welcome to crescent moon space

welcome to crescent moon space
small but beautiful small alternative space for theatre lovers

Tuesday, 27 April 2010

ละครเวทีโรงเล็ก

เพิ่งไปพบข้อมูลเกี่ยวกับละครโรงเล็กในบล็อก artgazine เลยนำมาเผยแพร่ต่อ หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นบันทึกเกี่ยวกับโรงละครเล็กๆอย่างเรา

โรงละครห้องแถว Little Space ศิลปะในพื้นที่เล็ก ๆ
คอลัมน์ STORY
โดย อัจฉราวดี อวนอ่อน



ขณะที่ Creative Economy ถูกบรรจุเอาไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

ขณะที่รัฐบาลทุ่มงบฯไม่น้อยกว่าสองหมื่นล้านบาทให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง

ขณะที่คนรับลูกดำเนินนโยบายยังไม่เห็นจะเข้าใจความหมายของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์...เฮ้อ เหมือนเราเป็นผู้ชมที่กำลังนั่งชมละครเรื่องเก่าซ้ำซาก ที่มองเห็นตอนจบ ตั้งแต่ม่านละครเปิด แม้จะมีความหวังเรืองรองสำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย อันได้แก่งานฝีมือและหัตถกรรม (Crafts) งานออกแบบ (Design) แฟชั่น (Fashion) ภาพยนตร์และวิดีโอ (Film & Video) การกระจายเสียง (Broadcasting) ศิลปะการแสดง (Performing Arts) ธุรกิจโฆษณา (Advertising) ธุรกิจการพิมพ์ (Publishing) และสถาปัตยกรรม (Architecture)

โดยข้อมูลของสำนักบัญชีประชาชาติปี 2549 ระบุว่า มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของทั้ง 9 กลุ่มข้างต้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10.4 ของ GDP โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 848,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการส่งออกในปี 2549 ประมาณ 289,000 ล้านบาท

ที่น่าสนใจคือในบรรดาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ นั้น ในหมวดของศิลปะการแสดง กลับมีมูลค่าการส่งออกเพียง 0.1% เท่านั้น

เมื่อคิดถึงเรื่องของศิลปวัฒนธรรมไทยแล้ว คนส่วนมากจะคิดถึงเรื่องของศิลปะการแสดง อาทิ การรำไทย การแสดง โขน ฯลฯ แต่เมื่อตีมูลค่าทางการเงินแล้ว สิ่งนี้กลับทำรายได้น้อยที่สุด ทั้งที่ครั้งหนึ่ง ครูเล็ก-ภัทราวดี มีชูธน ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า

"ศิลปินเป็นสินค้าส่งออกที่ดีที่สุดของประเทศ"

ไม่ใช่เพราะศิลปะการแสดงของไทยไม่เก่ง หรือไม่ครีเอทีฟ แต่คนสร้างสรรค์งานเหล่านี้ไม่มีพื้นที่ในการนำเสนอผลงานของพวกเขา...

"ขาดสเปซ" คือปัญหาอันดับแรกของคนสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงที่เราได้ยินมานับครั้งไม่ถ้วน

ถึงกระนั้นก็ตาม สเปซที่เป็นสิ่งขาดแคลน ก็สามารถเติมเต็มได้ด้วยการ "สร้าง" ขึ้นมาเสียเอง โรงละครขนาดเล็กที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เลิศอลังการ จุคนดูได้น้อยสุด 30 ที่นั่ง เก็บค่าตั๋วพอรับได้ คือราว 300-400 บาท จึงจะเป็นทางเลือกให้แก่ผู้จัดและผู้ชม !

บัดนี้โรงละครห้องแถวได้กระจายไปตั้งอยู่ในหลายพื้นที่ของเมืองกรุง ตามพื้นที่เล็ก ๆ ที่สามารถให้ความบันเทิงเริงใจกับคอละครเวทีได้

เช่นเดียวกับในย่านพระราม 4 ตรงสถานีรถไฟฟ้าลุมพินี ฝั่งซอยงามดูพลีนั้นมีห้องแถวขนาดพอเหมาะ ถูกดัดแปลงพื้นที่ใช้สอยให้เป็นโรงละครกลาย ๆ สามารถจุผู้ชมได้มากสุดถึง 60 คน เป็นที่รู้จักในชื่อ "Democrazy Theatre" ซึ่ง "ภาวิณี

สมรรคบุตร" หนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งและเป็นสมาชิกของคณะละคร 8x8 กล่าวถึงที่มาของโรงละครแห่งนี้

...โรงละครนี้เกิดจากสิ่งที่ขาด คือพื้นที่ในการแสดง ทั้งพื้นที่ซ้อมและพื้นที่แสดง และด้วยความบังเอิญ หลังจาก 8x8 Corner ที่สามย่าน จุฬาฯ ได้ปิดทำการ แต่ใจที่รักในการแสดงของทุกคนยังมีอยู่ จึงมีการรวมทุนกับกลุ่มเพื่อนที่ทำงานด้านละคร เช่าตึกแถว เพื่อดัดแปลงให้เป็นโรงละครขนาดเล็ก โดยรายได้หลักจากการให้เช่า เพื่อเป็นสถานที่ซ้อมและสถานที่จัดการแสดง

ห้องแถวแห่งความบันเทิงนั้นไม่ได้มีแค่ "Democrazy Theatre" ว่ากันว่าในแวดวงคนทำละครเวทียังมีการเกิดขึ้นของโรงละครขนาดเล็กจำนวนไม่น้อย ซึ่งผู้ให้ก่อตั้งส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เป็นคนทำละครเวทีที่ไม่อยากให้ลมหายใจนี้หมดไปจากเมืองไทย ส่วนคนดูก็เป็นเหล่านักเรียน นักศึกษา ตลอดจนคนทำงาน

แรกทีเดียวเป็นแฟนพันธุ์แท้ที่ดูละครมาตลอด จากนั้นก็ขยายวงไปสู่เพื่อน ๆ ของสาวกละครเวที และที่ชอบดูละครเวที ผ่านการสื่อสารทาง social network ต่าง ๆ อย่างเฟซบุ๊ก ไฮไฟฟ์ เป็นต้น

สิ่งสำคัญก็คือในท่ามกลางวัฒนธรรมการพบปะของผู้คน หลายคนที่ตัดสินใจซื้อตั๋วไปนั่งชมละครเวทีโรงเล็ก ๆ หลายคนมองว่าน่าจะเป็นทางเลือกของสังคมที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการเข้าไปสัมผัส

อ้น สาวออฟฟิศที่ทำงานแถวสามย่าน เป็นหนึ่งในคอละครเวทีโรงเล็ก ๆ ที่ว่างเมื่อไหร่เป็นต้องซื้อตั๋วไปนั่งดูละครที่ Democrazy Theatre เธอว่า

"ความรู้สึกในการดูละครเวทีโรงเล็ก มันแตกต่างจากการดูละครในโรงละครที่รองรับผู้คนเกือบพันคน การดูละครเวทีกับคนจำนวน 30 คนนั้นให้ความรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการแสดง ทำให้รู้สึกได้ถึงอารมณ์ร่วมที่นักแสดงพยายามส่งให้ถึงผู้ชมนั้นง่ายกว่าการนั่งในแถว B ของละครโรงใหญ่ ความสนุกที่เกิดขึ้นอีกอย่างก็คือการที่นักแสดงสามารถครีเอตการแสดงให้ผู้ชมมีส่วนร่วมได้ง่าย ๆ"

ประดิษฐ ปราสาททอง แห่งกลุ่มละครมะขามป้อม กล่าวถึงโรงละครขนาดเล็กที่จุดคนตั้งแต่ 30 คนขึ้นไปว่า ทุกวันนี้โรงละครขนาดเล็กได้เกิดขึ้นหลายพื้นที่ เพื่อคณะละครสามารถจัดการโดยไม่ต้องใช้การบริหารจัดการสูง มะขามป้อมสตูดิโอก็มีโรงละครขนาดเล็กในตึกแถวที่สามารถจุผู้ชมได้ 30-40 คน เนื่องจากมองเห็นว่าคนกรุงเทพฯต้องการมีวัฒนธรรมการพบปะในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากเดินห้าง ดูหนัง การดูละครเป็นทางเลือกอีกอย่างสำหรับสังคม เป็นโลกที่สร้างวัฒนธรรมโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก

เช่นเดียวกับที่สถาบันปรีดีพนมยงค์ ทองหล่อ อันเป็นที่พำนักของคณะละคร 2 คณะ ได้แก่พระจันทร์เสี้ยวการละครและ

บีฟลอร์ กลุ่มละครเล็ก ๆ ที่นอกจากใช้ห้องขนาดประมาณ 6x7 เมตร เป็นที่ทำงานแล้ว ยังดัดแปลงพื้นที่นั้นให้เป็นพื้นที่จัดแสดงได้อย่างสมบูรณ์ สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 30-40 คนเลยทีเดียว

วรัญญู อินทรกำแหง คอลัมนิสต์และนักแสดงกลุ่มบีฟลอร์ ให้ความเห็นว่า การแสดงนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ขนาดเล็กตลอด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของโปรดักชั่น แต่ที่เห็นได้ชัด คือข้อดีของโรงละครขนาดเล็กนั้นทำให้เกิดการสร้างงานใหม่ ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"ส่วนใหญ่ ก่อนที่จะมีโรงละครเล็ก มักจัดโรงละครตามจำนวนคนดูเยอะ ๆ ใช้สตาฟเยอะ ค่าดูละครก็สูง บางทีคนดูต่อรอบไม่มาก ทำไปก็ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ดังนั้นพอมีสเปซเล็ก ๆ ก็ลดค่าใช้จ่ายต่อรอบ พอคัฟเวอร์ค่าใช้จ่ายแต่ละรอบ สมมติโรงละคร 200 ที่นั่ง ต้องเสียค่าเช่าวันละ 5 หมื่นบาท แต่คนดูไม่คัฟเวอร์ แต่นี่จำนวนคนดู 30-40 ที่นั่ง 10 รอบ ก็ได้ 5 หมื่นบาท ก็ประหยัดกว่า นอกจากนั้น พอโรงละครมีพื้นที่จำกัด ก็จะได้รูปแบบการแสดงแตกต่างจากโรงละคร หรือออดิทอเรี่ยม มีความใกล้ชิดระหว่างนักแสดงกับคนดู การแสดง และเกิดการสร้างงานต่อเนื่อง โดยไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย มีความต่อเนื่องสำหรับคนทำ พัฒนาคุณภาพการแสดงไปด้วย คนดูได้ดูต่อเนื่อง"

และเมื่อมีพื้นที่จัดแสดงมากขึ้น เป็นโอกาสให้คนทำหน้าใหม่ หรือกลุ่มละครใหม่ ๆ อยากลองสร้างงาน โดยใช้ทุนน้อยกว่าการจัดแสดงในหอประชุมใหญ่ ๆ ทำให้เกิดความหลากหลายในการสร้างงานขึ้นด้วย

หากมองอย่างมีความหวังกับระบบเศรษฐกิจเชิงความคิดสร้างสรรค์นี้ว่าจะเป็นไปอย่างสวยงาม ก็ต้องลุ้นว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราจะแลเห็นและผลักดันงานศิลปะการแสดงต่อไปมากน้อยแค่ไหน เหนือสิ่งอื่นใด คือตัวผู้ชมอย่างเรา ๆ ที่พร้อมจะเดินออกจากบ้านไปดูการแสดงเหล่านี้หรือไม่ บางทีการดูละครโรงเล็ก อาจจะทำให้เราได้พบเพื่อนใหม่ และโลกใบใหม่ขึ้นมาอีกไม่น้อย

(หน้าพิเศษ D-Life)
คอลัมน์ STORY
โดย อัจฉราวดี อวนอ่อน
วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4180
โรงละครห้องแถว Little Space ศิลปะในพื้นที่เล็ก ๆ

นำมาจาก ARTgazine Articles -> Art News
http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?p=10870&highlight=space#10870

Monday, 26 April 2010

dead-sa-mo-re


อะ ละครโดยนพพันธ์

And the collective experience


เด๊ดสมอเร่

...วันนี้อยู่...พรุ่งนี้ไป...

แสดงวันที่ 21 พ.ค - 25 พ.ค และ 28 พ.ค - 1 มิ.ย 2553
เวลา 19.30 น.

@ Crescentmoon space
สถาบันปรีดี พนมยงค์ สุขุมวิท 55 ซอย ทองหล่อ

ราคาบัตร 300 บาท

จองได้ที่ โทร. 086 814 1676


...ก่อนที่มันจะสายเกินไป

Sunday, 18 April 2010

Nopand coming soon

พฤษภาคมนี้ 2010
@ Crescentmoon space
ละครเรื่องแรกในปี 4 ของโรงละครพระจันทร์เสี้ยว





“ชีวิตรออยู่”


SAME SAME but DIFFERRENT





อะ ละครโดยนพพันธ์ แอนด์ เฟร็นส์

แสดงที่ Crescentmoon space

สถาบันปรีดี พนมยงค์

ทองหล่อ

Saturday, 17 April 2010

Yoga for Actor

อบรมโยคะสำหรับนักแสดง



สอนโดย คุณนีลชา เฟื่องฟูเกียรติ ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 15 คน

อบรม 4 วัน คือ 19,21 และ 26,28 เมษายนนี้ เวลา 18.30-20.30 น.

ควรจัดเตรียม
1.ควรสวมเสื้อผ้าสุภาพ-สบายเหมาะกับการเคลื่อนไหว
2.เสื่อโยคะ หรือผ้ารองนอน
3.น้ำดื่ม

ผู้ที่ลงชื่อไว้ เราเจอกันวันจันทร์นี้เป็รวันแรก ที่ Crescent Moon space

Monday, 12 April 2010

Crescent Moon summer class


Crescent Moon space update

เดือนนี้เดือนเมษายน Crescent Moon space ไม่มีละครเปิดแสดงให้ชม เดือนนี้เป็นช่วงกลับเข้าห้องเรียนประจำปีของชาวพระจันทร์เสี้ยวการละคร "Crescent Moon summer class" เรามีการจัดฉายหนังพูดคุย และการอบรม รายการแรกจัดฉายหนังและร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยจากหนังเรื่อง "เฉือน" ของผู้กำกับ ก้องเกีรติ โขมศิริ เมื่อวันที่ 7 เมษายน


โปรแกรมหน้า เราจะจัดฉายหนังเรื่อง "Mother" ของพูดอฟสกิน ในวันที่ 18 เมษายน เวลา 16.00 น.


ส่วนปลายเดือนเรามีอบรมโยคะ "Yoga for Actor" ซึ่งทำการสอนโดย คุณเบิร์ด นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ คอร์สนี้เป็นคอร์สสำหรับนักแสดง ตอนนี้เต็มแล้ว

และพิเศษสุดเราได้ทำการทำความสะอาดและปรับปรุงละครโรงเล็กประจำปีแล้ว พร้อมรับละครและกิจกรรมในการเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว








Lighting Design Workshop #3

อบรมออกแบบแสง ครั้งที่ 3

พระจันทร์เสี้ยวการละครเปิดอบรมออกแบบแสง ครั้งที่ 3 (เราเปิดปีละครั้ง) อบรมแบบ 4 วันเต็ม เราเน้นการออกแบบแสงละครเวที จะเริ่มกันตั้งแต่ให้ความรู้พื้นฐานด้านแสง การคำนวณ ไฟฟ้า เรื่องสีของแสง อุปกรณ์ต่างๆ การตีความบทละคร จนถึงจับอุปกรร์จริงและลองทำจริง เราทำการอบรมไปแล้วในช่วงวันที่ 3-6 เมษายน 2553 เวลา 10.00 -17.00 น.

ครั้งนี้มีผู้มาเข้าร่วมอบรมกับเราทั้งหมด 14 คน (ส่วนใหญ่เป็นน้องๆมาจากวิทยาดุริงยางคศิลป์ ม.มหิดล ศาลายา และมีจากที่อื่นๆด้วย) มาดูภาพบรรยากาศการอบรม และการลองจัดแสงจริงกับเหล่านักแสดงจำเป็นจากพระจันทร์เสี้ยวการละครและน้องๆนักศึกษาฝึกงาน