถึงคุฯป้าคุณยาย เป็นชาวบ้านธรรมดาที่ก็ไม่ได้เคยดูละครเวทีกันบ่อยๆ แต่เราก็มีซับไตเติลช่วยแปลให้นะ ซึ่งห้องที่แสดงก็เล็กมากๆ อยู่ใกล้คนดูแค่นิดเดียว แถมไม่มีแอร์ มีแต่พัดลมตัวใหญ่ๆ 3-4 ตัว เสียงดังเลยต้องใช้สมาธิสูงมาก” เธอกล่าวเสียงเน้น “แต่ถือได้ว่าคนดูก็ให้สมาธิเราด้วย เขานั่งกันนิ่งเลยทั้งที่มันร้อนมาก เพราะเขาได้อะไรในแบบที่เขาไม่เคยดู”

หลังจากนั้น ละครเวทีเรื่องนี้ก็ได้ทุนจาก Japan Foundation ในโครงการสนับสนุนศิลปะในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ใหไปเปิดการแสดงตามมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ธรรมศาสตร์, มหาสารคาม และสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งมีการจัดเวริ์คชอปการแสดงด้วย จนในที่สุดทีมงานก็ตัดสินใจให้ละครเรื่องนี้กลับมาแสดงอีกครั้งที่กรุงเทพฯที่เวทีเดิมคือ Crescent Moon Space ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ในเดือนกันยายนนี้


“หลังจากไปเล่นที่เชียงใหม่ เราก็หยุดไปนานเหมือนกัน แต่กลับมาเล่นอีกครั้งนี้ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าซ้ำเลยนะคะ กลายเป็นว่าเราหาซอกมุมให้ตัวละครตัวนั้นได้มากขึ้น เหมือนแกงที่เคี่ยวไปเรื่อยๆ และอร่อยขึ้นน่ะค่ะ” ฮีนเล่าความรู้สึกจาการทัวร์ครั้งล่าสุดที่เธอบอกว่าได้อะไรกลับมามากมาย
ไม่เพียงแค่ทีมนักแสดง คนดูก็ได้อะไรจากละครเรื่องนี้มากมายไม่แพ้กัน เพราะไม่ว่าใครก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับเวลาและความรักมาแล้วทั้งนั้น แม้ละครจะยกเพียงเรื่องของคู่รักมานำเสนอ แต่ก็สามารถนำไปเทียบเคียงกับความสัมพันธ์แบบใดก็ได้ ยิ่งบวกกับความใกล้ระหว่างคนดูและนักแสดงเข้าไปด้วยแว ก็ยิ่งสร้างความรู้สึกสมจริงได้มากขึ้น ช่วยให้แต่ละคนได้มีโอกาสย้อนคิดถึงการกระทำของตนเองในช่วงเวลาที่ผ่านไป


เสน่ห์ของละครเวทีคือความสดค่ะ คนดูจะเห็นว่านี่คือมนุษย์ที่มาอยู่ข้างหน้าจริงๆไม่ได้อยู่บนจอ เรารู้สึกอะไร คนดูก็รู้สึกแบบนั้นไปด้วยกันในที่ที่เล่น สำหรับฮีนการได้แสดงละครเวทีเป็นความสุขที่ได้เล่น ได้เรียนรู้จักตัวละคร ส่วนถ้าในฐานะที่เราเป็นคนดูเอง เราก็จะได้พลังบางอย่างจากนักแสดงที่มันส่งมาถึงกัน มันสนุกดี” นักแสดงสาวคนสวยยิ้มกว้าง




“ใช่ครับ” นักเขียนบทชาวอาทิตย์อุทัยเห็นด้วย “ผมรู้สึกว่าคาแรกเตอร์มันมีชีวิตอยู่ ทุกครั้งที่เล่นก็จะไม่เหมือนกัน สนุกดี แล้วยังได้เรียนรู้อะไรที่เราอาจจะไม่ได้เจอในชีวิตจริงของเราด้วย”
เป็นอย่างที่เขาว่า.... ละครทำให้เราได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง คล้ายส่องให้เราได้ย้อนดูตัวเอง ให้เข้าใจความคิด เหตุผลของการกระทำรวมไปถึงความรู้สึกที่เรามีต่อใครสักคนได้ชัดเจนขึ้น เผื่อจะได้ทบทวนบางสิ่งเล็กๆที่เราไม่เคยใส่ใจ ก่อนเอ่ยคำว่าเสียใจติ่อดีตที่ไม่อาจหวนคืน



.....



หาอ่านแบบเต็มๆได้ในนิตยสาร Happening ฉบับที่ 31 เดือนกันยายน 2009 และเราขอขอบคุณทีมงานนิตยสาร Happening ที่สนับสนุนคนทำงานละครเวที
ส่วน Water Time เหลือวีคนี้เป็นวีคสุดท้ายแล้ว






Sunday 13 September 2009

อบรมพื้นฐานการแสดงก็กลับมาอีกแล้ว

Back to Basic : acting workshop III
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เปิดอบรมการแสดงเบื้องต้น (รุ่นที่ 3)


สอนโดย
สินีนาฏ เกษประไพนักการละครและผู้กำกับ จากกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละครศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551

รับผู้เข้าอบรมจำนวน 12 คน

วันที่ 7-10 ตุลาคม 2552
เวลา 13.00 - 18.00 น.

@ Crescent Moon Space
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ

ค่าอบรม 2,000 บาท (นักเรียน, นักศึกษาลด 10%)
สอบถามรายละเอียดโทร. 081 259 6906

อ่านบทละคร : อ่านสันติภาพ


โครงการอ่านบทละครมาอีกแล้ว


พระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ

โครงการอ่านบทละคร
"อ่านสันติภาพ"


ชมการแสดงอ่านบทละครจากมุมมองของนักการละครหลายคน
อาทิ

สายฟ้า ตันธนา
ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์, ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
ภาวิณี สมรรคบุตร
ดุจดาว วัฒนปกรณ์
วสุรัชต อุณาพรหม
วรัญญู อินทรกำแหง
กมลภัทร อินทรสร
วิชย อาทมาท
สุกัญญา เพี้ยนศรี
ผดุงพงศ์ ประสาททอง
และ ฟารีดา จิราพันธุ์

จัดแสดง
วันที่ 24-25 ตุลาคม 2552
เวลา 13.00 และ 15.30 น. (รวม 4 รอบ)

@ Crescent Moon Space
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ

ชมฟรีไม่เก็บบัตร

สำรองที่นั่ง (รอบละ 30 ที่นั่ง)
โทร 083 995 6040, 081 259 6906

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ในโครงการศิลปะกับสังคม “อภิวัฒน์สู่สันติ” ในวาระครบรอบ 110 ปี รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์

Saturday 12 September 2009

Water Time - Review

Water Time: เพราะเวลากับความรักอาจจะไม่ไปด้วยกัน
Written by Nuttaputch


ผมมักสังเกตว่าเนื้อหาของละครหรือหนังที่จะเป็นที่ชื่นชอบและเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ง่ายนั้นมักไม่พ้นเรื่องราวของความรัก ซึ่งเรามีข้อพิสูจน์จากละครดัง ๆ ในทีวีที่นับวันจะยิ่งสร้างความหวังให้กับคนดูแบบลม ๆ แล้ง ๆ รวมไปถึงสิ่งที่เราเรียกว่า “น้ำเน่า” ที่พร้อมจะเอ่อล้นจากจอทีวี
ในทางกลับกัน น่าแปลกที่ผมมักเห็นบทละครดี ๆ ที่พูดถึงความรักอย่าง “ตรงไปตรงมา” และ “ละเอียดละอ่อน” ในละครเวทีเล็ก ๆ หรือในภาพยนต์คุณภาพที่มีผู้ชมเพียงน้อยนิดและแทบจะเป็นเศษเสี้ยวเมื่อเทียบกับสื่อยักษ์ใหญ่ที่กวาดต้อนคนดูอยู่ในปัจจุบัน


ซึ่ง Water Time จาก Life Theatre เองก็เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องที่ผมค่อนข้างประทับใจกับเรื่องราวที่นำเสนอ เพราะแม้มันจะไม่ประโลมโลก สวยงามตระการตา แต่เนื้อแท้ของมันค่อนข้างจะจริงใจและลึกซึ้งกับสิ่งที่เรียกว่า “ความรัก” อย่างเรียบง่ายและงดงาม (สังเกตได้จากคนข้างหน้าของผมนั่นกอดคนที่มาด้วยอย่างอบอุ่นและน่าประทับใจเหลือเกิน)

บทละครที่เขียนโดย โชโกะ ทานิกาวา อาจจะเป็นเรื่องราวง่าย ๆ ของสองสามีภรรยาชาวไทยและญี่ปุ่นที่พยายามประครองชีวิตอยู่ในมหานครต่างถิ่น แรกเริ่มเราจะพบว่าความไม่ลงรอยและเนือยหน่ายนั้นคลาคลุ้งท่วมอยู่ในบรรยากาศของห้องพัก ยิ่งเมื่อไฟโมโหและความไม่พอใจปะทุขึ้นมา แรงระเบิดจากความเก็บกดก็อัดแน่นพร้อม ๆ กับความสัมพันธ์ที่พร้อมจะแตกหัก

ผมเชื่อว่าในเวลาปรกติของการมีชีวิตคู่ ไม่แปลกที่คู่รักจะต้องประสบปัญหาความรักที่จืดจางและทดแทนด้วยปัญหาของชีวิตจริงที่มารุมเร้า “น้ำ” กับ “เคนจิ” ก็ไม่ต่างกัน การพยายามประครองชีวิตคู่ที่มีเรื่องนอกเหนือไปจากความรัก เช่นเรื่องเงินทอง ๆ อาจจะกลายเป็นเมฆหมอกสีดำที่มาบดบังความหวานซึ้งไปจนหมด

และจะมีสักกี่ครั้งที่คนเราจะได้รับโอกาสในการย้อนกลับไปค้นหาและรู้สึกกับวันเก่า ๆ เพราะเวลามันก็ไม่ต่างจากสายน้ำที่ไหลไปแล้วไม่เคยย้อนกลับมา ผมว่าหลาย ๆ ครั้งเมื่อความสัมพันธ์จบลง เรามักถามตัวเองว่าเราทำสิ่งที่ถูกไปหรือเปล่า หรือไม่ก็ถามว่าเราใช้เวลากับคู่รักอย่างคุ้มค่าจริง ๆ หรือเปล่า

สำหรับ “น้ำ” และ “เคนจิ” พวกเขาอาจจะค้นพบมันเมื่อเวลามันสายไปแล้ว แต่ละครก็ไม่ได้บ่งบอกชี้ชัดไปว่ามันคือโศกนาฏกรรม ความรักในสายตาหลาย ๆ คนอาจจะมีคุณค่าเมื่อเราสูญเสียไป กับบางคนมันอาจจะงอกงามอยู่บนคราบน้ำตา ซึ่งผมว่าความรู้สึกที่ละครทิ้งท้ายไว้นั้นกลายเป็นสิ่งละเอียดละอ่อนที่เปิดกว้างให้เหล่าผู้คนที่มีมีประสบการณ์หรือกำลังประสบกับความรักอยู่นั้นได้กลับไปพิจารณาหัวใจของตัวเองโดยที่ตัวละครไม่ต้องตอบแทน

ความกลมกล่อมของบทละครในแบบที่เรียบง่าย ๆ พื้น ๆ แต่ละเอียดบนพื้นฐานของความรู้สึกเหมือนเป็นเสน่ห์สำคัญที่ผมมักเห็นได้จากละครเวทีเล็ก ๆ แต่หนักแน่นด้วยคุณภาพ บทละครอาจจะไม่บอกอะไรหรือชี้ให้เราแบบโต้ง ๆ แต่ค่อย ๆ นำพาความรู้สึกของเราจากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งด้วยบรรยากาศต่าง ๆ ซึ่งระหว่างทางนั้นก็มีการหยอดความรู้สึกต่าง ๆ เช่นอารมณ์ขันผสมผสานเข้าไปให้ละครไม่ได้ “สีดำ” หรือ “สีชมพู” อยู่ตลอดเวลา

การที่ผู้กำกับพันพัสสา ธูปเทียน ได้นักแสดงมากฝีมืออย่าง ศศิธร พานิชนก โชโกะ ทานิกาวา และอภิรักษ์ ชัยปัญหามาร่วมงานกันน่าจะเป็นความลงตัวที่ดีมากในการสร้างสรรค์ผลงานที่เรียกว่า “มีคุณภาพ” เพราะผู้กำกับเองก็ผ่านงานที่ค่อนข้างจะมากคุณภาพดังที่ผู้เขียนเคยวิจารณ์ไปในหลาย ๆ ครั้งอยู่แล้ว ส่วนนักแสดงก็ผ่านงานแสดงดี ๆ มาในปริมาณพอ ๆ กัน

ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งที่ผมมักผมจากการชมละครในเวทีเล็ก ๆ ที่เป็นงานที่มีคุณภาพนั้นคือการกำกับการแสดงของผู้กำกับรวมไปถึงการแสดงของนักแสดงที่มีความ “จริงใจ” ต่อบทละครโดยไม่ต้องอาศัยความเสแสร้ง ผลลัพธ์ที่ดีคือการที่ตัวละครนั้นเสมือนมีชีวิตอยู่ในเวทีจริง ๆ มากกว่าต้องฉาบหน้าด้วยเมคอัพเพื่อเป็นตัวละครที่พวกเขาไม่เคยเข้าถึงและมีเพียงการแสดงแห้ง ๆ เพียงเพื่อบอกว่าตัวละครนั้นคือใคร ทำอะไรอยู่ ซึ่งภายหลังกลายเป็นการสร้างมาตราฐานแย่ ๆ ให้กับวงการบันเทิงเมืองไทยจนไม่แปลกที่หนังหรือละครไทยไม่เคยไปไกลกว่าพรหมแดนประเทศเราเอง

แม้ส่วนตัวผมออกจะค่อนข้างตะหงิด ๆ กับการเกิดกลุ่มละครใหม่ (อีกแล้ว) อย่าง Life Theatre ซึ่งเป็นความร่วมมือของผู้กำกับและนักแสดงนั่นแหละ ทั้งนี้เพราะกลุ่มละครเวทีเล็ก ๆ ได้เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ในช่วงนี้ (และหลายกลุ่มเกิดมาแป๊ปเดียวแล้วก็หายไปเหมือนเพียงเพื่อสนองความต้องการบางอย่าง) แต่อย่างน้อย ผมก็ค่อนข้างดีใจที่อย่างน้อย Life Theatre ก็เป็นกลุ่มที่ไม่ได้สร้างงานที่น่าผิดหวังเหมือนกลุ่มละครบางกลุ่มหรือสถาบันการศึกษาบางที่ที่อาศัยชื่อเก่าขายไปเรื่อยแต่การพัฒนางานกลับสวนทางลงทุกวัน ๆ

ซึ่งผมหวังว่างานของ Life Theatre คงไม่จบและหายไปเหมือนสายน้ำที่ไหลไปแล้วไปเลย แต่หากให้สายน้ำนี้พาผู้ชมคนไทยไปสู่ห้องมหาสมุทรอันกว้างใหญ่
ให้รู้ว่าศิลปะมันมีค่ามากกว่าเสียงหัวเราะหรือน้ำตาที่เอาไว้หลอกตัวเองไปวัน ๆ


-----------------------------------------------------
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร a day
เผยแพร่ผ่านเวบไซต์
http://www.barkandbite.net/


Friday 11 September 2009

Water Time - full house


ต้อนรับการกลับมาของ เคนจิ กับ น้ำ


วันนี้เสนอเป็นรอบแรก มีผู้ชมมาชมเต็มโรง ครั้งนี้จัดที่นั่งจำนวน 40 ที่นั่ง และยังเหลือการแสดงอีก 9 รอบ มาให้กำลังใจพวกเขาได้ แต่โปรดโทรสำรองที่นั่งล่วงหน้า ขอเตือนท่านผู้ชมว่าโรงละคร Crescent Moon space ของเราเล็กจริงๆ ควรโทรเช็คและโทรจองล่วงหน้า


และอย่านิ่งนอนใจเพื่อมารอดูรอบสุดท้าย เพราะอาจจะไม่มีที่นั่งเหลือ เหมือนเช่น "ช่อมาลีรำลึก" ในรอบสุดท้ายมีผู้ชมมากถึง 50 คน บรรจุอยู่ในโรงละครเล็กๆของเรา และต้องบอกขอโทษผู้ชมอีก 3-4 คน (ที่ไม่ได้จองล่วงหน้า) ว่าเราไม่มีที่ให้นั่งหรือยืนเหลืออีกแล้ว


"อย่ารอจนถึงรอบสุดท้าย
เมื่อนั้นอาจสายไปแล้ว"


Saturday 5 September 2009

Water Time - next program


Water Time กลับมาแล้ว

หลังจากเปิดตัวที่ Crescent Moon space สถาบันปรีดี ไปกว่า 15 รอบ Life Theatre กับผลงานเรื่องแรก "water Time" ก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้เกิดโปรเจค การทัวร์ต่างตังหวัดขึ้น

พวกเขาเลือกไปทัวร์ที่ภาคเหนือสองจังหวัดก่อนเริ่มจากลำปาง และ เชียงใหม่ จากนั้น เจแปนฟาวเดชั่น ก็เห็นถึงคุณค่าของละครเรื่องนี้จึงให้ทุนสนับสนุนการทัวร์ มหาวิทยาลัย 5 แห่งเริ่มจากที่แรก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จากนั้นก็ไป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิตจากนั้นเราก็ออกอีสาน ไปที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปภาคตะวันออก ที่มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเข้าร่วมเทศกาลดนตรีและการแสดงภาคตะวันออก ประจำปี 2552

หลังจากการทัวร์ และหลังจากผู้กำกับ คือ ครูหนิง พันพัสสา แสดงละครในเรื่อง 'นางฟ้านิรนาม' เสร็จสิ้นแล้ว Life Theatre จะนำ "Water Time" กลับมาเล่นที่ Crescent Moon spcae อีกครั้งเพียง 10 รอบเท่านั้น โปรแกมหน้า ต่อจาก "ช่อมาลีรำลึก"

ขอขอบคุณภาพจาก Life Theatre

Thursday 3 September 2009

ไทยจ๋า

เชิญชมการแสดงละครใบ้สัญชาติไทยไท้ยไทย
ผลงานวิทยานิพนธ์ สร้างบทและกำกับโดย
"มาย" เพียงไพฑูรย์ สาตราวาหะ
นิสิตปริญญาโท ภาควิชาศิลปการละคร อักษรฯ จุฬาฯ


ไทยจ๋า

พบกับเรื่องราวอินไซด์ไทยแลนด์ มาตุภูมิที่พวกเรารักในมุมมองน่ารักน่าชัง นำเสนอผ่านการแสดงละครใบ้ นำแสดงโดย กลุ่มนักแสดงละครใบ้ไทยแต๊ๆ "เบบี้ไมม์"

ชมฟรี เพียง 3 รอบเท่านั้น

30 กันยายน 1 และ 2 ตุลาคม 19.30น.
ณ Crescent Moon Space
สถาบันปรีดี พนมยงค์

จองบัตรด่วน ที่นั่งมีจำนวนจำกัดเพียงรอบละ 20 ที่เท่านั้น
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมและ/หรือจองบัตรโทร 081 552 1260

Water Time


การกลับมาอีกครั้งของน้ำกับเคนจิ

LiFE THEATRE เสนอ


Water Time
水の時間
(Mizuno Zikan)

"...คนอยู่ในน้ำก็เหมือนตาย

แต่สำหรับผม น้ำ ทำให้ผมหายใจได้..."


แสดงเป็นภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และ ไทย พร้อมคำบรรยายPlay in English, Japanese and Thai with surtitles

กำกับการแสดงโดย ครูหนิง พันพัสสา ธูปเทียน
Directed by Ning Bhanbhassa Dhubthien

แสดงโดย ฮีน ศศิธร พานิชนก, โชโกะ ทานิกาวา, โย อภิรักษ์ ชัยปัญหา
Cast Heen Sasithorn Panichnok, Shogo Tanikawa, Apirak Chaipanha

11-13 and 18-20 September, 2009
Fri 7.30 pm. / Sat – Sun 2 pm. and 7.30 pm.
@ Crescent Moon Space
Pridi Bhanomyong Institute, Soi Sukhumwit 55 (BTS Thonglor)

Ticket 300 Bht / Student 150 Bht
Reservation 0825586163

ช่อมาลีรำลึก - ความคิดเห็นจากผู้ชม

เก็บความคิดเห็นจากผู้ชมคนหนึ่งมาแลกเปลี่ยนให้อ่านกัน



ภาพสุดท้ายของละครเวทีเรื่อง ช่อมาลีรำลึก เป็นเหมือนภาพวาดแนวอิมเพรสชั่นนิสต์ ...ผู้ชมแบบฉันรู้สึกแบบนั้น

ฉันให้คะแนนกับละครเวที ช่อมาลีรำลึก ที่มีปานรัตน กริชชาญชัย เป็นผู้กำกับ เขียนบท และร่วมแสดง ว่าเป็นละครเวทีที่กำลังกินอร่อย รสชาติพอดี รู้สึกว่ากลมกล่อม กินแล้วไม่อิ่มเกินไป หนึ่งชั่วโมงครึ่งกับละครเวทีที่มีบทพูดตลอดทั้งเรื่อง ไม่ได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับเรื่องราวของ ป้าช่อมาลี เลยแม้แต่น้อย หนำซ้ำตอนจบยังรู้สึกตะหงิดใจว่า เอ๊...ป้าช่อแกไปกรีซจริงหรือเปล่า หรือแกยังบ่นกับกำแพงอยู่แบบเดิม แต่ไปไม่ไปก็ช่างแกเถอะ ทิ้งไว้ให้คาใจแบบนั้นละกัน ที่แน่ๆ คนดูหลายคนออกมาแสดงความเห็นว่า ...ไม่ได้การแล้วต้องออกไปใช้ชีวิต...

ดูละครที่ปานรัตน กริชชาญชัย มาก็หลายเรื่อง ต้องบอกว่าผู้กำกับหญิงคนนี้เป็นส่วนเติมเต็มให้ ช่อมาลีรำลึก มีมิติและสีสัน ปานรัตนรับบทเป็น ตุ๊กติ๊ก และตัวละครอีกหลายตัว ออกมาปล่อยมุกเป็นระยะร่วมกับ เยาวลักษณ์ เมฆกุลวิโรจน์ (บ่วย) ซึ่งรับบทเป็นช่อมาลี (ถ้าไม่มีปานรัตน เธอก็รับหน้าที่แสดงเดี่ยวแบบเต็มๆ) หญิงที่ชีวิตถูกลดทอนสีสันลงด้วยสถานภาพเมียและแม่ การปรากฏตัวของปานรัตนจึงเป็นน้ำจิ้มชั้นดี และต้องปรบมือให้กับผู้กำกับคนนี้ว่า การเขียนบทของเธอค่อนข้างแน่นและชัดเจนในการนำเสนอความคิดผ่านบทที่สื่อออกมา

ชอบที่ปานรัตนเขียนบทด้วยการใช้วิธีย้อนแย้ง การวิพากษ์ทฤษฎีต่างๆ ซึ่งแม้ละครจะมีความเป็นเฟมินิสต์ แต่ฉันดูในสถานภาพของผู้ชมที่ไม่อยากเป็นเฟมินิสต์ และดูว่าปานรัตนกำลังเล่าเรื่องของช่อมาลีอย่างไร และใช้การเล่าแบบไหน เธอวิพากษ์ทฤษฎีทั้งหลายของนักคิดตะวันตกหลายคน ที่ให้ความรู้สึกและท้าทายคนดูว่า คุณเลือกจะเชื่อที่เขาทำทฤษฎีสูตรสำเร็จเอาไว้แล้ว หรือคุณเลือกที่จะไม่ฟังนักคิดเหล่านั้น แล้วออกไปหาวิถีทางที่ชอบ(ประมาณไปสู่ที่ชอบๆ ด้วยตัวคุณเอง)ของคุณเอง มันให้อารมณ์เหมือนว่า เลือกที่จะเป็นคนหรือคิดอย่างที่เขาคิดไว้ให้แล้ว หรือเลือกที่จะค้นหาด้วยการออกไปหาคำตอบที่ใช่ด้วยตัวของตัวเอง



ปานรัตนหยิบเอาคำพูดธรรมดาในชีวิตประจำวัน มาให้เราได้คิดตาม จริงอยู่แม้เธอจะวิพากษ์ผู้ชายมากไปหน่อย และโยนคำถามมาให้ผู้หญิงเป็นคนหาคำตอบ หรือจะติดกับดักชีวิตแค่การเป็นเมียและเป็นแม่ ส่วนชีวิตที่ต้องการจริงๆ กลับมอดไปแล้ว และเอาแต่คร่ำครวญกับฝาบ้าน ขณะที่สมาชิกในครอบครัวต่างได้ใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างเต็มที่ ผู้ชมที่เป็นผู้ชายมองข้ามเรื่องความเป็นเฟมินิสต์ไปเลยดีกว่า และมองช่อมาลีว่าเป็นชีวิตของคนๆ หนึ่ง เพราะฉันเชื่อว่าผู้ชายก็มีอารมณ์ค้นหาตัวตนเช่นเดียวกัน หรือการใช้เวลาไปกับการรำลึกถึงบางสิ่งบางอย่างในชีวิตทั้งที่เป็นอยู่ เป็นมาแล้ว และกำลังจะเป็น

บางครั้งการปรากฏตัวของปานรัตนในบทบาทต่างๆ ก็ยังทำให้เกิดคำถามตามมาว่า จริงๆ แล้วตุ๊กติ๊กนั้นมีตัวตนจริงๆ หรือไม่(หรือเธอเป็นกุมารทอง) หรือทุกภาพที่เห็นในละครคือภวังค์ความคิดของ ช่อมาลี คนเดียว บทบาทของช่อมาลีตอบโจทย์ให้กับผู้ชมและสะกิดให้ผู้ชมอย่างฉันได้ฉงน

ข้อความจากปานรัตน กริชชาญชัย ในฐานะผู้กำกับ เขียนบท และร่วมแสดง เธอเขียนไว้น่าอ่านว่า
“...ละครเรื่องนี้ผู้ทำได้รับแรงบันดาลใจจากบทละครเรื่อง Shirley Valentine ของ Willy Russell (บทดั้งเดิมได้รับรางวัล Best Comedy ของ Laurence OIivier Awards 1998) และกลอนชื่อ Waiting ของ Faith Wilding โดยการนำเรื่องราวของตัวละครเอกในเรื่อง Shirley Valentine มาผสมผสานกับคำถามที่มันคาอยู่ในใจเมื่อครั้งที่ได้ไปอ่านบทกลอนดังกล่าว แล้วก็ได้แต่นั่งคิดไปเรื่อยๆๆๆ จนวันหนึ่ง (เกือบ ๑๐ ปีล่วงมา) ก็อดทนต่อไปไม่ไหวเลยทำใจกล้าๆ ท่าสวยๆ เขียนบทขึ้นมาใหม่ในชื่อเรื่องว่า “ช่อมาลีรำลึก”

สิ่งที่เรียกว่า “Rebellious Teenage Roots” หรือ “พลังกระตุ้นของวัยแรง(แวรงงงง)” เป็นสิ่งที่มาผลักดันเส้นทางการนำเสนอละครเรื่องนี้โดยผ่านตัวละครชื่อ ช่อมาลี สาวใหญ่วัยหมดแรงแต่อยากลอง feel อีกสักครั้ง หลังจากมีชีวิตที่ไม่ได้ใช้มานาน ความแรงซ่อนเร้นที่จะพาช่อมาลีออกไปจากกรงขังใจ...แต่กว่าเจ๊แกจะยอมแรง มันต้องผ่านประตูกลกี่บานก็หาได้เดาออกไม่ มาร่วมเดินทางไปกับช่อมาลีที่จะพาเราไปเที่ยวไกลๆ...ไปโดดลงทะเลที่มันลึกลงไปชั่วนิรันดร์นั้น...”

ปานรัตน ออกมาเปิดเรื่องด้วยการเล่นคำว่า รอ ว่าชีวิตของคนเรารออะไรกันบ้าง
เราควรจะรอที่จะใช้ชีวิตหรือไม่??? ชีวิตของเราได้ใช้ไปเท่าไหร่???
มีชีวิตแล้วเราควรต้องใช้มัน ฉันได้ใช้ชีวิตไปดูละครเรื่องนี้ ดูแล้วอิ่มกำลังดี อร่อยแล้วไม่ต้องปรุงอะไร ลงตัวสุด (แต่ยังไม่อยากโดดลงทะเลที่มันลึกลงไปชั่วนิรันดร์นั้น นะ เพราะยังอยากใช้ชีวิตกับอีกหลายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง)

รอบการแสดง ช่อมาลีรำลึก
26-30 สิงหาคม และ 2-6 กันยายน 2552รอบเวลา 19.30 น.
ที่ Crescent Moon Space
บัตรราคา 300 บาท (นักเรียนนักศึกษา 250 บาท)
สอบถามรายละเอียด 086 787 7715



ขอขอบคุณ nonglucky

และคลิ๊กเข้าไปอ่านได้ที่นี่

http://www.oknation.net/blog/nonglakspace/2009/08/31/entry-1

Shirley Valentine - Preview



ยัง ยังไม่หมดรอบกับ "ช่อมาลีรำลึก" อาทิตย์นี้ยังแสดงต่อจนถึงคืนวันอาทิตย์ เรานำรีวิวจาก Daily Epress ของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นมาให้อ่านกัน







Funny-sad Valentine

By Pawit Mahasarinand
SPECIAL TO DAILY XPRESS
Published on September 1, 2009

Fresh from "Nang Nak the Museum", the New Theatre Society has a date with the boisterous Shirley Valentine, the housewife who so famously broke free from drudgery.
Parnrut Kritchanchai was studying in Britain when she read the script for "Shirley Valentine" by Willy Russell, who also penned "Blood Brothers" and "Educating Rita".
She enjoyed it so much that she translated the whole book in one day, titling it "Chor Malee Ramluek", and that's the play she's directing this week.

"Shirley Valentine is a Liverpool housewife who gave up her wild life when she got married. Then her best friend wins a trip for two to Greece and she goes along, and life is never the same again.

"I've added another character - the best friend," Parnrut says.
"Part of the reason was that it's tough finding a Thai actress who could handle the solo performance, but the friend is a single woman too, so you can observe the similarities and differences between the two women."

Parnrut has also shifted the setting and social context to Thailand and stitched in some of her own experiences and those of his mother and grandmother.
Point of view

"Chor Malee Ramluek" is not, she insists, a "feminist" piece.
"We're not protesting or demanding anything. It's simply a story about how women lead their lives today, as told from women's point of view."
Parnrut, a seasoned actress known for her deadpan comedy, plays the best friend, Tuktik. Portraying Chor Malee is Sao Soong Theatre's Yaowaluck Mekkulwiroj.
"Chor Malee Ramluek" opened last Wednesday and audience reaction has exceeded Parnrut's expectations.

"The original British play was an award-winning comedy, but this adaptation somehow makes Thai viewers - even men - cry. Some people are coming back to see it a second time."
GREECE, HUH?

>> "Chor Malee Ramluek" continues at the Crescent Moon Space in the Pridi Banonmyong Institute between Soi Thong Lor 1 and 3, until Sunday, nightly at 7.30.

>> Tickets are Bt300 (Bt250 for students). Call (086) 787 7715.