welcome to crescent moon space

welcome to crescent moon space
small but beautiful small alternative space for theatre lovers

Sunday 31 October 2010

รวมภาพ "อ่านสังคม"

รวมภาพถ่าย
อ่านบทละคร : อ่านสังคม
ภาพโดย ชลันดา และ จีรณัทย์


บรรยากาศพูดคุยก่อนเริ่มอ่าน











ช่อลดา สุริยะโยธิน
อ่านเรื่อง “เงาแห่งยุคหิน” (Shadows of the Neanderthal เขียนโดย David Hutchens) แปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล



สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
อ่านเรื่อง “โลกสันติภาพ”





กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
อ่านเรื่อง “เพลงชาติไทย” จากหนังสือ เราหลงลืมอะไรบางอย่างไป ของ วัชระ สัจจะสารสิน





วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
อ่านเรื่อง “จิ้งหรีดแห่งเมืองสีเทา” ของ ตรัย ภูมิรัตน์






กรินทร์ ใบไพศาล
อ่านเรื่อง “แรด” (จากบทละคร Rhinoceros เขียนโดย Eugene Ionesco)




รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
อ่านเรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” จากบทละครเขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ





กวินธร แสงสาคร
อ่านเรื่อง “นักเลงเฟือง” จากหนังสือเรื่อง เดินอย่างปุ๊ ของ ปุ๊ กรุงเกษม และ เส้นทางมาเฟีย ของ สุริยันต์ ศักดิ์ไธสง




สินีนาฏ เกษประไพ
อ่านเรื่อง “ชั้นที่ 7” บทละครโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี






บรรยากาศหลังการอ่าน












พบกับโครงการอ่านบทละครได้ใหม่ปีหน้า...


Friday 29 October 2010

Next program November : Once Upon A Broken Dream

เรื่องมันมีอยู่ว่า...


"เธอพร้อมที่จะฝัน... ตัวเธอมีความฝัน เธอจึงปล่อยให้ตัวเธอฝัน... ฝัน... และฝันไป... แต่ฝันไปก็เท่านั้น... เพราะโดนไอ้คนไร้ศรัทธามันย่ำยี เพราะไอ้คำพูดอุบาทว์บางคำพูด... ไม่เอาไหน ไม่ได้เรื่อง ไร้สาระ... แต่เธอก็แค่หวังว่า... สำหรับตัวเธอ... มันก็แค่เผื่อว่า... "

คุณมีความฝันกับเขาบ้างไหม หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความฝัน เคยมีความฝัน ยังคงมีอีกเสี้ยวหนึ่ง... แม้เพียงเล็กน้อยที่ยังศรัทธาในความฝัน... "Once Upon A ...Broken Dream" จะไม่ทำให้คุณผิดหวัง เพราะเราจะร่วมออกเดินทางตามหาฝันไปกับคุณ

บางครั้งคุณอาจจะต้องออกเดินทางตามหาฝันของคุณ... ออกไปในดินแดนอันแสนไกล... ออกไปยังในโลกกว้างที่แสนน่ากลัวและโหดร้าย จนบางครั้งคุณเองกลับลืมว่าจุดเริ่มต้นของการเดินทางนี้มันคืออะไร สิ่งไหน และเพราะเหตุใด สุดท้ายแล้วนั้นมันกลับทำให้คุณเห็น เข้าใจ และเรียนรู้ว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันก็เพียงเพื่อที่จะค้นพบสิ่งที่ใกล้ตัวคุณที่สุด... เสียงของหัวใจ

การกลับมาครั้งนี้ การดัดแปลงบทใหม่ การคิดค้น และค้นพบไปด้วยกันของทีมงานจะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน...

ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว

วันที่ 5, 6, 7 และ 12, 13, 14 พ.ย. 53
ในวันศุกร์ เวลา 8 pm. เป็นต้นไป
และเสาร์อาทิตย์ 2 รอด้วยกัน : 1pm. และ 7.30pm.
ราคาตั๋ว 300 บาท ( โดยส่วนหนึ่งจะให้กับมูลนิธิเด็ก )

ทุกรอบมี English Subtitle และจำนวนจำกัดคือ 40 ที่นั่งเท่านั้น
(โปรดมาก่อนเวลา 30 นาที)

จองบัตรที่ Booking : 080 595 5029

Thursday 28 October 2010

วาวาและเพื่อน


รูปสวยๆของวาวและผองเพื่อน

ภาพถ่ายโดย ชลันดา


หมดรอบแล้วนะวาวา, ข้าว, ส้ม, ชมพู่, แกละ และ จุก หวังว่าจะได้เล่นกันใหม่...โอกาสหน้า....











Wednesday 27 October 2010

บทวิจารณ์ วาวา "The Rice Child"

WaWa – The Rice Child
– เบิกบานและละเอียดอ่อน (B+)
by nuttaputch / from Bark & Bite


การทำละครหรือการแสดงให้เด็กดูเป็นหนึ่งในโจทย์ที่จะว่าง่ายก็ง่าย หรือจะว่ายากก็ยาก เพราะหลายคนก็เลือกเส้นทางง่าย ๆ ในการพูดสารเชิงจริยธรรมให้กับเด็กแบบตรง ๆ ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรแต่เน้นการสร้างสีสันให้ตื่นตาตื่นใจและดึงความสนใจของเด็กไว้ได้ ในขณะที่บางคนก็อาจจะเลือกกลอุบายการเล่าเรื่องอื่น ๆ มาเล่าอย่างแยบคายดังจะเห็นได้จากเรื่องของนิทานอีสป

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงต้องดูแต่ความเจนจัดของฝีมือและมุมมองของคนที่จะทำละครเด็กนั่นแหละ ว่าจะทำอย่างมาแล้วเวิร์คหรือเหลวเป๋วกันแน่

และสำหรับผม “วาวา The Rice Child” จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร เป็นละครหุ่นสายที่เลือกเส้นทางในการพูดเรื่องของ “เด็ก” ให้ “เด็กและผู้ใหญ่” ฟังได้อย่างลงตัว ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอที่สวยงามและน่าประทับใจชนิดเกินความคาดหมาย!!!

เรื่องราวของ วาวา The Rice Child นั้นเดินเป็นเส้นตรง ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนเลยแม้แต่น้อย เริ่มตั้งแต่เด็กหญิงวาวาที่เป็นเด็กต่างถิ่นมาในโรงเรียนชาวไทย จนโดน “ข้าว” เด็กชายชาวไทยรังแกบนปมของการ “ไม่ได้เป็นคนไทย” จนทำให้วาวากลายเป็นเด็กที่โดนกลั่นแกล้ง และแปลกแยกจากคนอื่น ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งข้าวได้เรียนรู้ว่าไม่มีใครสนุกกับการถูกกลั่นแกล้ง จนทำให้เขาเดินกลับไปขอโทษวาวาและได้สร้างสัมพันธ์ของ “เพื่อน” ขึ้นมาใหม่บนรอยยิ้มของเด็กทุกคน

จากเนื้อเรื่องง่าย ๆ นี้ทำให้แก่นของเรื่องที่ว่าถ้าเรามองข้ามความแตกต่างและมองเข้าไปในใจของคนแต่ละคน เราจะสามารถเป็นมิตรได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ นั้นชัดเจนอย่างง่ายดาย แถมเสริมด้วยวิธีการใช้เพลงเป็นองค์ประกอบในการเล่าแก่นนี้เพื่อจะสามารถจูงใจผู้ชมได้อย่างประทับใจ

อันที่จริง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในละครหุ่นเรื่องนี้ถือว่าเป็นสิ่งง่าย ๆ ที่เรารู้กันดีว่าจะสามารถดึงดูดและเข้าถึงเด็กได้ ตั้งแต่การใช้หุ่นสาย การใช้ดนตรี และเพลง หรือแม้กระทั่งการฉายกภาพของการ “วาดทราย” เพื่อสร้างภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจให้กับเด็ก แลพก็ไม่แปลกอีกนั่นแหละที่เด็ก ๆ จะชอบและจ้องเขม็งจนสมาธิดีกว่าผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เสียด้วยซ้ำ ซึ่งต้องของชมทีมงานและผู้กำกับการแสดง “สินีนาฏ เกียรติประไพ” ที่เลือกนำสื่อผสมต่าง ๆ มารวมกันบนพื้นฐานที่เข้าใจพฤติกรรมและจิตวิทยาในการสื่อสารกับเด็ก ได้อย่างลงตัว

แต่ไม่ใช่ว่าการสร้างความตื่นตาตื่นใจจะเพียงพอกับการทำละครเด็กให้สมบูรณ์ได้ สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่าคือการลงรายละเอียดของแต่ละจังหวะในการแสดง ซึ่งละครเรื่องนี้ทำได้อย่างดียิ่ง ตั้งแต่การเชิดหุ่นให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีจังหวะของการคิด การตรึกตรองก่อนที่จะลงมือกระทำอะไร รวมไปถึง Reaction ที่เกิดจากการกระทำของตัวเอง ในขณะเดียวกัน แม้หุ่นเชิด (รวมทั้งคนเชิด) จะไม่ได้มีบทพูดเยอะ แต่ก็อาศัยตัวท่าทางที่ละเอียดอ่อนของหุ่นในการสื่อสารอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครออกมาได้อย่างสวยงาม (ซึ่งก็ต้องให้เครดิตกับคณะหุ่น “แกะดำดำ” ที่ออกแบบหุ่นดังกล่าวด้วย) นอกจากนี้แล้ว สื่อผสมอื่น ๆ อย่างจอฉายภาพแผ่นใส หรือเทคนิควาดทรายก็เป็นส่วนผสมที่ “เลือก” มาแทนบทสนทนาหรือการบรรยายได้อย่างดี

ที่ผู้เขียนชื่นชอบมากเป็นพิเศษสำหรับโปรดักชั่นละครเรื่องนี้คือการอาศัยสิ่งที่ทำอะไรอย่างง่าย ๆ และไม่ต้องลงทุนเยอะ แต่สามารถสร้างความประทับใจได้ด้วยกลวิธีผสมผสานและส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะถ้าใครที่เข้าไปดูละครเรื่องนี้ใน Crescent Moon Space แล้วอาจจะคิดได้ว่าเป็นงานละครเด็กที่ “บ้าน ๆ” และ “กันเอง” มากเสียเหลือเกิน ตั้งแต่ดนตรีสดจากคีย์บอร์ด หรือการฉายสไลด์ภาพด้วย “เครื่องปิ้งแผ่นใส” ที่เราคุ้นเคย และถ้าใครเหลือบมองก็จะเห็นว่าวิธีทำ animation ของแผ่นใสดังกล่าวนั้น “ซื่อ” เกินบรรยายเลยจริง ๆ

แต่ถ้าถามว่าส่วนไหนที่ผู้เขียนจะรู้สึกตะขิดตะขวงอยู่บ้าง คือ “ทำนอง” ของละครทั้งเรื่องที่เหมือนจะชะงักตรงกลาง ๆ เรื่องที่ดูยังขาดหายไปหลังจากโหมโรงอย่างตื่นตาตื่นใจในตอนต้นเรื่อง ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าต้องการความเงียบในจังหวะที่ต้องการสื่อสารเรื่องความเศร้าและความเดียวดาย แต่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีกลวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยทดแทนและหล่อเลี้ยง “อารมณ์” ของเรื่องให้ต่อเนื่องและบันเทิงเริงใจได้อยู่ตลอดเวลา (ซึ่งจะเห็นความเจนจัดเรื่องนี้มากในบรรดาการ์ตูนเด็กของญี่ปุ่น)

อย่างไรซะ วาวา The Rice Child ถือเป็นละครเด็กที่ดีเอามาก ๆ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างง่าย ๆ มีเนื้อหาที่สื่อสารอย่างตรงตัวแต่แยบคายด้วยกลวิธีที่ร้อยเรียงมันออกมา เป็นสื่อที่ไร้สารพิษสำหรับเด็ก และเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ใหญ่ที่คิดจะไปทำ Detox ด้านจิตใจกันเสียบ้าง


see more:
http://www.barkandbite.net/2010/10/thericechild/



Tuesday 26 October 2010

Wawa The Rice Child

The Rice Child
October 26 & 27, 2010
at Crescent Moon Space

Crescent Moon’s experiments with music and songs, sand drawings, and a playful mix of shadow puppets – marionette and paper - to tell their story. Inspired by a Mekong folktale about bearing fruits from the same seed, theirs is a story about the friendship of two children, descended from two different cultures. Wawa comes from a minority group in Myanmar (Burma) and migrates to Thailand with her parents. Kao, just like the other Thai children, thinks that Wawa is different and joins the others in bullying her. But these children learn to know more about each other when they began to enjoy playing together. As they begin to see that they have more things in common, the relationship between Wawa and Kao evolved from discrimination to acceptance, from enmity to friendship, and from disunity to harmony.

Story & Directed by:
Sineenadh Keitprapai สินีนาฏ เกษประไพ
Set, Lighting Design & Technical Director:

Tawit Keitprapai ทวิทธิ์ เกษประไพ
Marionette workshop and training by :

Vasin Mitsuphan (Kae Dam Dam) วศิน มิตรสุพรรณ
Music Composed by :

Pornchanok Kanchanabanca พรชนก กาญจนพังคะ
Sand Drawing :

Nophand Boonyai นพพันธ์ บุญใหญ่
Shadow :

Ladda Kongdach ลัดดา คงเดช, Chantiga Chotkajornthai ฉันทิกา โชติขจรไทย


Puppeteers/Performers:
Natsarlisttar Wonenutprapha ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา
Cheeranat Chiarakul จีรณัทย์ เจียรกุล
Sukanya Pheansri สุกัญญา เพี้ยนศรี
Arunroj Thomma อรุณโรจน์ ถมมา
Worasiri Dirapat วรศิริ ดีระพัฒน์
Sumana Sumanakul สุมนา สุมนะกุล


Crew:
Video Animation :

Jirachapong Roengjan, Tawit Keitprapai จิรัฏชพงศ์ เรืองจันทร์, ทวิทธิ์ เกษประไพ Documentation :
Kavintron Sangsakron กวินธร แสงสาคร
Set & Props :

Chaiwat Kumdee ชัยวัฒน์ คำดี
Stage Manager :

Kriengkrai Fookasem เกรียงไกร ฟูเกษม
House Manager : Donruedee Jamraschai ดลฤดี จำรัสฉาย
Production Manager :

Farida jiraphan ฟารีดา จิราพันธุ์
Producer :

Sarawanee Yodnoon ศรวนีย์ ยอดนุ่น


This project is part of Mekong Creative Arts for Advocracy Fellowship 2010

Supported by:
Save the Children UK, PETA Phillipines Educational Theatre Association, additional contributions from Terre des Hommes



Crescent Moon Theatre

One of the most active contemporary theatres in Thailand, Crescent Moon Theater aims to create theatre performances, workshop and arts activities using group efforts and dynamics. Its characteristic style is the use of collaborative approaches among its artists. For instance, the script is not only the work of the playwright but the group’s creation. Their works are designed to express their point of view, to question the meaning of life, and to surface social issues. Crescent Moon Theater is founded in the belief that theatre is the art of communication and serves as a thread to link-up people.

Crescent moon owns a small black-box theater called the Crescent Moon Space, an alternative theatre space for performances and a venue they share with contemporary theatre artists and theatre lovers.



วาวา The Rice Child

รอบแรกวันนี้

วาวา The Rice Child เป็นละครที่ถูกพัฒนาใน Mekong Laboratory 2010 ที่มะนิลา เป็นแลปที่มุ่งเน้นการทำบท เล่าเรื่องประเด็นเด็ก พระจันทร์เสีั้ยวการละครเล่าเรื่อง เด็กแรงงานข้ามชาติ เริ่มต้นความคิดจากหนังสือ และการลงพื้นที่กับองค์กรที่ทำงานด้านนี้ คือ LPN ที่สมุทรสาคร และเริ่มเขียนบท เล่าเรื่องด้วยตุ็กตากระดาษ จนวันนี้ The Rice Child เป็นหุ่นสาย มีภาพเงา มีวาดทราย มีเพลง พร้อมเปิดการแสดงรอบแรกแล้ววันนี้


Monday 25 October 2010

The Rice Child

Next program 26-27 Oct, 2010 is "The Rice Child"



พระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ
ละครหุ่นสื่อผสมเรื่อง




"วาวา The Rice Child"


วันที่ 26 ต.ค. 53 เวลา 19.30 น. และ 27 ต.ค. 53 เวลา 14.00 และ 19.30 น. (3 รอบเท่านั้น)
ที่ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว
ตึกอาคารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ
บัตร 100, 200 และ 250 บาท
โทร. 081 259 6906
http://www.crescentmoonspace.blogspot.com/


Crescent Moon Theatre proudly presents




THE RICE CHILD – a marionette and so on performance


At Crescent Moon space
Prid Banomyong Institute, Soi Thonglor
Oct 26, 2010 (Time 7.30 pm.) and Oct 27, 2010 (Time 2.00 & 7.30 pm.)


Ticket 100, 200, 250 B.
More info & Booking : 081 259 6906
http://www.CrescentMoonTheate.com/



Sunday 24 October 2010

รอบการแสดง "อ่านสังคม"

วันที่ 23-24 ตุลาคม 2553
รอบเวลา 13.00 และ 15.30 น. (ทั้งหมด 4 รอบ)


กลุ่มที่ 1

ช่อลดา สุริยะโยธิน
อ่านเรื่อง “เงาแห่งยุคหิน” (Shadows of the Neanderthal เขียนโดย David Hutchens) แปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล

สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
อ่านเรื่อง “โลกสันติภาพ”


กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
อ่านเรื่อง “เพลงชาติไทย” จากหนังสือ เราหลงลืมอะไรบางอย่างไป ของ วัชระ สัจจะสารสิน

วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
อ่านเรื่อง “จิ้งหรีดแห่งเมืองสีเทา” ของ ตรัย ภูมิรัตน์

กลุ่ม 2

กรินทร์ ใบไพศาล
อ่านเรื่อง “แรด” (จากบทละคร Rhinoceros เขียนโดย Eugene Ionesco)

รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
อ่านเรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” จากบทละครเขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ

กวินธร แสงสาคร
อ่านเรื่อง “นักเลงเฟือง” จากหนังสือเรื่อง เดินอย่างปุ๊ ของ ปุ๊ กรุงเกษม และ เส้นทางมาเฟีย ของ สุริยันต์ ศักดิ์ไธสง

สินีนาฏ เกษประไพ
อ่านเรื่อง “ชั้นที่ 7” บทละครโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี



Friday 15 October 2010

ใครบ้างที่จะมาอ่านสังคม

โครงการอ่านบทละคร - อ่านสังคม


ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 4 แล้ว เรามีนักทำละครมาร่วมอ่านทั้งหมด 8 เรื่อง ขอแนะนำ 4 คนแรกกันก่อนเลย




กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
อ่านเรื่อง “เพลงชาติไทย” จากหนังสือ เราหลงลืมอะไรบางอย่างไป ของ วัชระ สัจจะสารสิน


วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
อ่านเรื่อง “จิ้งหรีดแห่งเมืองสีเทา” ของ ตรัย ภูมิรัตน์



กวินธร แสงสาคร
อ่านเรื่อง “นักเลงเฟือง” จากหนังสือเรื่อง เดินอย่างปุ๊ ของ ปุ๊ กรุงเกษม และ เส้นทางมาเฟีย ของ สุริยันต์ ศักดิ์ไธสง


สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
อ่านเรื่อง “โลกสันติภาพ”

ช่อลดา สุริยะโยธิน
อ่านเรื่อง “เงาแห่งยุคหิน” (Shadows of the Neanderthal เขียนโดย David Hutchens) แปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล


กรินทร์ ใบไพศาล
อ่านเรื่อง “แรด” (จากบทละคร Rhinoceros เขียนโดย Eugene Ionesco)

สินีนาฏ เกษประไพ
อ่านเรื่อง “ชั้นที่ 7” บทละครโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี

รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
อ่านเรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” จากบทละครเขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ


Thursday 14 October 2010

A Play in November 2010

ละครเดือนพฤศจิกายน


กลุ่มละคร Dream Catcher
เสนอละครเวทีเรื่อง


กาลครั้งหนึ่งแห่งฝันสลาย
Once Upon A Broken Dream



รอบแสดง 5-7 และ 12-14 พฤศจิกายน 2553

ศุกร์เริ่ม 20.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ 2 รอบ
13.00 น.และ 19.30 น.

บัตรราคา 300 บาท
โทรจองได้ที่ 080-5955029




3 Project in Oct

ตุลาคมนี้มี 3 โปรเจค ที่ Crescent Moon space






เรื่องแรก



"เด๊ดสะมอเร่" – ละคร Black Comedy

เขียนบทและกำกับ โดย นพพันธ์แอนด์เฟรนส์

ยังเหลืออีก 4 รอบ วันที่ 14,15,16,17 ตุลาคม 53 เวลา 19.30 น.
บัตร 300
โทรจองด่วน 086 814 1676


โปรแกมที่ 2

พระจันทร์เสี้ยวการละครเชิญชม อ่การแสดงอ่านบทละคร

"อ่านสังคม"
จากมุมมองนักทำละครหลายคน


23-24 ต.ค. 53 เวลา 13.00 และ 15.30 น.

ชมฟรี
จองที่นั่งที่ 081 259 6906

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ 3


โปรแกมที่ 3


พระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ

ละครหุ่นสาย "วาวา The Rice Child"

กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
ออกแบบและฝึกสอนหุ่นสาย โดย วศิน มิตรสุพรรณ / แกะดำดำ
วาดทรายโดย นพพันธุ์ บุญใหญ่
ดนตรีโดย พรชนก กาญจนภังคะ

วันที่ 25-26 ต.ค. 53 เวลา 19.30 น.
และ 27 ต.ค. 53 เวลา 14.00 น.

บัตร 100, 200 และ 250 บาท
โทร. 081 259 6906


Crescent Moon Theatre proudly presents

THE RICE CHILD – a marionette and so on performance

Directed by Sineenadh Keitprapai
Marionette design and training by Vasin Mitrsuphan
Sand Drawing by Nophan Boonyai
Music by Pornchanok Kanjanapanka

Oct 25-26, 2010 (Time 7.30 pm.)
and Oct 27, 2010 (Time 4.00 pm.)
Ticket 100, 200, 250 B.

More info & Booking : 081 259 6906
http://www.CrescentMoonTheate.com/

Thursday 7 October 2010

Deadsmaore- before it's too late

แสดงรอบแรกแล้วเมื่ออวานนี้


Deadsamore เป็นละครรีสเตจอีกครั้ง เขียนบท และ กำกับโดย นพพันธ์ บุญใหญ่ ผู้นักแสดงและผู้กำกับรุ่นใหม่ที่น่าจับตาที่สุดคนหนึ่งในขณะนี้
Deadsamore เรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตและความตาย ที่ไม่สยดสยอง แต่ ตลร้ายก เสียดสี และ ลุ่มลึกกับการให้คุณค่าในการมีชีวิตอยู่


ครั้งนี้เขาไม่ได้ร่วใแสดงเหมือนครั้งก่อน แต่ได้นักแสดงฝีมือดี คือ คานธี อนันตกาญจน์ และ รัชชัย หรือ งิ่ง เบบี้ไมม์ ที่จะเปิดปากเล่นละครพูดครั้งแรกในครั้งนี้ ร่วมด้วยนัแสดงชุดเดิม และบางตัวละครที่เปลี่ยนไป


ติดตามชมกันได้ ค่ำนี้ ยังมีการแสดงอีก 9 รอบ

มาชมก่อนที่จะสายเกินไป

Saturday 2 October 2010

Stage play in Oct "Deadsamore"


ถ้าคุณคิดว่าชีวิต(หรือละครเวที)มันไม่มีอะไรไปมากกว่านี้ก็ลองมาดูเรื่องนี้


"เด๊ดสะมอเร่" – ละคร Black Comedy


ละคร โดย นพพันธ์แอนด์เฟรนส์

นำแสดงโดยนักแสดงละครเวทีแนวหน้าของความพิลึก

ที่ห้องพระจันทร์เสี้ยว Crescent Moon space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ

แสดงวันที่ 6,7,8,9,10 และ 13,14,15,16,17 ตุลาคม
เวลา 19.30 น.
บัตร 300 บาท

โทรจองด่วน 086 814 1676


ถ้าคุณคิดว่าชีวิต(หรือละครเวที)มันไม่มีอะไรไปมากกว่านี้ก็ลองมาดูเรื่องนี้