welcome to crescent moon space

welcome to crescent moon space
small but beautiful small alternative space for theatre lovers

Wednesday 30 December 2009

พบกันใหม่ปีหน้า


พระจันทร์เสี้ยวการละครและละครโรงเล็ก Crescent Moon space หรือ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว ขอขอบคุณเพื่อนมิตรและผู้ชมทุกท่านที่มาแสดง มาร่วมงาน มาดูมาชม มาเป็นกำลังใจ และสนับสนุนศิลปะการละคร

ปี 2552 นี้ มีละครมาลงโรงที่ Crescent Moon space ทั้งหมด 12 เรื่อง รวมรอบการแสดงทั้งหมด 110 รอบการแสดง จัดอบรมละครทั้งหมด 7 ครั้ง จัดฉายภาพยนตร์และเสวนา 1 ครั้ง จัดการแสดงโชว์เคสอีก 1 ครั้ง เป็นละครสั้น 4 เรื่อง ปีนี้เป็นปีแรกที่พระจันทร์เสี้ยวการละครจัดโครงการอ่านบทละครแบบรวมพลคนละครมาร่วมกันอ่านร่วมกันแสดง คือ อ่าน(เรื่อง)รัก และ อ่านสันติภาพ รวมการอ่านบทละครทั้งหมดมี 22 เรื่อง จาก 24 นักการละคร

แอบกระซิบว่าเดือนกุมภาพันธ์มีเรื่องรักจาก New Theatre Society มารอให้ชม ขอให้ทุกท่านมีความสุข สมหวัง และมีสุขภาพแข็งแรง มีพลังใจเต็มเปี่ยมที่จะทำในสิ่งที่รัก แล้วอย่าลืมแวะมาดูละครที่โรงละครเล็กๆแห่งนี้ได้ในปีหน้า


Friday 25 December 2009

merry christmas & happy new year 2010


Merry Christmas!
Have a very joyful & Happy new year to all!


สวัสดีปีใหม่
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกาย สุขใจ สมหวัง และสันติ



Thursday 24 December 2009

ซ้อมละครเรื่อง ล่า-ท้า-ฝัน

ช่วงนี้ที่ละครโรงเล็ก Crescent Moon space หมดงานโปรดักชั่นแล้ว มีแต่ละครของไอซีที ม.ศิลปากรที่มาใช้ห้องซ้อมในวันเสาร์-อาทิตย์เพื่อซ้อมละครเรื่อง "ล่าท้าฝัน" ที่ใกล้จะลงโรงละครในวันที่ 8-10 มกราคมนี้ ที่ห้องประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์

ละครเรื่องนี้แปลและดัดแปลงบทมาจากบทละครเยอรมันเรื่อง Creeps ซึ่งเป็นบทที่ค่อนข้างใหม่คือยังอายุไม่ถึงสิบปี เขียนโดย Lutz Hubner เรื่องราวค่อนข้างทันสมัยใกล้ตัวเรา

ส่วนโปนดักชั่นนี้ก็เป็นโปรดักชั่นใหม่ทั้งนักแสดงและทีมงาน เพราะเป็นละครเรื่องแรกของคณะไอซีที ศิลปากร ที่อยากให้น้องๆนักศึกษาที่ฝึกฝนเรียนรู้กับประสบการณ์การทำงานจริงกับละครเรื่องนี้

ลองมาดูภาพการซ้อมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา














Wednesday 23 December 2009

บทความจากผู้ชม "ไฟล้างบาป"


ละครที่ผู้หญิงเขียนบท
เขียนโดย อาโด๊ด

จากบล๊อกโอเคเนชั่น


ผมเคยตั้งคำถามมานานแล้วว่า ทำไมจึงไม่มีครูเพลงลูกทุ่งผู้หญิงเลย เห็นมีแต่ครูเพลงผู้ชายแต่งเพลงให้ผู้หญิงร้อง เนื้อเพลงครวญคราง หนาวอย่างนั้น เหงาอย่างนี้ คิดถึง น้อยใจ เสียใจ อาลัยรัก เมื่อไหร่จะมาขอ เขยิบเข้ามาซิ รออยู่นะจ๊ะ... สงสัยว่าผู้หญิงเขาคิดกันอย่างนั้นจริงๆ หรือเปล่า

วันก่อนมีโอกาสได้ตามเพื่อนไปดูละครเวที บังเอิญว่าเป็นละครที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีคิดของผู้หญิง เขียนบท กำกับ และแสดงโดยผู้หญิง ได้แง่มุมหลายอย่างที่น่าสนใจ บางทีผู้ชายอย่างเราอาจต้องเก็บเอามาคิดทบทวนให้ดีหากเรายังยึดมั่นอยู่กับค่านิยมทางสังคมที่มองว่าผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า

ผมไม่คิดว่าละครเวทีเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ผู้หญิงเขียนบท เพียงแต่ผมเพิ่งได้ดูเป็นครั้งแรก ต่างจากภาพยนต์และละครโทรทัศน์ที่มีการเขียนบทเองบ้าง นำโครงเรื่องมาจากหนังสือนิยายบ้าง ซึ่งนิยายส่วนใหญ่โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและความรักทั้งหลายทุกวันนี้ก็เขียนโดยนักเขียนผู้หญิงทั้งนั้น เพียงแต่ไม่ค่อยเห็นว่าภาพยนต์และละครที่ผ่านมาจะเขียนในมุมมองของผู้หญิงสักเท่าไหร่ เนื้อหาส่วนใหญ่ยอมจำนนอยู่ภายใต้วาทกรรมชายเป็นใหญ่ทั้งนั้น

ไฟล้างบาป คือละครที่ผมพูดถึง เวลาราว 30 นาทีในโรงละครห้องเล็กในสถาบันปรีดีเมื่อสัปดาห์ก่อน มีคนดูแค่ 20 คน ซึ่งไม่แน่ใจว่าคุ้มค่าเช่าหรือไม่ ภาพที่เห็นไม่อลังการงานสร้างอย่างละครคุณหนูขาใหญ่ไฮโซ มีตัวละครเพียง 4 ตัว ระบบแสงเสียงไม่ซับซ้อน ผมซึ่งไม่มีความรู้ด้านการละครมาก่อนยอมรับว่าดูละครเวทีไม่เป็น แต่ดูไปดูมากลับรู้สึกสนุก สนุกที่ได้ยินความคิดดังๆ แบบผู้หญิง เขาปล่อยให้คิดอย่างไม่ยัดเยียด ก็เลยรู้สึกคุ้มที่ได้ดู (คุ้มแน่นอน เพราะเพื่อนออกค่าบัตรให้)

ละครฉากแรกเริ่มต้นตรงที่หญิงสาว 3 คน นอนแผ่หราอยู่บนพื้น รอบตัวแต่ละคนมีเส้นสีขาวล้อมรอบเหมือนอย่างที่ตำรวจชอบทำเวลาเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

หญิงสาวคนแรก เป็นสาวใช้ ที่ถูกทรชนรุมโทรม ต้องหาทางออกมาจากหน้าต่างอาคารสูงราว 20 ชั้น

ป้าทอม เป็นหญิงสาวรายที่สองที่ถูกแฟนสาวตีจาก ประชดชีวิตด้วยการวิ่งตัดหน้ารถยนต์ที่วิ่งสวนมาด้วยความเร็วสูง

ดาราซุปเปอร์สตาร์ เป็นหญิงสาวคนสุดท้าย เธอถูกสังคมคาดหวัง และถูกกระทำจากกระบวนการสร้างข่าวของสื่อมวลชน ต้องกินยาเป็นกำมือเพื่อให้หลับลงได้แต่ละคืน

เมื่อทั้งสามรู้สึกตัวขึ้น ต่างก็สับสนว่าตัวเองอยู่ที่ไหน ตื่นตระหนก หวาดกลัว และปฏิเสธภาพที่เห็นตรงหน้า ต่างรู้สึกเสียดายชีวิต พอได้สติทั้งสามคนก็เริ่มหันหน้าพูดคุยแลกเปลี่ยน ทบทวนถึงสาเหตุที่ทำให้พวกเธอต้องมาอยู่ยังสถานที่นั้น โดยที่ทุกคนก็ยังคงไม่ละทิ้งตัวตน บางคนยังห่วงงาน บางคนยังเชื่อในการตัดสินใจของตน และบางคนยังคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น

หลังพูดคุยปรับทุกข์เรียนรู้กันพักใหญ่ทำให้เข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น พวกเธอเริ่มทำใจได้ ทันใดนั้นก็เกิดเสียงดังสนั่นอากาศเบื้องบนแยกตัว มีกะละมัง 3 ใบ และผ้ากองโตตกลงมาจากข้างบน พวกเธอเข้าใจว่าสถานที่พวกเธออยู่นั้นคือ นรก และกำลังถูกนรกลงโทษในความผิด จึงจำยอมนั่งซักผ้าอย่างเอาเป็นเอาตาย ระหว่างนั้นพวกเธอต่างยอมรับในความผิดของตน

หญิงสาวใช้ รู้สึกผิดที่ตัวเองถูกทรชนรุมข่มขืน ทำให้เธอต้องเป็นคนบาป
หญิงสาวห้าว รู้สึกผิดที่เธอมีรสนิยมในเพศเดียวกันทั้งที่รู้ว่าผิดครรลองของสังคม
หญิงสาวซุปเปอร์สตาร์ รู้สึกผิดที่เธอตกเป็นข่าวกับดาราชายมากหน้าหลายตา

ในที่สุดจากการพูดคุยปรับทุกข์ของหญิงสาวทั้งสามก็เปลี่ยนไปเป็นการตำหนิการทำงานของนรกที่ไม่เป็นธรรมกับพวกเธอ พวกเธอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจออกมาชี้แจง

เสียงดังสนั่นอีกครั้ง อากาศเบื้องบนแยกออก ปรากฏ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ในร่างผู้หญิงชุดขาวเข้ามาใกล้พวกเธอ ทั้งสามคนแปลกใจที่เห็นยมบาลเป็นผู้หญิง เพราะนิทานและเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับยมบาลทั้งหลายต่างระบุตรงกันว่ายมบาลเป็นผู้ชาย แต่ก็ได้รับคำชี้แจงว่า ไม่เคยมีข้อกำหนดมาก่อนว่ายมบาลต้องเป็นผู้ชาย สถานที่ทุกคนอยู่นั้นก็ไม่ได้เรียกว่านรกหรือสวรรค์ ไม่มีการลงโทษ และก็ไม่มีใครสั่งให้พวกเธอต้องซักผ้าด้วย สรุปว่าพวกเธอคิดไปเอง เข้าใจไปเอง และทำไปเองตามความเคยชิน สถานที่นั้นเป็นแต่ความว่างเปล่า ไม่มีข้อกำหนดกฏเกณฑ์ทางสังคม “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ชี้แจงว่า ทุกคนสามารถคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเองในทุกเรื่อง หากสิ่งนั้นๆ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองและใครก็ตาม

ละครเรื่องนี้จบลงด้วยการสะท้อนมุมมองของผู้หญิงจากที่เคยทำสิ่งต่างๆ ด้วยความเคยชินมาตลอดทั้งชีวิต นอกจากคิดไปตามกรอบที่ผู้ชายกำหนดให้แล้ว ผู้หญิงก็ยังเป็นฝ่ายรักษากรอบคิดนั้นเอาไว้อย่างเคร่งครัด โดยนำมาใช้เป็นเครื่องมือควบคุมผู้หญิงด้วยกันเองให้อยู่ในกรอบที่ผู้ชายกำหนด ผู้หญิงที่คิดและทำต่างออกไปก็จะถูกมองว่าล่วงละเมิดจารีต แม้แต่ผู้หญิงที่ถูกผู้ชายกระทำเองก็ยังรู้สึกว่าเป็นความผิดบาปของตน ทั้งที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ รวมทั้งไม่ได้เป็นผู้กำหนดจารีตอันนั้นขึ้นแม้แต่น้อย

ขอขอบคุณ คุณอาโด๊ด สำหรับเสียงสะท้อนจากผู้ชม

ดูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.oknation.net/blog/r-dote/2009/12/18/entry-1

Monday 7 December 2009

ไฟล้างบาปรอบสุดท้าย

วันนี้รอบสุดท้ายไฟล้างบาป

มีรูปถ่ายจากการแสดง 4 รอบที่ผ่านมา
ถ่ายภาพโดย จีรณัทย์ เจียรกุล








Sunday 6 December 2009

สูจิบัตร “ไฟล้างบาป”

การเดินทางของไฟล้างบาป

ละครเวทีเรื่อง “ไฟล้างบาป” เป็นผลงานที่เกิดจากการพัฒนาบทและการแสดงจากนักแสดงหญิงสี่คน คือ สีนีนาฏ เกษประไพ, จารุนันท์ พันธชาติ, ฟารีดา จิราพันธ์ และ สุมณฑา สวนผลรัตน์ จากการไปร่วมอบรมในโครงการ Mekong Performing Arts Laboratory 2006 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนและเพิ่มทักษะด้านการละครของศิลปินในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ในประเด็นเกี่ยวกับผู้หญิง บทบาททางเพศ และ HIV และต่อมาได้รับการสนับสนุนและเป็นหนึ่งในโครงการ Mekong Creative Communities Arts for Advocacy Fellowship 2007 ที่ได้รับการสนับสนุนโดย Philippines Educational Theatre Association (PETA) และมูลนิธิ The Rockefeller Foundation ให้เราได้แสดงทัวร์ในอีกสิบแห่ง

และครั้งล่าสุดกับการไปร่วมแสงดในงานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009 ในครั้งนี้ “ไฟล้างบาป” มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อความเหมาะสมและเพื่อความสนุกสนานในการทำงาน และยังคงพูดถึงเรื่องราวของผู้หญิงเพื่อผู้ชมทุกคน

แสดงครั้งแรกที่Hong Ha Theatre Hanoi, Vietnam ในงาน Mekong Performing Arts Laboratory 2006 15 กันยายน 2549 (จำนวน 1 รอบ)


แสดงครั้งที่สองที่สวนสันติไชยปราการ ในงาน Bangkok Theatre Festival 2006วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2549 (จำนวน 2 รอบ)แสดงทัวร์ในสิบมหาวิทยาลัยมศว, ม.สวนสุนันทา, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา, V-Train บ้านพักฉุกเฉิน, ม.วไลอลงกรณ์, ม.ราชภัฏจอมบึง, ม.บูรพา, ม.ธุรกิจบัณฑิตย์, ม.เกษมบัณฑิตย์, ม.ศิลปากร (ทับแก้ว) ในปี 2007 (จำนวน 10 รอบ)


แสดงครั้งล่าสุดในงานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009ที่โรงละคร Jaktomok Conference Hall กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา วันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 (จำนวน 1 รอบ)


นักแสดง
สินีนาฏ เกษประไพ, ฟารีดา จิราพันธุ์, ศรวณี ยอดนุ่น, สุมณฑา สวนผลรัตน์


ทีมงาน
ทีมงานติดตั้งระบบ (เวที,ฉาก,แสง,เสียง)
พี่แอ๋ม, ฐาน, ลูกอิน, ไผ่, ชัย, ใหม่, สุกี้, โอ๊ค, โบ, ฟา, นาด
ฝ่ายบัตรและหน้างาน สุกัญญา เพี้ยนศรี, กีรติ ศิวะเกื้อ
ประชาสัมพันธ์ บูรณิจฉ์ ถิ่นจะนะ
ถ่ายภาพนิ่งและวิดิโอ จีรณัทย์ เจียรกุล, ภูมิฐาน ศรีนาค, กวินธร แสงสาคร
ควบคุมแสง อรุณโรจน์ ถมมา
ควบคุมเสียงและวิดิโอ บูรณิจฉ์ ถิ่นจะนะ
ตัดต่อเสียง จารุนันท์ พันธชาติ
วิดิโอประกอบ จารุนันท์ พันธชาติ, กวินธร แสงสาคร
เขียนบท จารุนันท์ พันธชาติ, สุมณฑา สวนผลรัตน์, ฟารีดา จิราพันธ์, สินีนาฏ เกษประไพ
ออกแบบโปสเตอร์ วิชย อาทมาท
กำกับเทคนิคและออกแบบแสง ทวิทธิ์ เกษประไพ
ออกแบบฉากและกำกับศิลป์ สินีนาฏ เกษประไพ


ขอบคุณ
งานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009
PETA (Philippines Educational Theatre Association)
สถาบันปรีดี พนมยงค์
อ.ปวิตร มหาสารินันท์
ครูอุ๋ย พรรัตน์ ดำรุง
และท่านผู้ชมทุกท่านที่สนับสนุนศิลปะการละคร

Friday 4 December 2009

Purgatory play ละครส่งท้ายปีที่ Crescent Moon space


แสดงแล้วเมื่อวานนนี้เป็นวันแรก

สาวๆจาก ไฟล้างบาป เดินทางกลับจาก Mekong Arts and Media Festival 2009 แล้วรีบซ้อมและเปลี่ยนแปลงเซ็ทติ้งให้เข้ากับสเปซเล็กๆอย่าง Crescent Moon space และทำการแสดงรอบแรกไปแล้วเมื่อวานนนี้ เราเก็บภาพมาฝากให้ชม

ภาพถ่ายโดย ภูมิฐาน ศรีนาค








Sunday 22 November 2009

Kekong Arts and Media Fest in The Nation newspaper

MEKONG FESTIVAL:
a reach as long as the river

written by Pawit Mahasarinand
published in THE NATION on Sunday, November 15, 2009



The Philippine Educational Theatre Association extends its aid to nurture far-flung arts groups and address their social challenges.
Theatre can entertain—and it can also foment change in society. In fact, if theatre's sole purpose were entertainment, it would not have survived the advent of film and television.


Witness the Mekong Arts and Media Festival “Weaving Cultures, Weaving Visions” from November 23 to 27 in Phnom Penh.

Arts groups in the Mekong region have benefited in recent years from funding and workshops organised by the Philippine Educational Theatre Association (PETA), whose Mekong Partnership Project supports initiatives aimed at social transformation.

Considered as the wrap-up event for the first phase of PETA’s Mekong Partnership Project, the festival welcomes artists, media practitioners, cultural workers, students, drama/theatre teachers, advocates, public officials, and development workers in addition to the general public to performances, conferences, skill-building workshops, exhibits, film screenings and other events giving full rein to creative expression to address current and emerging social issues facing the people living along the Mekong River.

Don’t be surprised if you find that there is less number of local stage works here in Thailand next week. While Makhampom and representatives from various groups in the Bangkok Theatre Network are at Festival/Tokyo performing Yak Tua Dang and Sao Chaona, Thai adaptations of Japanese plays Akaoni and Nogyo Shojyo, three other troupes—Crescent Moon Theatre, Khandha Arts 'n Theatre and Wandering Moon Performing Group and Endless Journey—will be in the Cambodian capital presenting works created with PETA grants.

Sineenadh Keitprapai, artistic director of Crescent Moon and recipient of the Silpathorn Award in 2008, tells us that her company has worked with PETA for decades.

“Before the Mekong Partnership Project started, PETA asked me to be a Thai coordinator when they came in to conduct research on performing arts groups in Thailand. Then, I joined the 2nd Mekong Performing Arts Laboratory in 2006 in Hanoi, along with fellow actresses Farida Jaruphand, Jarunun Phatachat, and Suwandee Suanpholrat.”

Purgatory
A result is a collaborative work of the four veteran thespians that was later developed, again with the grant from the Project, into physical theatre production dealing with women-related issues Purgatory (or in Thai title Fai Lang Bap), that was later staged at Bangkok Theatre Festival 2007 and toured to 10 universities, and will be restaged next month at the Crescent Moon Space in the Pridi Banomyong Institute in Soi Thonglhor.

“Before each performance, we talked to our audience, asking them what each and everyone of them think of themselves, how others look at them, and what they want to be in the future, and then present these through images. After the performance, which was while strictly issue-oriented, presented in a somewhat satirical and comic tone, we talked to them again openly, and the conversations went back to the images they drew at the start. One audience, in the presence of their friends, told us that she once got so depressed that she was considering suicide, and that the performance gave her much moral support. This is beyond our expectation.”

They will restage Purgatory at the festival, with one cast change, as Jarunun will be in Tokyo performing Sao Chaona.
Monthatip Suksopha's Chiang Mai-based shadow-puppet troupe Wandering Moon was invited to perform Butterfly at the 2004 Asia-Pacific Women's Festival, its first venture overseas.

“It’s a great exposure for us. The audience there loved our work and we’re offered grants by many organizations,” says Monthatip.

The Mekong Partnership Project blossomed soon after that, and Wandering Moon has played different roles in its annual laboratories ever since.

"The first one in Manila, we’re artists, then in the second and third in Hanoi and Cambodia, we’re facilitators, then we co-hosted the fourth one last year. While the overall theme of these labs centers on gender issues in the Mekong sub-region, the highlighted performance style differs from one to another, depending on the host companies’ interests and strengths—like the focus on puppetry in our lab last year.”

"We've learned a lot and developed a great deal—not only in artistic skills but also organisational and managerial ones. I think this collaboration and journey [with PETA] works effectively partly because we share a lot in common and have a good chemistry, of course there’ve been some obstacles and problems along the way, like any other journey.”

Wandering Moon will present its new work, Reborn of the Butterfly, in Phnom Penh.

"It's slightly different from the two works that were supported by the project, The Untold Story and Forgotten Memory, both of which were continuations of Butterfly," Monthatip says.

Forgotten Memory
"Many people now think we only work on gender issues. Well, we're an all-women troupe, but we work on other issues [outside of the Mekong Project] as well.”
"In Reborn, we're taking a more neutral view and looking at the relationship between men and women as yin and yang—instead of merely strictly women-related issues, like abortion in Forgotten Memory."


Butoh-trained performer and director Sonoko Prow, artistic director of Khandha Arts 'n Theatre, participated in the third Mekong Performing Arts Laboratory in 2007.

"During those three weeks in three cities I learned that advocacy wasn't as scary as I'd thought. When we want to change something or someone, we should start by studying ourselves - and conducting thorough research into the real situation."
Sonoko's Maenam, a final showcase in the 2007 lab, recruited residents of Battambang for the cast of a piece dealing with AIDS. It fuelled a larger production called For Little Less Noise: Maenam the following year, which was also supported by the project.

For Little Less Noise: Maenam
Maenam was presented at Patravadi Theatre and Chiang Mai and Mae Fah Luang universities, along with workshops on both the content and the performance style.

"The reactions varied at different venues," Sonoko says. "In Chiang Rai, where we performed to about 1,500 audiences, partly because we had a slide show explaining Butoh, the performance moved some viewers to tears. In Bangkok most people saw it in terms of production values, concentrating more on the movement than the issues."

PETA's Mekong Partnership Project, she says, has helped the troupe "continuously develop our artistic skills and creation process in the past two years".
“Some members of the troupe even told me the process changed their personalities.”

"Plus, the audience is exposed to a new style of performance and new social issues. Some people, like HIV patients, realise they can actually do more than they think, and that's similar to what our members have felt through this self-realisation process."

Khandha Arts 'n Theatre will perform For Little Less Noise: Maenam at the Mekong Festival.

The festival is a PETA’s collaboration with Phare Ponleu Selpak, Save the Children UK's Cross Border Project and the Centre for Community Health Research and Development.

Funding comes from the Rockefeller Foundation, European Union, Japan Foundation, Heinrich Boell Foundation-Southeast Asia, Terres des Hommes and Ambassade au France de Cambodge.

How does PETA, an organisation based in the Philippines—outside the Mekong region—secure grants from America and Europe?

“I was wondering about that too," Sonoko laughs. "I guess it's partly because they're well established, with more than three decades in this field, and can communicate very efficiently in English."
"Plus, since they're also artists, they understand their fellow artists like us from Thailand."

The Mekong Festival of Arts and Media is from November 23 to 27 in Phnom Penh. Get the details at
www.Mekong-ArtsFest2009.com.

For more information about the participants, see www.PETATheater.com, www.CrescentMoonTheatre.com, www.KhandhaArts.org and www.WanderingMoonTheatre.com

Thanks to a grant from Save the Children (UK), the writer has been invited to the festival as a scholar/journalist. More articles will soon be published in The Nation.

--------------------------------------------------------------------------------
written by Pawit Mahasarinand
published in THE NATION on Sunday, November 15, 2009
photos courtesy of Crescent Moon Theatre, Wandering Moon Performing Group and Endless Journey; and Khandha Arts 'n Theatre.

information from:
http://blog.nationmultimedia.com/danceandtheatre/2009/11/17/entry-1

Saturday 21 November 2009

ละครเวทีเรื่อง “ไฟล้างบาป” ในงาน Mekong Arts and Media Festival 2009



พระจันทร์เสี้ยวการละคร จะนำผลงานละครเกี่ยวกับผู้หญิงเรื่อง “ไฟล้างบาป” ไปร่วมแสดงในงานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 23-27 พฤศจิกายนนี้

ละครเรื่องนี้สร้างสรรค์และแสดงโดยนักละครหญิง 4 คน คือ สินีนาฏ เกษประไพ, สุมณฑา สวนผลรัตน์, ฟารีดา จิราพันธ์ และ จารุนันท์ พันธชาติ เนื้อเรื่องพูดถึงชีวิตหลังความตายของผู้หญิงสามคน ที่บังเอิญไปเจอกันในที่แห่งหนึ่งที่พวกเธอก็ไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นที่ไหน หลังจากการพูดคุยกัน พวกเธอจึงร้องเรียกหาเจ้าแห่งโลกหลังความตาย ให้ออกมาตัดสินว่าพวกเธอจะต้องทำอะไร หรือต้องไปที่ไหน


ละครเรื่องนี้แสดงครั้งแรกในงาน Mekong Performing Arts Laboratory 2006 ที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม กลับมาแสดงที่เทศกาลละครกรุงเทพ 2006 และออกทัวร์แสดงใน 10 มหาวิทยาลัย ในกรุงเทพ และต่างจังหวัด

การแสดงในครั้งมีการเปลี่ยนแปลงตัวนักแสดงจาก จารุนันท์ พันธชาติ เป็น ศรวณี ยอดนุ่น เนื่องจากจารุนันท์ติดงานแสดงละครเรื่อง “สาวชาวนา” ที่โตเกียว หลังจากเดินทางกลับมาจากกัมพูชา “ไฟล้างบาป” จะเปิดการแสดง 5 รอบ ที่ละครโรงเล็ก Crescent Moon Space ในวันที่ 3-7 ธันวาคมนี้ รอบเวลา 19.30 น.

งานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009 เป็นโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม, ละคร, การแสดง, หนังสั้น, และการประชุมเชิงปฏิบัติการของศิลปินนักการละครในประเทศลุ่มน้ำโขง งานนี้จัดโดยหลายองค์กร ได้แก่ the Philippine Educational Theater Association’s Mekong Partnership Project, Phare Ponleu Selpak,Save the Children UK, and Center for Community Health Research & Development.



โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
083 995 6040



ดูเพิ่มเติมที่ http://www.crescentmoontheatre.com/










เก็บตกข่าว อ่านสันติภาพ

อ่านสันติภาพ

ในมุมมองของนักการละคร


โดย : คุณหนอนฝึกหัด


“ไม่มีสุ้มเสียงจากหนังสือ...

นอกเสียจากความอึกทึกทางปัญญา”


บ้างก็ว่าเป็นไปเพื่อยุติความขัดแย้ง บ้างก็เพื่อผลประโยชน์ บ้างก็ว่าเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ฯลฯ ก่อเกิดความพยายามที่จะหาจุดร่วมมิรู้จุดจบ

แต่แท้ที่จริงแล้ว 'สันติภาพ' คืออะไร...

เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา 'พระจันทร์เสี้ยวการละคร' ภูมิใจเสนอ โครงการอ่านบทละคร อ่านสันติภาพ การแสดงอ่านบทละครจากมุมมองของนักการละครที่ร่วมใจมาแสดงในงานศิลปะกับสังคม 'อภิวัฒน์สู่สันติ' ในวาระครบรอบ 110 ปี รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ณ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์

บทละครที่นำมาใช้แสดงในครั้งนี้ คัดสรรมาทั้งจากงานวรรณกรรมที่เป็นบทกวีหรือเรื่องสั้น บทเพลงในภาพยนตร์ คำสอนทางศาสนา ฯลฯ รวมทั้งหมด 12 เรื่อง ได้แก่ แพะในหมู่บ้าน โดย สายฟ้า ตันธนา, You Must Love Me โดย วสุรชต อุณาพรหม, จานบิน โดย วรัญญู อินทรกำแหง, นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน โดย ผดุงพงศ์ ประสาททอง, อัสลาม โดย ฟารีดา จิราพันธุ์ และคอลิด มิดำ, Einstein quotes โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์, บ้านที่แท้จริง โดย จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ และประภัสสร จันทร์สถิตพร, ข่าวที่บรรณาธิการขว้างทิ้ง โดย วิชย อาทมาท, วันหนึ่งในคืนฤดูหนาว โดย สุกัญญา เพี้ยนศรี, เพชรฆาต โดย ภาวิณี สมรรคบุตร, ฝูงมนุษย์ โดย ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ และ ความว่าง โดย กมลภัทร อินทรสร

ก่อนการแสดงเริ่ม สินีนาฏ เกษประไพ นักการละครและผู้กำกับจากกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละคร เกริ่นถึงการอ่านบทละครว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญเวลาที่ต้องจัดทำหรือซ้อมละครเรื่องหนึ่งๆ หลายต่อหลายครั้งต้องอาศัยการเคลื่อนไหว การเดิน เพื่อส่งพลังให้ผู้ชมรับรู้ถึงความหมาย และมีความรู้สึกร่วมไปด้วย เธอกล่าวต่อไปว่าในตอนแรกที่เอ่ยชวนเพื่อนพี่น้องในวงการการละครมาอ่านสันติภาพนั้น ยังมีความกังวลว่าจะมีใครตอบรับมาร่วมแสดงด้วยหรือไม่ เพราะคำว่าสันติภาพนี้ดูจะเป็นเรื่องไกลเกินตัวเราอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อมีการตอบรับและซ้อมบทละครร่วมกัน จึงเห็นว่าจริงๆ แล้วแต่ละคนต่างก็ตีความของคำว่า 'สันติภาพ' ออกมาได้หลากหลายมุม...

บ้านที่แท้จริง

"ถึงแม้ว่าไฟมันจะไหม้บ้านของเราก็ตาม ถึงแม้ว่าน้ำมันจะท่วมบ้านของเราก็ตาม อย่าให้มันไหม้หัวใจของเรา อย่าให้มันท่วมหัวใจของเรา"

การผสมผสานหนังสือธรรมะของหลวงพ่อชา สุภทฺโท และหนังสือสนทนาธรรมของท่าน ปสนฺโน ภิกขุ บอกเล่าเรื่องราวของ 'เจ-จาตุรันต์ ศิริพงษ์' นักโทษประหารคนไทยในสหรัฐ ที่ถูกจับเมื่อปี 2526 ด้วยข้อหาปล้นร้านการ์เด็น โกรฟ มาร์เก็ต (Garden Grove Market) และฆ่าเจ้าของร้านและผู้ช่วย เจรับสารภาพว่าร่วมในการปล้นแต่ไม่ได้ฆ่า แต่เนื่องจากเขาไม่ยอมซัดทอดผู้อื่น ศาลจึงพิพากษาและตัดสินประหารชีวิต ตลอดระยะเวลา 16 ปีในความพยายามยื่นเรื่องอุทธรณ์เพื่อให้ศาลกลับคำตัดสิน แต่ในที่สุดการประหารก็ถูกกำหนดขึ้นในวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542

ก่อนถึงวันประหาร 6 วัน เพื่อนซึ่งเป็นทนายความของเจได้ติดต่อขอความอนุเคราะห์ไปยังวัดป่าอภัยคีรี เมืองซานฟรานซิสโก เพื่อให้เจมีโอกาสได้พบกับชาวพุทธซึ่งสามารถจะเป็นที่พึ่งทางใจให้กับเขาได้ สองวันต่อมาพระอาจารย์ปสนฺโน เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยคีรี ก็ได้เข้าเยี่ยมและอบรมกรรมฐานให้กับเจ ในเรือนจำซาน เควนติน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

"...ตลอดเวลานับตั้งแต่อาตมาได้พบเจ จนกระทั่งถึงวันประหารเป็นเวลาสามวันนี้ อาตมาได้ตอบข้อสงสัย ข้อข้องใจของเจ โดยเฉพาะเรื่องอนัตตา เรื่องขันธ์ 5 และการปล่อยวาง และในคืนสุดท้าย อาตมาก็ได้ฝึกเขาในการทำจิตให้มั่นคง พร้อมที่จะรับความตายโดยไม่หวั่นไหว

...เรายังได้พูดถึงการปล่อยวาง ในความหมายที่เชื่อมโยงถึงการ 'การให้อภัย' และ 'อนัตตา' ถ้าเราไม่ให้อภัยคือเรายังยึดทุกข์ไว้ เราก็จะสร้างตัวตนขึ้นบนความทุกข์เรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเกิดมีตัวตนขึ้นเมื่อไร ทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น มันเกี่ยวพันกันอยู่อย่างนี้ ถึงตอนนี้แล้วอาตมาก็ถามเจขึ้นมาว่า 'ยังมีใครอีกบ้าง ที่เจยังไม่ได้ให้อภัย' เจนั่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะตอบค่อยๆ ว่า 'ผมยังไม่สามารถให้อภัยตัวเองได้หมดใจ'

...พิธีศพมีอย่างเงียบๆ ในวันรุ่งขึ้น ทางเรือนจำนำศพเจใส่ไว้ในกล่องกระดาษ ก่อนหน้านั้นพี่สาวของเจขอดูศพ แต่ไม่ได้รับอนุญาตอาตมาไม่ทราบเรื่องนี้เลย จึงไปขอผู้อำนวยการเปิดฝากล่อง ศพของเจเปรียบได้กับครูกรรมฐานที่ให้แรงบันดาลใจอย่างมาก ใบหน้าของเขาดูสงบ ผ่องใส คล้ายมีรอยยิ้มจางๆ หลังจากประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดแล้ว อาตมามั่นใจว่าเจไปดี"

อาจารย์กอล์ฟหรือ จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ ให้เหตุผลที่เลือกเรื่องนี้มาอ่านบทละครว่า "ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับคำชวนให้มาอ่านสันติภาพก็นึกถึงหนังสือสองเล่มนี้ขึ้นมา เพราะปกติก็จะอ่านอยู่เสมอๆ เวลาที่มีความร้อนอยู่ในจิตใจหรือว่าภายในใจมันมีเรื่องเศร้าหมอง ทีนี้เวลาเราพูดถึงสันติภาพกัน เรามักจะพูดกันถึงแต่เรื่องใหญ่ๆ เลยอยากให้ลองกลับมาดูเรื่องของสันติภาพในใจว่ามันต้องเริ่มจากตัวของเรากันเองก่อน สมมติว่าจะทำอะไรบางอย่างเพื่อสังคม ถ้าเราไม่เย็นเองก่อนแล้ว สังคมก็จะเย็นตามไปด้วยไม่ได้"

และอีกนานาทัศนะของนักการละครที่ตีความถึงสันติภาพในความเห็นของตน เช่น วสุรัชต อุณาพรหม ที่เลือกสะท้อนสันติภาพผ่านบทเพลง 'You must love me' ในละครเรื่อง Evita ซึ่งเป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงความคิดภายใน ความทรงจำ ความทะเยอทะยานที่จะมีชีวิตอยู่ โดยปรารถนาที่จะเป็นที่รักของอีวา เปรอง

เขาให้เหตุผลที่เลือกนำเสนอบทเพลงนี้ว่าจริงๆ แล้วใครฟัง you must love me ก็คงบอกว่าเป็นเพลงที่เพราะและน่าสงสาร แต่ตอนที่เขาพรินท์เนื้อออกมานั่งอ่าน เขากลับพบว่ามันมีอะไรซ่อนอยู่ในบทเพลงนี้เยอะมาก

"หลวงวิจิตรวาทการบอกไว้ว่าละครมันสร้างชาติ ...คือนักการเมืองมักจะใช้สื่อเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ภาพที่เขาปรากฏ และเห็นทางจอทีวีหรือหนังสือพิมพ์นี้ จริงๆ แล้วไม่รู้ว่าเป็นตัวที่สร้างสันติภาพหรือทำลายสันติภาพ ตัวนักการเมือง ผู้นำ หรือตัวใครก็ตาม ผมว่าเขามีภาพเหมือนคาแรคเตอร์ในเรื่องนี้ คือเขาจะต้องรู้ตัวว่าตัวเองต้องทำยังไง ต้องมีนักสร้างสื่อที่รู้ว่าจะจับโมเมนต์หรือช่วงเวลาใดของเขาออกสู่ประชาชน"

เมื่อการอ่านบทละครสิ้นสุดลงในวันนั้น หลากความเห็นที่สะท้อนออกมาผ่านเรื่องเล่าเพื่อสื่อถึงคำว่า 'สันติภาพ' อาจไม่มีอะไรมากเกินไปกว่าให้เราหยุดพิจารณาถึงความหมายและวิธีการซึ่งแสดงออกถึงสันติภาพอีกครั้งว่า... จริงๆ แล้วอะไรคือสันติภาพอย่างแท้จริง...


ข้อมูลจาก
นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วรรณกรรม ฉบับ วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2552

ภาพถ่ายจาก
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
ถ่ายโดย: ไผ่


Friday 20 November 2009

Purgatory new poster

โปสเตอร์แบบใหม่ของไฟล้างบาป



“ไฟล้างบาป"
เรื่องเพี้ยนๆของผู้หญิงสามคนที่พบว่าตัวเองตายและมาเจอกันในสถานที่ที่หนึ่ง ที่คาดเดาว่าคือนรก ทั้งสามคนต่างตั้งคำถามว่าทำไมพวกเธอจึงต้องมาที่นี่ เมื่อไม่ได้คำตอบ พวกเธอจึงร้องเรียกหาพระเจ้าแห่งโลกหลังความตาย ให้มาไขคำตอบและตัดสินว่าพวกเธอจะต้องอยู่ที่นี่ ไปสวรรค์ หรือ จะทำอย่างไรกับพวกเธอกันแน่?

"ไฟล้างบาป" เป็นละครที่พัฒนาจากโครงการ Mekong Performing Arts Laboratory 2006 ที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นโครงการฝึกฝนและแลกเปลี่ยนทักษะด้านการละครของศิลปินในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง แสดงครั้งแรกที่ Hong Ha Theatre ประเทศเวียดนาม เดือนกันยายน
กลับมาแสดงครั้งที่สอง ในงานเทศกาลละครกรุงเทพฯ 2006 ที่สวนสันติไชยปราการ ถนนพระอาทิตย์ และทัวร์ในอีก 10 มหาวิทยาลัยในปี 2007


กลับมาอีกครั้งเพื่อแสดงในงานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009 ที่ประเทศกัมพูชา


แสดงโดย
สุมณฑา สวนผลรัตน์, ฟารีดา จิราพันธุ์,
ศรวณี ยอดนุ่น และ สินีนาฏ เกษประไพ


วันที่ 3 – 7 ธันวาคม 2552
รอบเวลา 19.30 น. (ความยาว 45 นาที)
บัตรราคา 250 บาท (นักเรียน, นักศึกษา 200 บาท)



เพียง 5 รอบเท่านั้น
ที่ Crescent Moon Space
โทร 081 259 6906 และ 083 995 6040


ความเปลี่ยนแปลงในไฟล้างบาป

ตอนนี้ผู้หญิง 4 คน กำลังเตรียมตัวเดินทางไปแสดง “ไฟล้างบาป” (PURGATORY) ในงานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009 ระหว่างวันที่ 23 -27 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา


หลังจากนั้นก็จะนำกลับมาแสดงเพียง 5 รอบเท่านั้น ที่ละครโรงเล็ก Crescent Moon space ในวีคแรกของเดือนธันวาคม


ละครเรื่องนี้เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของ จา ฟา จุ๋ม และ นาด จากโครงการ PETA Mekong Laboratory 2006 ที่เวียดนาม ที่เป็นการอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านละครในประเด็นบทบาทชายหญิง แล้วก็กลับมาพัฒนาต่อ จัดแสดงในเทศกาลละครกรุงเทพ 2006 แล้วปีถัดมาคือปี 2007 เรานำไปทัวร์ในมหาวิทยาลัย 10 แห่ง

ในการแสดงครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างนิดหน่อย เนื่องจาก จา เดินทางไปแสดง "สาวชาวนา" ที่โตเกียว เราจึงชวน โบ ศรวณี มาแสดงแทน โดยสลับบทให้โบแสดงเป็นรากแก้วแทนนาด ส่วน นาด จะแสดงในบทของจา



ลองคิดเล่นๆว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
1.โบแสดงในบทของนาด
2.นาดแสดงแทนในบทของจา (ข้อ1 กับข้อ 2 พวกเธอก็แค่อยากจะเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากซะยังงั้น)
3.ตอนนี้ทั้งสี่คนเป็นผู้หญิงผมสั้น (ผมสั้นมาแรง)
4.จากที่เคยแสดงในเวทีใหญ่ รวมทั้งเวทีหอประชุมจตุรมุขที่พนมเปญกว้างกว่า 10 เมตร (ประมาณ 18 เมตรมั้ง) แต่เราจะกลับมาแสดงในห้องเล็กๆ (เท่าแมวดิ้นตายอย่าง) Crescent Moon space ที่กว้างแค่ 6-7 เมตร
5.อายุของผู้หญิง 4 คนนี้ (หมายเหตุ ข้อนี้ห้ามถาม ถึงถามนักแสดงก็จะไม่ตอบ)
6.มีโปสเตอร์แบบใหม่ล่าสุด (มายืนครบกันทั้ง 4 คนซะที)



หากอยากรู้ว่าพวกเธอทั้ง 4 คน จะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนอย่างไร ก็มาติดตามกันได้ในละคร "ไฟล้างบาป" วีคแรกของเดือนธันวาคมนี้ 5 รอบเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นนักแสดงทั้งหมดจะแตกตัวไปปฏิบัติภาระกิจอื่น




Sunday 15 November 2009

"ไฟล้างบาป" ละครเวทีในเดือนธันวาคม

พระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ การกลับมาอีกครั้งของ


ละครเวทีเรื่อง “ไฟล้างบาป"


เรื่องเพี้ยนๆของผู้หญิงสามคนที่พบว่าตัวเองตายและมาเจอกันในสถานที่ที่หนึ่ง ที่คาดเดาว่าคือนรก ทั้งสามคนต่างตั้งคำถามว่าทำไมพวกเธอจึงต้องมาที่นี่ เมื่อไม่ได้คำตอบ พวกเธอจึงร้องเรียกหาพระเจ้าแห่งโลกหลังความตาย ให้มาไขคำตอบและตัดสินว่าพวกเธอจะต้องอยู่ที่นี่ ไปสวรรค์ หรือ จะทำอย่างไรกับพวกเธอกันแน่?



"ไฟล้างบาป" เป็นละครที่พัฒนาจากโครงการ Mekong Performing Arts Laboratory 2006 ที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นโครงการฝึกฝนและแลกเปลี่ยนทักษะด้านการละครของศิลปินในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง แสดงครั้งแรกที่ Hong Ha Theatre ประเทศเวียดนาม เดือนกันยายน

กลับมาแสดงครั้งที่สอง ในงานเทศกาลละครกรุงเทพฯ 2006 ที่สวนสันติไชยปราการ ถนนพระอาทิตย์

และทัวร์ในอีก 10 มหาวิทยาลัยในปี 2007

กลับมาอีกครั้งเพื่อแสดงในงานเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009 ที่ประเทศกัมพูชา
และจะกลับมาแสดงอีกครั้ง
โดย
สุมณฑา สวนผลรัตน์, ฟารีดา จิราพันธุ์,
ศรวณี ยอดนุ่น และ สินีนาฏ เกษประไพ

แสดงวันที่ 3 – 7 ธันวาคม 2552
รอบเวลา 19.30 น. (ความยาว 45 นาที)

บัตรราคา 250 บาท (นักเรียน, นักศึกษา 200 บาท)

เพียง 5 รอบเท่านั้น
ที่ Crescent Moon Space

โทรจองบัตรได้ที่ 081 259 6906 และ 083 995 6040

Thursday 5 November 2009

Freeze the Dream

ช่วงนี้เป็นช่วงไฮซีซันของวงการละครเวที หลังจากช่วง อ่านสันติภาพ เป็นต้นมา เรายุ่งกันมากจนไม่มีเวลาอัพเดท ขอติดบรรยากาศน่าประทับใจของ อ่านบทละคร อ่านสันติภาพ ไว้ก่อน วันนี้อัพเดทว่าละครโรงเล็กของเราเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลละครกรุงเทพ 2552 มีละครเรื่อง "ดับฝันวันขังเธอ" แสดงวันนี้เป็นวันแรก รายละเอียดดังนี้


New theatre Society นำเสนอละครเวทีเรื่องใหม่
กับ ผู้กำกับหน้าใหม่ ช่อลดา สุริยะโยธิน (ออยล์)


หยุดฝันวันขังเธอ
Freeze the Dream

ก่อนวันขึ้นปีใหม่ ผู้หญิง 5 คนได้กระทำการจับผู้ชายขังไว้ในห้องน้ำ เพื่อล้างแค้น
บางคนถูกทิ้ง บางคนถูกหักหลัง เป็นเหตุให้เกิดเรื่องราวต่างๆมากมาย
ทั้งโหด มัน ฮา หวาน ซึ้ง เศร้า เคล้าปนกัน
สิ่งที่ผู้หญิงไม่เคยรู้ หรือผู้ชายไม่เคยได้ยิน ก็จะได้รับการเปิดเผยนะที่นี้


นำแสดงโดย
ปอรรัชม์ ยอดเณร , กุสุมา เทพารักษ์, เบญจวรรณ โอฬาร, อาภาวี เศตะพราหมณ์, ชณัตตาฎา ปฐมนุพงศ์ และ ต่อตระกูล จันทิมา

วันที่ 4-6 พ.ย. 52 เวลา 19.30 น.
วันที่ 7-8 พ.ย. 52 เวลา 14.00 น.
ณ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี ซ. ทองหล่อ
บัตรราคา 300 บาท ทุกที่นั่ง

จองบัตรที่ 081-844 7828


Friday 23 October 2009

อ่าน วันซ้อมใหญ่

ซ้อมใหญ่ "อ่านสันติภาพ"

วันนี้แล้ว เป็นวันซ้อมใหญ่ของ "อ่านสันติภาพ" จะเป็นวันพบกันหมดของทุกชิ้นงานทั้ง 12 ชิ้น เราจะซ้อมทั้งหมดไปจนดึก คงเข้มข้นมากเพราะครั้งนี้แต่ละคนพกนักอ่านมาอีกหลายคน ประมาณว่าเกิน 30 คน มารวมตัวกันที่สเปซเล็กๆของเรา Crescent Moon space

ส่วนยอดผู้ชมที่จองที่นั่งเข้ามาก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้รอบวันเสาร์เต็มแล้ว (เราเสริมที่นั่งแถวหน้าได้อีก ประมาณ 10 ที่) ส่วนรอบวันอาทิตย์ยังไม่เต็มค่ะ

หากใครสนใจลองโทรมาถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 081 259 6906

แล้วเราพบกันในรอบแรก วันเสาร์ที่ 24 นี้ เวลา 13.00 น. และขอเชิญร่วมงานพิธีเปิดงาน "เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์" ตอนเวลา 14.00 น. เป็นต้นไป

ในงานนี้มีการแสดงภาพศิลปะ การแสดงสด ละคร และคอนเสริ์ตให้ดูอีกหลายอย่าง ซึ่งน่าสนใจมากที่งานนนี้รวมศิลปินรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่มาเจอกัน
งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะกับสังคม "อภิวัฒน์สู่สันติ" (Change to Peace) ในวาระครบรอบชาตกาล 110 ปี ปรีดี พนมยงค์

Tuesday 20 October 2009

อ่านสันติภาพ ในข่าวเช้า

เมื่อวานตอนเช้าเราไปให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ “อ่านสันติภาพ” ที่ข่าวเช้า ของทีวีไทยมา เปิดด้วยตัวอย่างการอ่าน “ความว่าง” โดย กมลภัทร อินสร และ ภูมิฐาน ศรีนาคจากคำท่านพุทธทาส และ บทกวีของ Nazim Hikmet ชื่อ “I Come and Stand at Every Door”

.....

ธรรมชาติเป็นหัวใจ

ไม่มีครู หรือชั้นเรียนที่ไหนที่ดีไปกว่าธรรมชาติเอง


“ใบไม้แห้ง เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง จิตที่ไม่มีตัวกูของกู”
ที่นี่ ต้นไม้ก็พูดได้ ก้อนหินก็พูดได้
เม็ดกรวด หรือ มด แมลงอะไรต่างก็พูดได้


I come and stand at every door.
But no one hear my silent tread
I knock and yet remain unseen
For I am dead, For I am dead.

.....

ยกมาเป็นตัวอย่างสั้นๆ มาดูเต็มๆกันได้ในวันเสาร์ อาทิตย์นี้ หลังจากนั้นเป็นการพูดคุย โดยมีพิธีกร คุณอาร์ต พานิชนาฏ การสัมภาษณ์ สินีนาฏ และ กมลภัทร ว่าทำไมถึงจัดงาน อ่านสันติภาพ และการอ่านบทละครครั้งนี้น่าสนใจตรงไหน

เอาเป็นว่าต้องมาดูเองแล้วล่ะว่าน่าสนใจตรงไหน แล้วเรามาคุยกัน



Sunday 18 October 2009

รอบการอ่านบทละคร “อ่านสันติภาพ”


ใครอยู่รอบไหนกันบ้างใน
"อ่านสันติภาพ"

มาแล้วโปรแกมการอ่าน มาตามดู ตามมาจองที่นั่งกันได้



วันเสาร์ 24 ตุลาคม 2552 (รอบเวลา 13.00 น.)

1. “แพะในหมู่บ้าน” โดย สายฟ้า ตันธนา (คาดว่า 15 นาที)
2. “You Must Love Me” โดย วสุรชต อุณาพรหม (คาดว่า 15 นาที)
3. “จานบิน” โดย วรัญญู อินทรกำแหง (คาดว่า 15 นาที)
4. “นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน” โดย ผดุงพงศ์ ประสาททอง (คาดว่า 15 นาที)”
5. “อัสลาม” โดย ฟารีดา จิราพันธุ์ และ คอลิด มิดำ (คาดว่า 15 นาที)
6. “Einstein quotes” โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์ (คาดว่า 15 นาที)

วันเสาร์ 24 ตุลาคม 2552 (รอบเวลา 15.30 น.)

1. “บ้านที่แท้จริง” โดย จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ และ ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร (คาดว่า 15 นาที)
2. “ข่าวที่บรรณาธิการขว้างทิ้ง” โดย วิชย อาทมาท (คาดว่า 15 นาที)
3. “วันหนึ่งในคืนฤดูหนาว” โดย สุกัญญา เพี้ยนศรี (คาดว่า 15 นาที)
4. “เพชรฆาต” โดย ภาวิณี สมรรคบุตร (คาดว่า 15 นาที)
5.”ฝูงมนุษย์” โดย ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ (คาดว่า 15 นาที)
6. “ความว่าง” โดย กมลภัทร อินทรสร (คาดว่า 15 นาที)


วันอาทิตย์ 25 ตุลาคม 2552 (รอบเวลา 13.00 น.)

1. “บ้านที่แท้จริง” โดย จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ และ ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร (คาดว่า 15 นาที)
2. “ข่าวที่บรรณาธิการขว้างทิ้ง” โดย วิชย อาทมาท (คาดว่า 15 นาที)
3. “วันหนึ่งในฤดูหนาว” โดย สุกัญญา เพี้ยนศรี (คาดว่า 15 นาที)
4. “เพชรฆาต” โดย ภาวิณี สมรรคบุตร (คาดว่า 15 นาที)
5.”ฝูงมนุษย์” โดย ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ (คาดว่า 15 นาที)
6. “ความว่าง” โดย กมลภัทร อินทรสร (คาดว่า 15 นาที)


วันอาทิตย์ 25 ตุลาคม 2552 (รอบเวลา 15.30 น.)

1. “แพะในหมู่บ้าน” โดย สายฟ้า ตันธนา (คาดว่า 15 นาที)
2. “You Must Love Me” โดย วสุรชต อุณาพรหม (คาดว่า 15 นาที)
3. “จานบิน” โดย วรัญญู อินทรกำแหง (คาดว่า 15 นาที)
4. “นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน” โดย ผดุงพงศ์ ประสาททอง (คาดว่า 15 นาที)
5. “อัสลาม” โดย ฟารีดา จิราพันธุ์ และ คอลิด มิดำ (คาดว่า 15 นาที)
6. “Einstein quotes” โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์ (คาดว่า 15 นาที)

เรื่องที่ถูก อ่าน “อ่านสันติภาพ”

กับทำไมพวกเขาจึงอ่าน


ขอโทษทีที่ให้รอนาน... วันนี้มาแล้วพร้อมกับเรื่องที่พวกเขาเลือกอ่าน ใน "อ่านสันติภาพ" จัดแสดงการอ่านในวันเสาร์-อาทิตย์หน้านี้แล้ว วันละสองรอบ



ดุจดาว วัฒนปกรณ์
นำเสนอการอ่านเรื่อง
จาก Einstein quotes กับบางส่วนมาจากหนังสือชื่อว่า Imagination is more important than knowledge และอีกบางส่วนมาจากการค้นคว้าเองเพิ่มเติม

เลือกเรื่องนี้เพราะ
นักฟิสิกส์ที่เกิดก่อนข้าพเจ้าหนึ่งร้อยปีพอดิบพอดี สามารถแสดงความคิดเกี่ยวกับโลกได้สอดรับกับตัวดิฉันในวิถีปัจจุบันได้อย่างน่าอัศจรรย์ มิน่า เขาถึงเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ นี่ไม่ใช่เรื่องแต่ง ประดิษฐ์ ทำให้ดูสวยงามด้วยเทคนิคเชิงศิลป์ หากแต่ ในทรรศนะข้าพเจ้า กระบวนการค้นคว้าและคิดเชิงสร้างสรรค์ทำให้ทรรศนะจริงของนักฟิสิกส์คนนี้มีความสวยงามในตัวของมันเองอย่างหมดจด



จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ และ ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
นำเสนอการอ่านเรื่อง
“บ้านที่แท้จริง” จากหนังสือชื่อเดียวกันของหลวงพ่อชา สุภทโท
เลือกเรื่องนี้เพราะ
ชอบ ในเรื่องนี้พูดถึงการสร้างสันติภาพภายในของมนุษย์ชอบเพราะเชื่อว่าสันติภาพคือธรรมชาติของมนุษย์


วรัญญู อินทรกำแหง
นำเสนอการรอ่านเรื่อง
“จานบิน” Collage ปะติด บทสัมภาษณ์ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา บางตอนจากนวนิยายของทินกร หุตางกูร บทสัมภาษณ์ของ ศ.ดร.นพ. เทพนม เมืองแมน และเอกสารรายงานขององค์กร USO : Universal Spiritual Organization และบทบันทึกจากการเดินทางไปทำบทความสารคดีของหน่วยงานนี้ที่แก่งกระจาน
เลือกเรื่องนี้เพราะ
เกิดจากการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้คน และการทำบทความสารคดี แรงบันดาลใจจากงานเขียนของทินกร หุตางกูร ทำให้อยากนำเสนองานทดลองปะติด บทสัมภาษณ์และบทความสารคดีเข้ากับเรื่องราวในนวนิยาย



วสุรัชต อุณาพรหม
นำเสนอการอ่าน
บทเพลงในละคร West End เรื่อง Evita ซึ่งเป้นบทเพลงที่สะท้อนถึงความคิดภายในและความทรงจำของ อีวา เปรอง ความทะเยอทะยานที่จะมีชีวิตอยู่ และความปรารถนาที่จะเป็นที่รัก You Must Love Me
เลือกเพลงนี้เพราะ
ประโยคนี้คงไม่ใช่เพียง อีวา เท่านั้นที่อยากจะพูดออกมา แต่คงเป็นประโยคที่ทุกๆคนอยากจะบอกและปรารถนาในชีวิต ความปรารถนาในรักซึ่งจะสร้างความสงบ โดยจะนำเสนอการตีความในรูปแบบ Performance and Installation


สุกัญญา เพี้ยนศรี
เสนอการอ่านเรื่อง
"วันหนึ่งในฤดูหนาว ณ สำนักงานป้องกันตนแห่งชาติ” จากรวมเรื่องสั้น “ค่ำคืนนี้” เขียนโดย เอคุนิ คาโอริ แปลโดย น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ
เลือกเรื่องนี้เพราะ
คำว่า“สันติภาพ” เป็นคำที่เหมือนจะเข้าใจง่าย หรืออธิบายได้ แต่ให้รู้สึกลึกซึ้งเท่ากับคนรุ่นก่อนๆก็คงไม่เท่าค่ะ สุก็เลยเลือกเรื่องที่ชอบ เข้าใจง่าย ไม่ใกล้ไม่ไกล เรื่องชู้ๆสาวๆ (เหอๆ) ชอบ..... เรื่องราวของผู้หญิงสองคน กับความขัดแย้งที่บอบบางค่ะ ชอบเรื่องราวที่ไม่ซับซ้อนมาก เข้าใจง่าย และที่สำคัญมันเป็นเรื่องความขัดแย้งของ “ผู้หญิง”ด้วยกันเอง



วิชย อาทมาท
นำเสนอการอ่านเรื่อง
เรื่องสั้นชื่อ “ข่าวที่บรรณาธิการขว้างทิ้ง” จากหนังสือเรื่อง “เหว่ ...ใครใช้มึงคิดกบฏ” ของ อิศรา อมันตกุล
เลือกเรื่องนี้เพราะ
เป็นเรื่องเล็กๆในสงครามซึ่งคนที่ไม่เห็นกับตาก็จะไม่รู้สึกว่ามันสำคัญ







ฟารีดา จิราพันธุ์ และ คอลิด มิดำ
นำเสนอการอ่าน
“อัสลาม” บทเพลงกับคำทักทายของมุสลิม และ จากบทเพลง Imagine ของ John Lennon
เลือกเพราะ
ชอบเพลงนี้ และคิดว่า Imagine ใกล้กับคำว่าสันติภาพมากๆสันติภาพ
ImagineImagine = Imagine ที่ไม่สิ้นสุด
Imagine ที่ไม่สิ้นสุด = Zero



ผดุงพงศ์ ประสาททอง
นำเสนอเรื่อง
“นางนวล กับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน” ผู้เขียนคือ หลุยส์ เซปุล์เบดา Luis Sepulvedaแปลโดย สถาพร ทิพยศักดิ์ จะนำเนื้อเรื่องมาตัดต่อและเล่าใหม่
เลือกเรื่องนี้เพราะ
พอได้โจทย์เร่องแรกที่ 'ปิ๊งแวบ' เข้ามาให้หัว ก็คือเรื่องนี้ล่ะ






กมลภัทร อินทรสร
นำเสนอเรื่อง
“ความว่าง” จากหนังสือ “ท่านพุทธทาสกับอำนาจวัตถุนิยม” ของท่านพุทธทาส และบทกวี "I Come and Stand at Every Door" ของ Nazim Hikmet กวีชาวตุรกี
เลือกเรื่องนี้เพราะ
ชอบที่ท่านเขียนไว้ในบันทึกว่า “สันติภาพที่แท้จริงนั้น เกิดขึ้นได้ จากความว่าง” พอนึกถึงความว่าง แล้วนึกถึงภาพที่เคลื่อนไหวของธรรมชาติแต่ว่าจับต้องไม่ได้
ลึกลงไป ในจิตตน อันขื่นข้น นอกเหนือสิ่งสำคัญชีวิตขั้นพื้นฐาน คน ต้องการอะไร ตัณหา ราคะ มานะ ถ้าแท้จริง แล้ว ไม่มีอะไรจริงไปกว่า สิ่งสมมติ ที่สร้างและทำลายทุกสิ่ง ความเชื่อว่า มี คือสิ่งลวงตา เพียงเห็นความจริง ว่าไม่มี ความว่าง คือสันติภาพ



ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
นำเสนอเรื่อง
"ฝูงมนุษย์ กับ Mr. Wing" จากบทประพันธ์ของ คุณช่วง มูลพินิจ – ฝูงมนุษย์ และ Mr. Wing ของ Jimmy Liao
เลือกเพราะ
ฝูงมนุษย์ ฝูงนี้ มีปีกที่จะบิน ... บินไปไหน




สายฟ้า ตันธนา
อ่านเรื่อง
จากเรื่องสั้น เรื่อง "แพะในหมู่บ้าน" ของ วรภ วรภา จากนิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน "ช่อการะเกด ๔๙" ฉบับเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๒
เลือกเรื่องนี้เพราะ
ความไม่สงบที่อยู่ภายในใจของผู้หญิงคนหนึ่ง มีทีท่าจะขยายใหญ่กลายเป็นเรื่องของหมู่บ้าน





ภาวิณี สมรรคบุตร
อ่านเรื่องสั้น
“เพชรฆาต” ของ วินทร์ เลียววารินทร์ จากหนังสือรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่รียกว่าคน
เลือกเพราะ
เป็นเรื่องที่ประทับใจตอนที่ได้อ่าน ในเรื่องของคนสองคนต่างสถานะแต่มีบางสิ่งบางอย่างอย่างเหมือนกัน




งานนี้ชมฟรีไม่เก็บบัตรสำหรับคนรักละครไม่ควรพลาด
สำรองที่นั่งได้แล้ววันนี้ โทร 083 995 6040 และ 081 259 6906
ส่วนรอบการอ่านโปรแกมออกแน่ๆในวันพรุ่งนี้