Friday, 31 May 2013
ภาพบรรยากาศพูดคุยหลังละคร โปรเจค 1/4
"โปรเจค 1/4"
...เส้นทางระหว่างเขาและเธอ...
เราจัด Post Talk พูดคุยหลังละคร กับ ผู้เขียนบท ผู้กำกับทั้ง 4 เรื่อง และแขกรับเชิญพิเศษ (เฉพาะรอบวันเสาร์) เราจัดสองเสาร์
เสาร์แรก วันที่ 25 พ.ค. 56 พูดคุยกับแขกพิเศษ อ.ภาสกร อินทุมาร คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
ส่วนครั้งต่อไปคือเสาร์ที่ 1 มิ.ย. 56 แขกพิเศษของเราคือ ครูหนิง อ.พันพัสสา ธูปเทียน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หากท่านผู้ชมท่านใดสนใจ ขอเชิญอยู่ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเราได้ค่ะ
Labels:
โรงละครพระจันทร์เสี้ยว,
ละครเวทีโรงเล็ก
Sunday, 19 May 2013
สัมภาษณ์ผู้เขียนบทโปรเจค 1/4
อรดา ลีลานุช ผู้เขียนบทละครสั้นสี่เรื่อง ใน โปรเจค ¼
สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย สินีนาฏ เกษประไพมาทำความรู้จักกับผู้เขียนบทละครของ “โปรเจค ¼ เส้นทางระหว่างเขาและเธอ” ที่กำลังจะเปิดแสดงในวันพฤหัวหน้าที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว โปรเจคนี้เป็นการทำงานกับบทละครสั้นสี่เรื่องของผู้เขียนบทที่ชื่อ อรดา ลีลานุช ประวัติการทำงานละครของอรดาเริ่มที่มีความสนใจละครเวทีและเข้าร่วมเวิร์คชอปละครเวทีตอนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อที่ St. Olaf College ที่อเมริกา และจบปริญญาตรีทางด้าน Theatre เริ่มเขียนบทละครเวทีตอนศึกษาระดับปริญญาโทที่ Miami University และจากนั้นก็เขียนบทละครมาตลอด หลังจากเรียนจบและกลับมาเมืองไทยก็มีผลงานที่ถูกจัดแสดงไปแล้วสองเรื่อง คือ “A Love Song” แสดงที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว และ “หญิงสาวกับดวงดาว” แสดงที่ The Reading Room
นาด : ตอนที่ไปเรียนต่อที่อเมริกา ทำไมถึงเลือกเรียนด้านละคร
อรดา : ตอนเรียนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ออได้ทุนไปเรียนต่อที่ เซ็นต์ โอลาฟ หนึ่งปี เขาบอกให้เรียนอะไรก็ได้ แต่โอนหน่วยกิจไม่ได้ เพราะฉะนั้นอยากเรียนอะไรก็เรียนเลย ออก็เลยลงเรียนวิชาละคร เพราะอยากเรียน
นาด : ทำไมล่ะ ทำไมอยากเรียนละคร
อรดา : เพราะว่าตอนเด็กๆน้านก (อ.ศรวณีย์ สุขุวาท อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มช.) ชอบพาไปดูละคร ส่วนใหญ่ก็เป็นละครของนักศึกษา มช.และตอนนั้นมี วาว คอมปานี ก็รู้สึกว่าละครมันเป็นอะไรที่มหัศจรรย์มาก ก็เลยสนใจ แล้วต่อมาก็ลงเรียนวิชาตัวหนึ่งสื่อสารมวลชน เป็นวิชาละครของครูจิ (ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ คณะการสื่อสารมวลชน มช.) แต่มันมีตัวเดียว พอได้ไปต่อที่อเมริกา ก็เลยถือโอกาสเรียนละครซะเลย เพราะคิดว่าพอกลับมาก็เรียนคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ก็เรียนละคร และอาจได้ทำละครด้วย พอเรียนไปได้ปีนึง เขาก็ถามเราอีกว่าจะเอาทุนอีกไหม แต่ถ้าเอาทุนเพิ่ม กลับมาเมืองไทยก็จะโอนไม่ได้ แต่หน่วยกิตของเมืองไทยนี่เราโอนไปที่โน่นได้ พอไปคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาก็ปรากฏว่าไม่มีเครดิตพอที่จะจบคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษที่โน่นได้ แต่มีเครดิตพอที่จะจบละครได้ รวมระยะเวลาในการเรียนทั้งหมดสี่ปีครึ่ง เรียนละครก็สนุกดี
นาด : แล้วทำไมถึงสนใจเขียนบท มันเริ่มได้ยังไง
อรดา : จริงๆแล้วอออยากเขียนหนังสือ เพราะตอนเป็นเด็กออชอบอ่านหนังสือ แต่ว่าลองเขียนแล้ว ออเขียนหนังสือไม่ได้ ไปลงวิชา creative writing แล้วก็ต้องดรอปทิ้ง เพราะเขียนไม่ได้ เขียนไม่ออกเพราะเขียนบรรยายไม่เป็น พอไปเรียนที่ ไมอามี่ ก็ไม่ได้คิดจะเรียนเขียนบท แต่เพื่อนๆเค้าไปลงเรียนกัน สอนโดยอาจารย์โฮเวิรด เราก็เลยไปลงบ้างเล่นๆขำๆ เป็นวิชาเลือกในเทอมแรก พอไปเรียนก็ปรากฏว่าเป็นครั้งแรกที่เขียนอะไรออกมาได้ คือไดอะล็อกมันไหลออกมาเองเลย แล้วเราก็รู้สึกมหัศจรรย์อีกแล้ว ตอนแรกที่ไปก็ไม่ได้กะเรียนเขียนบท แต่แล้วไปๆมาๆก็เลยกลายเป็นนักศึกษาเรียนเขียนบท
นาด : บทที่ออเขียนเป็นแนวแบบไหน ถูกจัดแสดงแล้วออกมาเป็นยังไงบ้าง ออประทับใจเรื่องไหน ลองยกมาเป็นตัวอย่างสักเรื่อง
อรดา : มันมีการพัฒนามาหลายเฟส คืออาจารย์ของอออสจาย์ฮาเวิร์ดนี่เค้าไม่สอนแบบให้สตรัคเจอร์ แต่ให้เราเขียนเอง ตอนแรกๆมันจะออกแนวโรแมนติคคอมเมดี้หน่อย แต่จริงๆแล้วเราชอบอ่านหนังสือแนวจิตวิญญาณ พอบทละครเรื่องที่สองสามมันก็เลยเป็นตัวละครที่ไม่ใช่คน มันเริ่มเป็นวิญญาณ มันเป็นสัญลักษณ์ หรือตัวละครหลังความตาย ก็ถูกจัดแสดงในมหาวิทยาลัย และในเฟสติวัล เช่น One Act Play Festival ทำนองนั้น ที่อเมริกามันจะมีเฟสติวัลต่างๆเยอะมาก ก็จะได้เลือกไปลง
นาด : แล้วฟีตแบ็คจากผู้ชม และผู้กำกับที่ทำงานจากบทของออเป็นยังไงบ้าง
อรดา : คนดูส่วนใหญ่ก็เป็นฝรั่งน่ะ คนดูเค้าก็ชอบ เค้าว่ามันแปลกดี ตอนที่ไปเรียน ป.เอก ก็เริ่มพัฒนาสไตล์ของเราไปเรื่อยๆ ส่งไปเฟสต่างๆก็จะได้รับเลือกให้เล่น
นาด : นอกจากละครสั้นแล้ว อรดาได้เขียนบทละครยาวๆแบบชั่วโมงหรือชั่วโมครึ่งบ้างไหม
อรดา : มีค่ะ ตอนนี้มีสามเรื่อง แต่บทละครยาวนี้ยังไม่เคยถูกจัดแสดงในบ้านเรา
นาด : งั้นถามถึงละครสั้นของออสองเรื่องที่จัดแสดงในบ้านเราแล้ว คือ A Love Song และ หญิงสาวกับดวงดาว ว่าเป็นอย่างไรบ้างในความรู้สึกของออ เมื่อเห็นการตีความของผู้กำกับผ่านการจัดแสดง
อรดา : อย่างแรกเลยออเขียนบทเป็นภาษาอังกฤษ พอเอามาทำในบ้านเรา ก็ต้องแปลเป็นภาษาไทย ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมันไม่เหมือนกัน แล้วตอนเป็นบทภาษาอังกฤษมันมีเมโลดี้ของมันอยู่ พอแปลเป็นภาษาไทย บางอย่างมันก็หายไปและบางอย่างมันก็เพิ่มเข้ามา มันก็เลย... คือตอนแรกรู้สึกแปลกๆ ตอนแรกก็พยายามจะแปลภาษาไทยให้เหมือนภาษาอังกฤษที่สุด แต่ไปๆมาๆคือ ตอนมาทำโปรเจค ¼ นี้เลยล่ะ ถึงรู้ว่าบางทีมันอาจจะไม่เวริ์คเท่าไหร่ เพราะมันเป็นละครพูดมันไม่ใช่วรรณกรรมที่เขียนติดอยู่บนแผ่นกระดาษเท่านั้น
นาด : นอกจากเรื่องของภาษาล่ะ ออรู้สึกอย่างไรที่เห็น หญิงสาวกับดวงดาว จัดแสดงใน Page 2 Stage และ A Love Song ที่ถูกนำเสนอในงาน 10 Minute Play
อรดา : ก็รู้สึกอยู่แล้วล่ะว่ามันก็ต้องออกมาเป็นแนวสไตไลซ์ เป็นอะไรทำนองนี้ ตอนที่จัดแสดงที่อเมริกาก็ออกมาแนวสไลซ์อยู่แล้ว มันก็จะไม่ค่อยแตกต่างอะไรมาก
นาด : ตอนแรกที่เราเริ่มคุยกันว่าเราจะเอาบทละครสั้นทั้ง 4 เรื่องของออมาทำโปรเจค ¼ ประกอบไปด้วยเรื่อง “นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก” กำกับโดย เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ “สายน้ำกับสายลม” กำกับโดย สุกัญยา เพี้ยนศรี “เสียงสะท้อนจากความเงียบ” และ “ที่พักใจ” กำกับโดย ศิริธร ศิริวรรณ กับโปรเจคนี้ออคิดอะไรหรือคาดหวังอะไรไว้บ้าง หรืออยากจะเห็นอะไร
อรดา : ก็อยากจะเห็นว่ามันจะเป็นยังไง คือบางเรื่องนี่เคยแสดงที่โน่นแล้ว เรื่อง Let Me Hear Your Voice (หรือ เสียงในความเงียบ ที่ครั้งนี้ปุ๋ยกำกับ) แสดงสองครั้งแล้ว และก็ไม่เวริ์คทั้งสองครั้ง อ้อ แล้วก็อีกเรื่องคือ Sanctuary (ที่พักใจ ที่ครั้งนี้น้องอิงอิงกำกับ)
นาด : ทำไมล่ะ อะไรที่ไม่เวริ์ค
อรดา : Let Me Hear Your Voice ตอนที่ถูกจัดแสดงที่โน่น นักแสดงลืมบท พอขึ้นต้นแล้วก็ลงจบไปเลย (เสียงหัวเราะ) จริงๆ เพราะบทมันจะเป็นแบบพูดวนๆ ดังนั้นบทตรงกลางมันเลยหายไป แล้วตอนนั้นก็แสดงในเฟสติวัล เราก็เลยทุกข์ระทมมาก
นาด : แสดงในเฟสติวัลอะไร
อรดา : เป็นเฟสชื่อ 24 Hour Festival ที่เท็กซัส แล้วออก็ไม่รู้ว่าผู้กำกับตีความอะไรกันแน่ ความหมายที่มันอยู่ในบทมันหายไปหมดเลย เค้าไม่สนใจเลย แล้วต่อมาก็ได้รับเลือกไปใน Mid America Theatre Conference เป็นการประชุมทางวิชาการละคร แบบรวมทุกอย่างเลย ไม่ใช่แค่เรื่องบทอย่างเดียว บทเรื่อง Let Me Hear Your Voice ก็ได้จัดอ่านแบบอ่านบทละครแล้วปรากฏว่ามันเวริ์ค แล้วก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่มาร่วมประชุมเค้าชอบบท ก็เลยขอบทออไปทำที่ด๊านซ์คอมปานีของเขาที่วิสคอนซิล แต่อันนั้นเป็นแบบด๊านซ์มูฟเม้นท์ เราก็เลยอยากรู้ว่าถ้าบทได้ผู้กำกับมาทำงานกับมันจริงๆแล้วมันจะเป็นยังไง ส่วนเรื่อง Sanctuary ก็แสดงใน One Act Play Festival ที่เท็กซัส มันก็เวริ์คตามบทของมัน ผู้กำกับก็ตีความตามบทค่อนข้างเป๊ะ ไดเรคชั่นเค้าจะแตกต่างจากน้องอิงอิงที่ทำในครั้งนี้ คือเค้ามีเตียง อยู่ตรงกลาง แล้วก็มีเก้าอี้สองตัว คือมันเหมือนกับว่าคนคู่นี้เค้าแชร์สเปซกัน แต่ว่าเค้าไม่พูดคุยกัน
นาด : แล้วมาครั้งนี้ล่ะ ออคาดหวังอะไร หรือไม่คาดหวัง
อรดา : ไม่ถึงกับคาดหวังแต่อยากเห็นว่ามันจะออกมาเป็นยังไง แล้วเท่าที่ได้ดูแล้ว ออเห็นว่ามันมีความ real และก็การนำเสนอการใช้พื้นที่เวทีของครั้งนี้มีการใช้เยอะกว่า ตอนที่จัดแสดงที่โน่นฝรั่งเค้าจะตามบทเป๊ะๆเลย บทมีอะไรก็มีแค่นั้น แล้วตัวละครก็แค่เดินๆ มีแค่นั้น แต่ครั้งนี้ในโปรเจคนี้ แต่ละเรื่องตัวละครมีอะให้ทำเยอะกว่า และก็เห็นการตีความข้างในเยอะกว่าเราจะเห็นได้จากรีแอคชั่นของตัวละคร
นาด : งั้นเราขอถามต่อเลยดีกว่า ว่าทั้งสี่เรื่องที่ออได้ดูซ้อมไปบ้างแล้วนี่ ออเห็นอะไรบ้างในแต่ลละเรื่อง
อรดา : ขอพูดถึง “สายน้ำกับสายลม” ก่อนเพราะเรื่องนี้ไม่เห็นเพราะออเล่นเอง แต่เท่าที่รู้สึกคือ มันเป็นภาพมาก มันเหมือน stage composition มากเลย คือเราเล่นเองถึงรู้ว่ามีการวางภาพไว้ และเป็น moment แต่ละ moment แล้วก็มีการเข้าออกโลกแห่งความจริงและโลกในความคิด ที่มันจะอยู่ด้วยกันบางทีมันก็ซ้อนๆกัน
ส่วน “นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก” ก็เห็นการตีความแบบใหม่ที่เป็นโลกหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากเราที่ไม่คิดว่ามันเป็นโลกหลังความตาย แต่ที่จากได้เห็นการซ้อมเรื่องของเบญจ์และปุ๋ยก็รู้สึกดีและแปลกใจในทางที่ดีที่ว่า ผู้กำกับนักแสดงใช้คำพูดของเราทุกคำแต่มันกลายเป็นเรื่องอื่น(ที่ไม่เหมือนเราคิดไว้)ได้ด้วย ซึ่งรู้สึกมหัศจรรย์ (อีกแล้ว) นี่คือสองเรื่องที่เห็นชัดมาก มีคนเคยบอกว่า อ้อ พี่ภาส (อ.ภาสกร อินทุมาร) นี่ล่ะ เคยบอกว่าบทของออมันมีเอกลักษณ์มาก ใครทำบทออมันก็จะออกมาเป็นบทของออ แต่พอมาดูเรื่อง “เสียงในความเงียบ” ที่ปุ๋ยกำกับ ออมีความรู้สึกว่ามีความเป็นบทของออและมีความเป็นตัวของปุ๋ยเด่นชัดมาก
ส่วนเรื่อง “ที่พักใจ” ที่อิงอิงกำกับ ที่เห็นจากการซ้อมก็จะชอบแต่ละแอ็คชั่นของนักแสดง หรือ business บนเวทีมันมีความหมายมาก เราเห็นแบ็คกราวด์ตัวละครที่มีเยอะมากกว่าที่เราให้ไว้แล้วมันเห็นได้ชัดจากการดูซ้อม
นาด : เอาล่ะ เราก็คงต้องมาคอยรอดูกันว่ามันจะเป็นยังไงกันแน่เมื่อซ้อมเสร็จทั้งกระบวนการและเสนอต่อหน้าผู้ชม เราจะมีรอบการพูดคุยกับแขกพิเศษและผู้ชมด้วยสองรอบ เราน่าจะได้เสียงสะท้อนและมุมมองต่างเพิ่มอีก น่าตื่นเต้นเน๊าะ
หากผู้ชมสนใจติดตามชมละครสั้นสี่เรื่องของ “โปรเจค ¼ เส้นทางระหว่างเขาและเธอ” ได้ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว โรงละครขนาดมินิ 30 ที่นั่ง อยู่ในอาคารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ แสดงวันที่ 23-26 และ 30-31 พ.ค. และ 1-2 มิ.ย. รอบเวลา 19.30 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร 081 929 4246 และ 084 174 2729 หรือ
https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
Saturday, 18 May 2013
Project 1/4 : Post Talk
“โปรเจค ¼ เส้นทางระหว่างเขาและเธอ”
จะมี Post Talk พูดคุยหลังละคร โดย ผู้เขียนบท ผู้กำกับทั้ง 4 เรื่อง และแขกพิเศษ (เฉพาะรอบวันเสาร์)
เสาร์ที่ 25 พ.ค. 56 ร่วมพูดคุยกับแขกพิเศษ อ.ภาสกร อินทุมาร คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
เสาร์ที่ 1 มิ.ย. 56 ร่วมพูดคุยกับแขกพิเศษ อ.พันพัสสา ธูปเทียน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ขอเชิญชวนชมละครและร่วมพูดคุยกับเราได้ค่ะ ^^
Thursday, 2 May 2013
โปรเจค 1/4
พระจันทร์เสี้ยวการละคร เสนอ ละครแพ็คสี่เรื่อง
…เส้นทางระหว่างเขาและเธอ…ที่ริมขอบความฝันกับความจริง…
โปรเจค 1/4
4 ผู้กำกับ 1 นักเขียนบท กับละครสั้น 4 เรื่อง
ที่พักใจ
สายน้ำกับสายลม
นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก
เสียงสะท้อนจากความเงียบ
บทละครโดย อรดา ลีลานุช
กำกับโดย
รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ, สุกัญญา เพี้ยนศรี, เบญจ์ บุษราคัมวงศ์, ศิริธร ศิริวรรณ
แสดงวันที่ 23-26, 30-31 พ.ค. และ 1-2 มิ.ย. 2556
รอบเวลา 19.30 น.
ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
บัตรราคา 350 บาท
Early Bird 300 บาท ***(โอนเงินก่อน 15 พฤษภาคม)***
จองบัตรโทร 081 929 4246 และ 084 174 2729
https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
……………………………..
แสดงโดย
“ที่พักใจ”
นักแสดง : อาคีรา โหมดสกุล, เกรียงไกร ฟูเกษม
ผู้กำกับ : ศิริธร ศิริวรรณ
“สายน้ำกับสายลม”
นักแสดง : อรรถพล อนันตวรสกุล, อรดา ลีลานุช
ผู้กำกับ : สุกัญญา เพี้ยนศรี
“นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก”
นักแสดง : ณัฎฐนันท์ ประเสริฐรัสมี,เบ็น โกศลศักดิ์
ผู้กำกับ : เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
“เสียงสะท้อนจากความเงียบ”
นักแสดง : วรุตม์ เข็มประสิทธิ์, เววิรี อิทธิอนันต์กุล
ผู้กำกับ : รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
…เส้นทางระหว่างเขาและเธอ…ที่ริมขอบความฝันกับความจริง…
โปรเจค 1/4
4 ผู้กำกับ 1 นักเขียนบท กับละครสั้น 4 เรื่อง
ที่พักใจ
สายน้ำกับสายลม
นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก
เสียงสะท้อนจากความเงียบ
บทละครโดย อรดา ลีลานุช
กำกับโดย
รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ, สุกัญญา เพี้ยนศรี, เบญจ์ บุษราคัมวงศ์, ศิริธร ศิริวรรณ
แสดงวันที่ 23-26, 30-31 พ.ค. และ 1-2 มิ.ย. 2556
รอบเวลา 19.30 น.
ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซ.ทองหล่อ)
บัตรราคา 350 บาท
Early Bird 300 บาท ***(โอนเงินก่อน 15 พฤษภาคม)***
จองบัตรโทร 081 929 4246 และ 084 174 2729
https://www.facebook.com/CrescentMoonTheatre
……………………………..
แสดงโดย
“ที่พักใจ”
นักแสดง : อาคีรา โหมดสกุล, เกรียงไกร ฟูเกษม
ผู้กำกับ : ศิริธร ศิริวรรณ
“สายน้ำกับสายลม”
นักแสดง : อรรถพล อนันตวรสกุล, อรดา ลีลานุช
ผู้กำกับ : สุกัญญา เพี้ยนศรี
“นี่ไม่ใช่บทเพลงรัก”
นักแสดง : ณัฎฐนันท์ ประเสริฐรัสมี,เบ็น โกศลศักดิ์
ผู้กำกับ : เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
“เสียงสะท้อนจากความเงียบ”
นักแสดง : วรุตม์ เข็มประสิทธิ์, เววิรี อิทธิอนันต์กุล
ผู้กำกับ : รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
Labels:
ละครเวที พระจันทร์เสี้ยว,
ละครเวทีโรงเล็ก
Subscribe to:
Posts (Atom)