welcome to crescent moon space

welcome to crescent moon space
small but beautiful small alternative space for theatre lovers

Saturday, 31 May 2008

พูดคุยกับสองนักแสดงจาก The Mind Game


พูดคุยกับสองนักแสดงจาก The Mind Game
สัมภาษณ์และรูปถ่ายโดย สินีนาฏ เกษประไพ

สวัสดีค่ะ หลังจากที่เราหายหน้าหายตาไปนาน ไม่ได้ติดตามพูดคุยกับทีมงานละครที่นำละครมาลงที่ละครโรงเล็ก Crescent Moon Space ผ่านไป 3 เรื่องแล้ว (คือ หยดเลือดที่เหือดหาย, Welcome to Nothing และ ผ่าผิวน้ำ) ก็ต้องขออภัย แต่เราก็พยายามจะทำ แต่ตอนนี้ก็ทำได้ตามความสะดวกและความว่างของคนสัมภาษณ์คนแกะเทปน่ะค่ะ คราวนี้เรามาพูดคุยกับสองนักแสดงจากละครระทึกขวัญเรื่อง The Mind Game จากผู้กำกับ ครูหนุน ปัณณทัต โพธิเวชกุล

นาด : อยากให้โอ๊คแนะนำตัวเองนิดนึง
โอ๊ค : ครับ ผม กรีติ ศิวะเกื้อ ชื่อเล่น โอ๊ค ครับ เรียนจบซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับด้านละครเลยครับ ผมจบบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยชินวัตร แต่ว่าตอนที่เรียนก็เรียนการแสดงไปด้วยครับ
นาด : เรียนกับใคร ที่ไหนบ้าง หรือเรียนในมหาลัย
โอ๊ค : เปล่าครับ ผมเรียนข้างนอกหมดเลยครับ ตอนอยู่ปี 1 ตอนนั้นเรียนที่บางกอกการละคร ตอนนั้นอยู่ที่ตึกชินวัตร 3 เรียนกับครูหลายๆคน เป็นหลักสูตรที่ครูบิ๊ก (ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์) เป็นคนเขียนน่ะครับ ก็เลยได้เรียนกับอาจารย์หลายๆคน พี่จุ๋ม (สุมณฑา สวนผลรัตน์) ก็ไปสอน แล้วก็มี ครูอ้อ (มัลลิกา ตั้งสงบ) ครูสืบ (บุญส่ง นาคภู่) ครูหนึ่ง ครูอิ๋ว ครูหนุน ก็คือคนที่ผมมาเจอในวงการละครเวทีตอนนี้ ผมเคยเรียนแอ็คติ้งกับเขามาก่อน ตอนนั้นมีแอ็คติ้ง เอ บี ซี อ่ะครับ แล้วก็ไม่ได้เปิดซี เพราะไม่มีคนเรียน หลังจากนั้นที่สมาคมผู้กำกับมีเปิดสอนการแสดง ก็เลยไปเรียน
นาด : ใครจัด แล้วใครสอนบ้าง
โอ๊ค : จัดโดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย สอนโดยครูหนืด (นิมิตร พิพิธกุล) ก็ไปเรียนกับพี่รบ พี่ตู้เนี่ยแหละครับ แล้วช่วงนั้นก็ไปแคสหนังก็ได้เล่นหนังสองเรื่อง คือ โบอางูยักษ์ ที่ฉายไปแล้ว อีกเรื่องหนึ่งคือ สวยซามูไร คิดว่าจะฉายปลายปีนี้ครับ นอกนั้นก็ได้งานถ่ายโฆษณา ถ่ายวิดิโอพรีเซ็นต์ ถ่ายโน่นถ่ายนี่ไปเรื่อย
นาด : งานโฆษณามีอะไรบ้าง
โอ๊ค : เช่น เรโซน่า ลูกอมฮาร์ดบีท แล้วก็เฟอร์นิเจอร์อินเด็กซ์ ครับ อ้อ แล้วก็โฆษณาแสตมป์เซเว่น แล้วก็ มายคอนโด
นาด : แล้วละครเวทีเรื่องแรก โอ๊คเล่นเรื่องอะไร
โอ๊ค : ถ้าเป็นเรื่องแรกจริงๆแล้ว โอ๊คเล่นตอนสมัยเรียน เล่นเรื่อง Jesus Christ Superstar ตอนนั้นเรียน ม.5 ที่อเมริกา ตอนนั้นเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ก็ไปขอเขาออดิชั่น เล่นที่ Santafe Preparatory School
นาด : เล่นเป็นตัวไหน
โอ๊ค : เล่นเป็นตัวร้ายครับ เป็นลูกน้องของจูดา สนุกมาก ตอนนั้นอายุ 17 เองครับ แล้วละครเรื่องนี้ก็ได้ร้องเพลง ก็เป็นละครเรื่องแรกครับ พอหลังจากเล่นหนังเรื่องโบอางูยักษ์แล้วเนี่ยก็มาดูหนังที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ แล้วก็เห็นใบโปสเตอร์เวริ์คชอปของกลุ่มบีฟลอร์ ตอนนั้นชื่อเวริ์คชอป บีเฟส (B Floor B Fest 2006) ก็เลยมามาเวริ์คชอป ก็เลยมาเจอกับพี่อ้นที่แสดงในโบอา เค้าก็บอกว่าที่มะขามป้อมเขารับอาสามสมัครจะให้เล่นละครเวที อยากลองมั๊ย ก็เลยชวนกันไป ก็เลยได้เล่นละครเรื่อง ศรีบูรพา พี่ตั้ว (ประดิษฐ ประสาททอง) เป็นผู้กำกับ เสร็จแล้วหลังจากนั้นเข้าเวริ์คชอปบีเฟสก็ชอบมาก แล้วก็มาเจอพระจันทร์เสี้ยวก็เลยตามดูงานพระจันทร์เสี้ยวมาเรื่อยๆ หลายเรื่อง หลังจากนั้นก็มีเวริ์คชอปอีกหลายๆอันก็เข้ามาเวริ์คชอปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Butoh workshop การใช้ร่างกาย หรืออย่างอื่น แล้วพี่จา (จารุนันท์ พันธชาติ) ก็ชวนให้มาเป็นนักแสดงเรื่อง กูรูเธียเตอร์ เล่นครั้งแรกกันตอนปี 2549 แล้วก็มา re-stage อีกทีหนึ่งตอนปี 2550 หลังจากนั้นพี่อ้นก็ชวนมาเล่น Welcome to Nothing ก็สนุกมากเลยครับ The Mind Game
นาด : เนื่องจากผู้กำกับยังไม่ว่าง ยังยุ่งอยู่ เราเลยไม่ได้พูดคุยกับครูหนุน เลยถามนักแสดงแทนว่า ทำไมเป็น The Mind Game
โอ๊ค : ตอนนั้นครูหนุนได้รู้จักกับบทละครเรื่องนี้ตั้งแต่สมัยเรียนที่อเมริกา ก็เลยอยากจะกำกับเองโดยใช้นักแสดงไทย แต่เล่นเป็นภาษาอังกฤษ นี่คือที่ยากสำหรับผม เพราะสำเนียงของผมออกจะมั่วๆสักหน่อย จะอังกฤษก็ไม่ จะอเมริกันก็ไม่อเมริกัน ก็ต้องใช้เวลาปรับมาก แล้วเรื่องบทก็ยาก เพราะตัวละครจะอายุมากกว่า และบทก็ค่อนข้างเครียดมาก แต่ก็สนุกมากเหมือนกัน เพราะมันแปลกใหม่สำหรับผม ไม่เคยได้รับบทแบบนี้มาก่อน
นาด : บรรยากาศช่วงซ้อมเป็นยังไงบ้าง ไปซ้อมกันที่ไหน
โอ๊ค : ก็สนุกมากครับ เราไปซ้อมกันที่สตูดิโอของพี่เอ๋ ที่ DemoCrazy Studio การซ้อมก็เป็นไปอย่างสบายๆ ทั้งสามคนก็ชอบชวนกันไปกินโน่นนี่เรื่อยๆ ครูหนุนเป็นผู้กำกับใจดี และสามารถไกด์ให้ผมทำได้ เช่น เรื่องสำเนียง ก็ต้องกลับบ้านไปทำรูปปากให้ถูกต้อง ให้ออกเสียงท้ายคำให้ชัดเจน แล้วต้องทำหน้าแปลกประหลาดหน้ากระจกให้หน้าคลาย เรื่องเสียงที่โอ๊คมีปัญหา ครูหนุนก็ให้หาเสียง หาความรู้สึกใหม่ๆ เราต้องค้นหา สุดท้ายก็ได้อย่างที่อยากได้ แล้วพี่เอ๋ก็เก่ง แล้วก็เห็นพี่เอ๋ซ้อมอยู่ตลอด หรือไม่ก็ทำโน่นทำนี่เพื่อให้ได้อย่างที่อยากให้เป็น ตอนหลังทีมงานก็เข้ามา แล้วเป็นทีมงานที่น่ารักมาก ก็เข้ามาช่วยกัน เอ้อ ลืมบอกไปว่า ผมเล่นอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่อง ประสาทแตก ของครูหนิง (พันพัสสา ธูปเทียน) หลังจากกูรูเธียเตอร์ เป็นงานที่ยากและท้าทาย ผมก็อยากจะงานที่แปลกๆยากๆอย่างนี้แหละครับ เพราะแต่ละงานทำให้เราได้เรียนรู้ได้เติบโต
นาด : งานต่อไปของโอ๊คล่ะ จะทำอะไร
โอ๊ค : หลังจากนี้ก็จะกลับบ้านก่อนครับ แล้วตอนปลายๆปีก็กลับมาเล่นงานของพี่นาดล่ะครับ แล้วก็มาเข้าเวริ์คชอปกับพระจันทร์เสี้ยวด้วย
นาด : ลืมถามไปว่า ชอบละครเพราะอะไร ทำไมถึงมาทำละคร หรือชอบอะไรในละคร
โอ๊ค : ตอนเป็นเด็กผมเป็นเด็กที่ค่อนข้างแปลกประหลาด แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองแปลกแยก ชอบคิดอะไรแปลกๆ พอโตขึ้นก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นเด็กก้าวร้าวไม่น่ารัก แต่พอมาเรียนละครแล้วทำให้เข้าใจอะไรไมากขึ้น ได้เข้าใจคนอื่น ได้เข้าใจตัวเอง เหมือนกับสันดานดีขึ้นนิดหนึ่ง ก็เลยคิดว่า คือ ที่อยากเป็นนักแสดงเพราะว่า ผมคิดว่าชีวิตคนเราสั้นจังเลย แล้วผมก็เป็นคนที่กลัวตัวเองแก่เพราะผมยังอยากจะทำอะไรอีกเยอะๆ แต่การได้เล่นละครได้เล่นบทบาทอะไรหลายๆอย่าง เราได้เห็นแง่มุมอะไรแปลกๆ ได้มองเห็นอะไรหลายๆอย่างที่เอามาย่อๆให้เราได้เรียนรู้ ตรงนี้คือสิ่งสนุกและเสน่ห์ของละครที่อยากทำ แล้วก็การค้นหา มันเป็นการค้นหาจิตใจของตัวเองจากการเล่นบทต่างๆ ทำให้ได้รู้จักคนอื่นและได้รู้จักตัวเองในแบบอื่น
นาด : อีกคำถามหนึ่ง มองตัวเองกับงานละครไว้ยังไง อยากจะทำหน้าที่อะไรหรือมุ่งเน้นด้านไหนในงานละครเวที
โอ๊ค : ผมอยากเขียนบท ผมมีเรื่องราวที่ผมอยากเล่า แต่ตอนนี้ผมสนุกกับการเป็นนักแสดงอยู่มากๆเลยครับ ผมก็คิดว่าจะเรียนรู้ไปก่อนในช่วงนี้ จริงๆแล้วผมก็เรียนละครจากข้างนอก คือไม่ได้เรียนละครมาโดยตรง ผมเรียนจากการไปร่วมงานกับคนอื่นๆ เหมือนอย่าง เรียนจากการมาร่วมงานกับครูหนุนใน The Mind Game ผมก็ได้เรียนรรู้หลายๆอย่าง คิดว่ามันเป็นกำไรตรงนี้ ผมอยากเป็นนักแสดงที่พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ได้มีส่วนในการทำให้ คือ ละคร มันเป็นการสื่อสารในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มันทำให้เห็นอะไรหลายอย่าง เห็นแง่มุมอื่น ทำให้สนุกได้ด้วย ผมคิดว่า ถึงผมอาจจะไม่ได้มีบทบาทที่ยิ่งใหญ่อะไร แค่ผมได้เป็นส่วนหนึ่งแค่นี้ก็รู้สึกดีใจมากแล้ว
นาด : ขอบคุณมากค่ะโอ๊ค คราวนี้เราก็ตามไปคุยกับนักแสดงหญิงกันบ้าง (ซึ่งกำลังทำผมอยู่) คือเอ๋ ภาวิณี สมรรคบุตร ก็อยากให้เอ๋ช่วยเล่านิดหนึ่งว่าจบที่ไหน ทำงานละครอะไรมาบ้าง
เอ๋ : จบจากปริญญาตรี เอกละครธรรมศาสตร์ โทวาทะวิทยาและสื่อสารการแสดง จากนิเทศน์ศาสตร์ จุฬา
นาด : ขอถามนิดหนึ่ง ตอนจะเรียนจบละคร ตอนนั้นทำเรื่องอะไร
เอ๋ : ทำเรื่อง Jones of Arc คือเอาเรื่องมาเขียน ทำเป็นภาพมากกว่า คือ ตอนนั้นนำเสนอด้านเทคนิค ฉาก แสง เสียง เลยเป็นงานภาพมากกว่า เป็นการจัด Composition
นาด : แล้วช่วงเรียนก็เล่นละครตลอดเลยใช่ไหม
เอ๋ : ก็เล่นละครกับที่ชั้น 8 แล้วก็มีไปช่วยงานที่มะขามป้อมบ้าง
นาด : แล้วหลังจากจบแล้ว เอ๋ทำงานอะไร หรือทำละครกับกลุ่มไหน
เอ๋ : พอจบแล้วก็ไปทำงานด้านแสงกับบริษัท ทำงาน Event ช่วงสองปีแรกหลังจบนั้นก็มีทำละครบ้าง คือทำด้าน กำกับ แต่รู้สึกว่ายังไม่ถึงเวลาก็เลยหยุดไว้ก่อน แล้วหลังจากนั้นก็คิดว่าจะไม่ทำงานประจำแล้ว ก็กลับมาทำงานละคร ช่วงนั้นเป็นช่วงที่มะขามป้อมกำลังจะทำงาน 30 ปี 14 ตุลา กำลังเตรียมละครเรื่อง เหลียวหลังแลหน้าตุลงตุลา ก็เลยได้กลับไปเล่น อ้อ ก่อนหน้านั้นก็ได้ไปเวริ์คชอปละครกับ Dan Kwang (ศิลปินอเมริกัน-จีน) ที่เชียงใหม่ แล้วกลับลงมาเล่น มันเป็นช่วงต่อกันเลย
นาด : แล้วเข้าไปเป็นสมาชิกกลุ่มละครแปดคุณแปดตั้งแต่เมื่อไหร่
เอ๋ : ตั้งแต่เทศกาลละครปีแรก ซึ่งเราเล่นละคร แล้วก็เจอพี่นิกร แล้วพอปีที่สองก็มาช่วยงานเทศกาลแล้วก็ได้คุยกันอีกครั้ง ว่าสนใจงานของพี่เขา
นาด: แล้วก็ไปเวิร์คชอป “ตัวอ่อน” รุ่นแรกๆ
เอ๋: ใช่ รุ่นที่สอง จริงๆ ต้องเป็นรุ่นที่สาม เพราะรุ่นแรก มันไม่เชิงเป็นตัวอ่อน คือ พวกพี่จุ๋ม พี่จา ซึ่งเขามาเวิร์คชอปแล้วเล่นในเรื่อง “กรุงเทพน่ารักน่าชัง”
นาด: แล้วเล่นเรื่องแรก ของแปดคูณแปด คือเรื่อง...
เอ๋: เรื่อง แม่น้ำแห่งความตาย
นาด: แล้วอยู่ในคณะนี้ ทำหน้าที่อะไรบ้าง หลากหลายไหม
เอ๋: จริงๆ แล้ว พี่นิกร ก็จะบอกไว้ว่า หลักๆ แล้วทุกคนในกลุ่มเป็นนักแสดง แต่ว่าในแต่ละโปรดักชั่น มันก็มีหน้าที่ที่ต้องแบ่งกัน ซึ่งส่วนมากก็ค่อนข้างจะ fix แหละ เป็นพวกพีอาร์ ออกแบบ นาด: แล้วเรื่องอื่นๆ กับผู้กำกับคนอื่นๆ ล่ะ มีอะไรบ้างเอ๋: ก็จะมี “เส้นด้ายแห่งความมืด” ของพี่ปุย (อ.พนิดา) “ติดกับ” ของฮีน(ศศิธร พาณิชนก) แต่ถ้ากับแปดคูณแปด ก็จะมี “สวยสู่นรก” “พระเจ้าเซ็ง” “เมาธ์” “ไร้พำนัก” ซึ่งเป็นเรื่องล่าสุดก่อนเรื่องนี้
นาด: แล้วมาทำงานเรื่องนี้ กับอ.หนุนได้ยังไง
เอ๋: พอดีได้คุยกัน แล้วก็พี่หนุน อยากทำเรื่องเพราะเขาบอกว่าเขาชอบเรื่องนี้ แล้วก็เคยเล่นสมัยเรียน ที่นี้ พี่หนุนได้มาดูละครที่เอ๋เล่นแล้วก็คิดว่าน่าจะเหมาะกับบทนี้นะ ก็เลยลองชวนมาเล่น
นาด: ตอนซ้อมเรื่องนี้ เป็นยังไงบ้าง
เอ๋: ตอนแรกๆ ก็ซ้อมแบบแยกกันนะ แล้วค่อยมาเจอกันตอนหลัง ก็สนุกดี สถานการณ์ของเรื่องก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เป็นแนวแบบสมจริง
นาด: ปัจจุบันเอ๋ ทำงานอะไร
เอ๋: ก็ทำละคร แล้วก็รับงานอิสระบ้าง มีงานสตูดิโอที่ทำเพลง แต่ว่าจริงๆแล้ว วัตถุประสงค์ก็คือ ได้ทำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับละคร คือ ทำเพลง ทำละคร
นาด: แล้วตอนนี้ยังอยู่แปดคูณแปดอยู่ไหม
เอ๋: ยังอยู่
นาด: แล้วสำหรับละครเรื่องที่ มีอะไรที่แปลกใหม่บ้างไหม
เอ๋: ก็อาจจะเป็นเรื่องภาษา คือ มันมีส่วนที่ทำให้เราไม่พะวงกับบทมากเกินไป เราจะพะวงแค่ช่วงแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ว่าพอถึงระดับนึงแล้วก็จะไม่ได้สนใจเรื่องบทมาก แล้วก็มันเป็นเรื่องภาวะการอยู่ส่วนตัวของตัวละคร คืออยู่คนเดียว ซึ่งก็สนุกดี
นาด: แล้วงานละคร เรื่องต่อไปมีไหม หรือมีแผนไหมว่าจะทำอะไรต่อไป
เอ๋: ก็มีงานที่คิดว่าจะทำ ที่ Gossip Gallery ว่าจะกำกับเอง ก็อาจจะชวนเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน แล้วก็มีละครกับฮีน แต่ยังไม่สรุปว่าเรื่องอะไร
นาด: ละครที่จะทำเองเป็นเรื่อง หรือว่าเป็น performance
เอ๋: เป็น performance แล้วก็กับ DemoCrazy ตอนเดือนตุลา ในงานศิลปะกับสังคม
นาด: แล้วเอ๋มองตัวเองกับงานละคร แล้วคาดหวังตัวเองในอนาคตว่าอย่างไร
เอ๋: ถ้างานละครจริงๆ ก็คงจะเป็น นักแสดง คือถ้ามีประสบการณ์มากขึ้น แล้วมีเรื่องที่อยากจะถ่ายทอด ก็จะลองทำงานกำกับออกมา แต่วัตถุประสงค์ตอนนี้ก็คืออยากจะเล่นละครมากกว่า เพราะก็ยังไม่มีเรื่องที่อยากจะเล่าเอง
นาด : เราต้องขอบคุณนักแสดงหญิงของเรามาก แล้วเธอก็ได้เวลาไปเตรียมตัวแสดงแล้ว

ส่วนคราวหน้าเราจะไปพูดคุยกับทีมสาวๆจากห้องตกกระแทกหมายเลขศูนย์กันนะคะ ว่ามันเป็นห้องแบบไหนกันแน่ แล้วในห้องนั้นมันจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง โปรดกรุณาติดตาม


Wednesday, 14 May 2008

The Mind Game




The Mind Game

Directed by Pannatat Po-dhivejakul

Bangkok Troupers invites you to join in this journey at Crescent Moon Space
(Inside Pridi Banomyong Institue)
Sukhumvit 55 (Between Soi Thong Lor 1 & 3)

From : May 30 – June 1, 2008. (5 performances only)
Time : Friday @ 7:30 pm.
Saturday & Sunday @ 4:00 pm. and 7:30 pm.

Ticket: Bht. 250 (Student Bht. 200 with student I.D.)
Reservation : 08.0606.0522 and 08.1850.2893

*** Remark : Performed in English (with Thai subtitle). ***

Wednesday, 7 May 2008

เกี่ยวกับ ผ่าผิวน้ำ

ผ่าผวน้ำ - ผ่าใจคนทำ

ละครเวทีเรื่องนี้สร้างบทการแสดงขึ้นมาจากการผสมผสานวัตถุดิบ 3 ชิ้นเข้าด้วยกัน นั่นคือ อัตชีวประวัติของ Greg Louganis ซึ่งเขียนร่วมกับ Eric Marcus, บทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel ฉบับปี 1984 โดย Max Frisch (ก่อนหน้านั้น Frisch ได้เขียนเรื่องนี้มาแล้วฉบับหนึ่งในปี 1967) และบทละครเรื่อง Breaking the Surface ซึ่งตัวผู้กำกับฯเองได้เคยดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี 1996 ขณะกำลังศึกษาวิชา Techniques of Adaptation อยู่ ณ Middlesex University ประเทศอังกฤษ

เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมและยุคสมัย รวมทั้งให้เหมาะแก่นักแสดง ทรัพยากรและสถานที่จัดแสดง เนื้อหาในการจัดแสดงคราวนี้ได้แปลงให้เป็นเรื่องราวของ “กันตชาติ” นักกีฬากระโดดน้ำชาวไทยวัย 29 ซึ่งก้าวมาถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จในฐานะแชมเปี้ยนทีมชาติ 4 เหรียญทองสองสมัย เขาได้รับโอกาสที่เกิดขึ้นไม่ได้ชีวิตจริงแต่เป็นไปได้บนเวทีละคร ให้ย้อนกลับไปในอดีตเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขชีวิตใหม่ โดยในช่วงแรกเขาได้พยายามหลีกเลี่ยงให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ “ท๊อป” ด้วยการผ่านกระบวนการที่ทำให้เขาต้องเข้าไปพัวพันกับช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ในชีวิต จนในที่สุดเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในค่ำคืนแรกที่เขาพบและลงเอยกับท๊อปได้ ส่วนช่วงที่สองเหตุการณ์ได้ย้อนกลับไปในชีวิตหลังจากที่เขาตัดสินใจคบหาและอยู่กินกับท๊อปเป็นเวลา 7 ปี ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงอารมณ์และความคิดที่มีขอบเขตจำกัดต่อการเปลี่ยนแปลงอดีตแบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้เขาหลบหลีกจากความผิดพลาดเก่า ๆ ที่เคยทำมา

ในเรื่องมีวัตถุอยู่ 2 ชิ้นที่เป็นสัญลักษณ์แสดงภาวะของกันตชาติ อย่างแรกคือนาฬิกาดนตรีที่ท๊อปชื่นชอบ และหมากรุกที่สามารถเปลี่ยนวิธีเดินไปได้มากมายภายใต้กติกาเพียงไม่กี่ข้อ กันตชาติเชื่อว่าเขาสามารถเล่นเกมชีวิตได้ใหม่เหมือนกับการเล่นหมากรุก โดยจดจำความผิดพลาดที่ผ่านมา ล้มกระดานใหม่ แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อจะได้จบเกมลงอย่างที่ตัวเองพอใจ แต่ว่าทางเลือกที่เขาตัดสินใจใหม่นี้ กลับทำให้เขาวนเวียนอยู่ในวัฎจักรเช่นเดียวกับกลไกของนาฬิกาดนตรีที่ถูกกำหนดไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

การซ้อมบทครั้งในค่ำคืนแรกที่กันตชาติได้พบกับชายคนรัก เห็นได้ชัดว่ากันตชาติประสบความล้มเหลวในการสร้างประวัติชีวิตใหม่ที่ไม่มีท๊อป กันตชาติไม่สามารถควบคุมความปรารถนาของตนเองได้ เขาจึงต้องย้อนกลับไปหาอดีตในช่วงก่อนหน้าที่เขาจะได้พบกับชายคนรักเพื่อหักเหเส้นทางชีวิตไม่ให้ต้องมาพบกัน กติกาของเกมนี้บอกให้เขารู้ว่าถึงแม้เขาจะมีสิทธิ์เลือกได้ตามอำเภอใจ แต่เขาก็ไม่สามารถมีอิสระได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ตามที่เขาต้องการ เนื่องจากคนอื่นก็มีเสรีภาพที่จะเลือกได้เหมือนกัน อีกทั้งทุกอย่างที่เขากระทำได้ถูกวางกรอบไว้แน่นอนแล้วตามสติปัญญาและนิสัยที่เขามีมา เขาจึงไม่สามารถลบล้างความทรงจำของตัวเองที่มีติดตัวอยู่ตลอดชีวิตได้ ไม่ว่าอุบัติเหตุที่ทำให้เพื่อนรักเพื่อนแค้นต้องตาบอด ความลังเลที่จะจากรักครั้งแรกในชีวิตเพื่อไปเยี่ยมแม่ที่กำลังมีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติ ความขัดแย้งกับพ่อเจ้าอารมณ์ การคบผู้หญิงเพื่อจะหลีกหนีความเป็นเกย์ของตนจนในที่สุดก็เป็นเหตุทำให้เธอต้องฆ่าตัวตาย ฯลฯ การทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้กันตชาติประจักษ์ว่าเขาได้เข้าไปมีส่วนพัวพันกับชีวิตของคนอื่นอย่างซับซ้อน อีกทั้งยังเปิดเผยให้เห็นถึงทัศนคติของเขาที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย เช่น การที่เขาช่วยให้นักกีฬาชาวพม่าให้ลี้ภัยในขณะไปแข่งซีเกมส์ เขารู้สึกภาคภูมิใจเพราะเขาไม่ต้องทุ่มเทอะไรมากมายเท่ากับการซ้อมกระโดดน้ำ และไม่ต้องสูญเสียอะไรในชีวิตด้วย และการที่เขาไม่คิดป้องกันให้สาธิกาฆ่าตัวตายก็เช่นกัน ดูเหมือนว่าเขาจะจงใจปล่อยความบังเอิญให้เข้ามาตัดสินชะตากรรม ซึ่งเห็นได้ชัดจากคำพูดที่ว่า “ผมเคยชินกับความผิดพลาดของผมซะแล้วล่ะ” ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและเฉื่อยชาผิดกับบุคลิกอันเชื่อมั่นในตอนแรกที่เขาพูดว่า “ถ้าเขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง เขารู้แน่ชัดว่าจะทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิมได้อย่างไร” กันตชาติจึงกลายเป็นเพียงคน ๆ หนึ่งที่ยอมประพฤติตัวซ้ำซากในขณะย้อนไปทบทวนและแก้ไขปมในอดีต มากกว่าจะเป็นผู้เรียนรู้และยอมรับความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น

การซ้อมบทในช่วงที่สองแสดงให้เห็นถึงชีวิตอันแห้งแล้งระหว่างกันตชาติกับท๊อป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กันตชาติต้องการหลีกหนีให้พ้นเป็นที่สุด ท๊อปยังคงความเหนือกว่าและเป็นตัวของตัวเองมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นการถ่ายทอดออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เช่นเดียวกับตัวละครอื่น ๆ ที่ผุดขึ้นมาจากจิตสำนึกของเขา ท๊อปที่เราเห็นไม่ใช่ท๊อปตัวจริง ทั้งนี้เนื่องจากกันตชาติรู้สึกว่าเขาถูกผู้ชายคนนี้ข่มและบงการชีวิตอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็อดไม่ได้ที่จะหลงใหลได้ปลื้มผู้ชายคนนี้ไปด้วย และสิ่งเหล่านี้เองที่เราสามารถสัมผัสได้ตลอดเวลาในขณะอ่านประวัติชีวิตของ Greg Louganis โดยเฉพาะในบทที่เกี่ยวกับ “ทอม” ผู้เป็นทั้งคนรัก ผู้จัดการส่วนตัว และสาเหตุหลักแห่งหายนะในชีวิตของเขา และนี่คือที่มาของการจับเอาเรื่องราวในชีวิตของนักกีฬากระโดดน้ำผู้นี้ มาผสานกับบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel ของ Max Frisch นั่นคือ ใช้มนต์สมมุติและอัจฉริยภาพของเวทีละครเพื่อให้ผู้ชายคนหนึ่งกระทำการ “ผ่าผิวน้ำ” ด้วยการให้เขาได้มีโอกาสเลือกใหม่ ถ้าเขารู้ว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองตรงไหน และอย่างไร

ในความพยายามครั้งสุดท้ายของกันตชาติ ที่จะทลายแบบแผนอันซ้ำซากที่เป็นอยู่ก่อนหน้านั้น กันตชาติได้ตัดสินใจยิงท๊อปด้วยความขมขื่น เขาต้องใช้กระสุนปืนถึงห้านัดก่อนที่ความตั้งใจของเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงในชีวิตได้ ซึ่งตัวกันตชาติเองก็ยอมรับในภายหลังว่าเป็นเพราะคำพูดของท๊อปที่มักจะบอกซ้ำ ๆ ว่า “ตอนบ่ายผมอยู่ที่ยิม” นั้นยังคงก้องอยู่ในโสตประสาทของเขาตลอดเวลา เขาจึงยิงประโยคนี้เพื่อให้มันลบเลือนหายไป แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ล้มเลิกความตั้งใจนี้ เพราะความรักที่เขามีต่อท๊อป ถึงแม้จะแฝงไปด้วยความเจ็บปวด หึงหวง และเกลียดชังมากเพียงใด แต่ก็มีพลังเกินกว่าจะไปตรวจสอบด้วยเรื่องที่สมมุติขึ้นมาได้

ดังนั้นกันตชาติจึงแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลยในช่วงชีวิตที่เขาอยู่ร่วมกับท๊อป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอดีตนั้นเปลี่ยนยากเกินไป เขาจึงเหลือแต่ความแก่ชรากับความตายอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ที่เขาติดจากใครมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เมื่อกันตชาติหยุดเล่นเกมประวัติชีวิต เขาจึงยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า “เขากลัวความตายอย่างช้า ๆ เขากลัวที่จะต้องรอ” ด้วยเหตุนี้ “ผู้กำกับ” ซึ่งรู้เฉพาะสิ่งที่กันตชาติรู้ จึงสามารถเปิดเผยและเสนอแนะทางเลือกต่าง ๆ ที่กันตชาติมีอยู่ได้ ทำให้กันตชาติสารภาพกับท๊อปเป็นครั้งแรกว่า “เราต่างประเมินกันและกันต่ำเกินไป ทำไมเราต้องดูถูกกันด้วยนะ ทำไมทุกสิ่งทุกอย่างทำให้เราเสื่อมถอยด้อยค่ากันไปหมด หรือคนเราจะรู้จักกันเพียงในสภาพนี้เท่านั้น” ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ความตั้งใจของกันตชาติ สามารถเอาชนะจิตสำนึกที่เป็นเพียงการแสดงได้ โดยการซ้อมบทได้กลับมายังจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เมื่อผู้กำกับเปิดโอกาสให้ท๊อปได้เริ่มใหม่บ้าง เขาก็ได้ใช้แค่โอกาสที่เขาได้รับมานี้ทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิม ด้วยการเลือกที่จะเดินออกไปจากบ้านของกันตชาติในคืนนั้น แน่นอน ในกรณีนี้ท๊อปสามารถทำได้เพราะเขาเป็นเพียงภาพสะท้อนที่ออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เมื่อเขาถูกปลดปล่อยออกจากกติกา เขาจึงมีอิสระที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามตัวตนที่เขาเป็น

ละครเรื่องนี้อาจจะเรียกได้ว่าจัดอยู่ในหมวด “ละครแห่งจิตสำนึก” ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะสร้างขึ้นมาให้เป็น “ละครเชิงสารคดีชีวประวัติ” หรือ “ละครเลียนแบบเรื่อง” ที่มุ่งเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของนักกีฬากระโดดน้ำชื่อดัง ตามแบบแผนหรือหลักเกณฑ์ของการดัดแปลงบทที่เคยมีการทำวิจัยและยึดถือปฏิบัติกันมา(นาน) สิ่งที่น่าสนใจจึงไม่ใช่ชีวประวัติของกันตชาติที่นำเค้าโครงเหตุการณ์หรือรายละเอียด (ทั้งหมดหรือบางส่วน) มาจากเรื่องราวต่าง ๆ ในประวัติชีวิตของ Greg Louganis หากเป็นทัศนคติของตัวละครกันตชาติที่มีต่อประวัติชีวิตของตนเอง ซึ่งนั่นก็พ้องกับที่ Max Frisch ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel” ว่า... “ละครเรื่องนี้เล่นบนเวที ผู้ชมไม่ควรเข้าใจไปว่าเป็นสถานที่ใด ๆ ที่มีลักษณะเหมือนเวทีละคร ที่นี่จะมีเหตุการณ์ที่เป็นไปได้เฉพาะแต่ในละครเท่านั้น เหมือนกับที่น่าจะเป็นไปได้ในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง เพราะฉะนั้นเนื้อหาของละครเรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ประวัติของกันตชาติซึ่งออกจะธรรมดา หากอยู่ที่พฤติกรรมของเขาที่มีต่อสภาพความเป็นจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนที่มีความผูกพันกับเงื่อนเวลา ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีประวัติชีวิตของตนชุดหนึ่ง ละครเรื่องนี้จึงมิได้แสดงถึงเหตุการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น แต่เป็นการทบทวนเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งคล้ายกับการเล่นหมากรุกตอนที่เราตั้งตัวสำคัญที่เราเดินพลาดไปขึ้นมาใหม่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเราจะสามารถเดินหมากแบบอื่นได้หรือไม่อย่างไร ... ละครเรื่องนี้ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรทั้งสิ้น ...”

นอกจากนี้ Frisch ยังได้กล่าวไว้อีกว่า “ผู้กำกับที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องไม่ได้เป็นตัวแทนของอำนาจเหนือมนุษย์ใด ๆ เขาพูดในสิ่งที่กันตชาติรู้อยู่แล้วหรือสามารถรับทราบได้ทั้งสิ้น เขาไม่ใช่พิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการเพราะเขาไม่ได้หันมาพูดอะไรกับผู้ชมเลย แต่เขาเป็นคนช่วยให้กันตชาติได้คิดรอบด้านมากยิ่งขึ้น และไม่เริ่มจากตัวเองหรือคิดเข้าข้างตัวเองมากเกินไป ถ้าหากผู้กำกับ (ซึ่งที่จริงไม่มีใครเรียกเขาด้วยตำแหน่งนี้หรือชื่อตำแหน่งอื่นใดตลอดทั้งเรื่อง) จะเป็นตัวแทนของอำนาจใดละก็ คงเป็นอำนาจของละครที่อนุญาตให้เราทำสิ่งที่เราไม่สามารถทำในความเป็นจริงได้ นั่นคือ การได้มีโอกาสทำซ้ำ ทดลอง เปลี่ยนแปลง และด้วยวิธีการนี้ แน่นอน เขาก็มีอำนาจอยู่ในระดับหนึ่ง บทที่เขาใช้อยู่นั้นไม่ใช่บันทึกประจำวันที่กันตชาติเขียนเอาไว้ และก็ไม่ใช่แฟ้มบันทึกของหน่วยงานใดเก็บรวบรวมเอาไว้ด้วย แต่บทนี้มีอยู่แล้วในจิตสำนึกของกันตชาติ และไม่ว่าจะมีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดสามารถรวมกันได้จนกลายเป็นประวัติเรื่องราวของเขา เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งกันตชาติเองก็ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปได้ การเปลี่ยนสลับแสงไฟระหว่างไฟละครกับไฟทำงานบนเวที ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนสลับระหว่างภาพมายากับความเป็นจริง แต่ไฟละครหมายถึงขณะนั้นกำลังเป็นการลองสิ่งที่อาจเป็นไปได้อีกทางหนึ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ (ซึ่งไม่ได้ปรากฏบนเวทีเลย) ดังนั้นละครเรื่องนี้จึงเป็นการทดลอง และเมื่อกันตชาติเดินออกมาจากฉากใดฉากหนึ่ง เขาก็ไม่ได้ออกมาอย่างตัวแสดงตัวหนึ่งในเรื่อง แต่เขาเป็นกันตชาติ และอาจเป็นไปได้ว่าในตอนนั้นตัวเขาจะยิ่งดูน่าเชื่อมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ไม่มีฉากใดเหมาะสมถูกใจเขาจนทำให้เห็นว่าไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้ มีแต่ตัวเขาเท่านั้นที่ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นไปได้ ... ผมตั้งใจให้ละครเรื่องนี้เป็นสุขนาฏกรรม”

เรียบเรียงจาก The Plays of Max Frisch โดย Michael Butler

“ผ่าผิวน้ำ” แปลต้นฉบับจากภาษาเยอรมันโดย เจนจิรา เสรีโยธิน, ปานรัตน กริชชาญชัย และจากภาษาอังกฤษโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง สร้างบทและกำกับการแสดงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ นำแสดงโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง, นพพันธ์ บุญใหญ่, สุเกมส์ กาญจนกันติกุล ร่วมด้วยนักแสดงละครเวทีอีกคับคั่ง อาทิ เกรียงไกร ฟูเกษม, ปานรัตน กริชชาญชัย, ศุภฤกษ์ เสถียร, สาธิกา โภคทรัพย์, ณัฐกานต์ ภู่เจริญศิลป์ และ ช่อลดา สุริยะโยธิน จัดแสดง ณ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ทุกคืนเวลา 19.30 น. (เว้นคืนวันจันทร์) ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 25 พฤษภาคม 2551 จองบัตรได้ที่โทร 086 787 7155 และ 089 600 2295 (รับผู้ชมจำนวนจำกัดเพียง 30 คนต่อรอบเท่านั้น)

หมายเหตุ: ละครเรื่องนี้มีความยาว 2 ชั่วโมง ไม่รวมพักครึ่ง 10 นาที

เกี่ยวกับ ผ่าผิวน้ำ



ผ่าผิวน้ำ - ผ่านใจคนทำ

ละครเวทีเรื่องนี้สร้างบทการแสดงขึ้นมาจากการผสมผสานวัตถุดิบ 3 ชิ้นเข้าด้วยกัน นั่นคือ อัตชีวประวัติของ Greg Louganis ซึ่งเขียนร่วมกับ Eric Marcus, บทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel ฉบับปี 1984 โดย Max Frisch (ก่อนหน้านั้น Frisch ได้เขียนเรื่องนี้มาแล้วฉบับหนึ่งในปี 1967) และบทละครเรื่อง Breaking the Surface ซึ่งตัวผู้กำกับฯเองได้เคยดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี 1996 ขณะกำลังศึกษาวิชา Techniques of Adaptation อยู่ ณ Middlesex University ประเทศอังกฤษ

เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมและยุคสมัย รวมทั้งให้เหมาะแก่นักแสดง ทรัพยากรและสถานที่จัดแสดง เนื้อหาในการจัดแสดงคราวนี้ได้แปลงให้เป็นเรื่องราวของ “กันตชาติ” นักกีฬากระโดดน้ำชาวไทยวัย 29 ซึ่งก้าวมาถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จในฐานะแชมเปี้ยนทีมชาติ 4 เหรียญทองสองสมัย เขาได้รับโอกาสที่เกิดขึ้นไม่ได้ชีวิตจริงแต่เป็นไปได้บนเวทีละคร ให้ย้อนกลับไปในอดีตเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขชีวิตใหม่ โดยในช่วงแรกเขาได้พยายามหลีกเลี่ยงให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ “ท๊อป” ด้วยการผ่านกระบวนการที่ทำให้เขาต้องเข้าไปพัวพันกับช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ในชีวิต จนในที่สุดเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในค่ำคืนแรกที่เขาพบและลงเอยกับท๊อปได้ ส่วนช่วงที่สองเหตุการณ์ได้ย้อนกลับไปในชีวิตหลังจากที่เขาตัดสินใจคบหาและอยู่กินกับท๊อปเป็นเวลา 7 ปี ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงอารมณ์และความคิดที่มีขอบเขตจำกัดต่อการเปลี่ยนแปลงอดีตแบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้เขาหลบหลีกจากความผิดพลาดเก่า ๆ ที่เคยทำมา

ในเรื่องมีวัตถุอยู่ 2 ชิ้นที่เป็นสัญลักษณ์แสดงภาวะของกันตชาติ อย่างแรกคือนาฬิกาดนตรีที่ท๊อปชื่นชอบ และหมากรุกที่สามารถเปลี่ยนวิธีเดินไปได้มากมายภายใต้กติกาเพียงไม่กี่ข้อ กันตชาติเชื่อว่าเขาสามารถเล่นเกมชีวิตได้ใหม่เหมือนกับการเล่นหมากรุก โดยจดจำความผิดพลาดที่ผ่านมา ล้มกระดานใหม่ แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อจะได้จบเกมลงอย่างที่ตัวเองพอใจ แต่ว่าทางเลือกที่เขาตัดสินใจใหม่นี้ กลับทำให้เขาวนเวียนอยู่ในวัฎจักรเช่นเดียวกับกลไกของนาฬิกาดนตรีที่ถูกกำหนดไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

การซ้อมบทครั้งในค่ำคืนแรกที่กันตชาติได้พบกับชายคนรัก เห็นได้ชัดว่ากันตชาติประสบความล้มเหลวในการสร้างประวัติชีวิตใหม่ที่ไม่มีท๊อป กันตชาติไม่สามารถควบคุมความปรารถนาของตนเองได้ เขาจึงต้องย้อนกลับไปหาอดีตในช่วงก่อนหน้าที่เขาจะได้พบกับชายคนรักเพื่อหักเหเส้นทางชีวิตไม่ให้ต้องมาพบกัน กติกาของเกมนี้บอกให้เขารู้ว่าถึงแม้เขาจะมีสิทธิ์เลือกได้ตามอำเภอใจ แต่เขาก็ไม่สามารถมีอิสระได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ตามที่เขาต้องการ เนื่องจากคนอื่นก็มีเสรีภาพที่จะเลือกได้เหมือนกัน อีกทั้งทุกอย่างที่เขากระทำได้ถูกวางกรอบไว้แน่นอนแล้วตามสติปัญญาและนิสัยที่เขามีมา เขาจึงไม่สามารถลบล้างความทรงจำของตัวเองที่มีติดตัวอยู่ตลอดชีวิตได้ ไม่ว่าอุบัติเหตุที่ทำให้เพื่อนรักเพื่อนแค้นต้องตาบอด ความลังเลที่จะจากรักครั้งแรกในชีวิตเพื่อไปเยี่ยมแม่ที่กำลังมีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติ ความขัดแย้งกับพ่อเจ้าอารมณ์ การคบผู้หญิงเพื่อจะหลีกหนีความเป็นเกย์ของตนจนในที่สุดก็เป็นเหตุทำให้เธอต้องฆ่าตัวตาย ฯลฯ การทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้กันตชาติประจักษ์ว่าเขาได้เข้าไปมีส่วนพัวพันกับชีวิตของคนอื่นอย่างซับซ้อน อีกทั้งยังเปิดเผยให้เห็นถึงทัศนคติของเขาที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย เช่น การที่เขาช่วยให้นักกีฬาชาวพม่าให้ลี้ภัยในขณะไปแข่งซีเกมส์ เขารู้สึกภาคภูมิใจเพราะเขาไม่ต้องทุ่มเทอะไรมากมายเท่ากับการซ้อมกระโดดน้ำ และไม่ต้องสูญเสียอะไรในชีวิตด้วย และการที่เขาไม่คิดป้องกันให้สาธิกาฆ่าตัวตายก็เช่นกัน ดูเหมือนว่าเขาจะจงใจปล่อยความบังเอิญให้เข้ามาตัดสินชะตากรรม ซึ่งเห็นได้ชัดจากคำพูดที่ว่า “ผมเคยชินกับความผิดพลาดของผมซะแล้วล่ะ” ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและเฉื่อยชาผิดกับบุคลิกอันเชื่อมั่นในตอนแรกที่เขาพูดว่า “ถ้าเขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง เขารู้แน่ชัดว่าจะทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิมได้อย่างไร” กันตชาติจึงกลายเป็นเพียงคน ๆ หนึ่งที่ยอมประพฤติตัวซ้ำซากในขณะย้อนไปทบทวนและแก้ไขปมในอดีต มากกว่าจะเป็นผู้เรียนรู้และยอมรับความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น

การซ้อมบทในช่วงที่สองแสดงให้เห็นถึงชีวิตอันแห้งแล้งระหว่างกันตชาติกับท๊อป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กันตชาติต้องการหลีกหนีให้พ้นเป็นที่สุด ท๊อปยังคงความเหนือกว่าและเป็นตัวของตัวเองมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นการถ่ายทอดออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เช่นเดียวกับตัวละครอื่น ๆ ที่ผุดขึ้นมาจากจิตสำนึกของเขา ท๊อปที่เราเห็นไม่ใช่ท๊อปตัวจริง ทั้งนี้เนื่องจากกันตชาติรู้สึกว่าเขาถูกผู้ชายคนนี้ข่มและบงการชีวิตอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็อดไม่ได้ที่จะหลงใหลได้ปลื้มผู้ชายคนนี้ไปด้วย และสิ่งเหล่านี้เองที่เราสามารถสัมผัสได้ตลอดเวลาในขณะอ่านประวัติชีวิตของ Greg Louganis โดยเฉพาะในบทที่เกี่ยวกับ “ทอม” ผู้เป็นทั้งคนรัก ผู้จัดการส่วนตัว และสาเหตุหลักแห่งหายนะในชีวิตของเขา และนี่คือที่มาของการจับเอาเรื่องราวในชีวิตของนักกีฬากระโดดน้ำผู้นี้ มาผสานกับบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel ของ Max Frisch นั่นคือ ใช้มนต์สมมุติและอัจฉริยภาพของเวทีละครเพื่อให้ผู้ชายคนหนึ่งกระทำการ “ผ่าผิวน้ำ” ด้วยการให้เขาได้มีโอกาสเลือกใหม่ ถ้าเขารู้ว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองตรงไหน และอย่างไร

ในความพยายามครั้งสุดท้ายของกันตชาติ ที่จะทลายแบบแผนอันซ้ำซากที่เป็นอยู่ก่อนหน้านั้น กันตชาติได้ตัดสินใจยิงท๊อปด้วยความขมขื่น เขาต้องใช้กระสุนปืนถึงห้านัดก่อนที่ความตั้งใจของเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงในชีวิตได้ ซึ่งตัวกันตชาติเองก็ยอมรับในภายหลังว่าเป็นเพราะคำพูดของท๊อปที่มักจะบอกซ้ำ ๆ ว่า “ตอนบ่ายผมอยู่ที่ยิม” นั้นยังคงก้องอยู่ในโสตประสาทของเขาตลอดเวลา เขาจึงยิงประโยคนี้เพื่อให้มันลบเลือนหายไป แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ล้มเลิกความตั้งใจนี้ เพราะความรักที่เขามีต่อท๊อป ถึงแม้จะแฝงไปด้วยความเจ็บปวด หึงหวง และเกลียดชังมากเพียงใด แต่ก็มีพลังเกินกว่าจะไปตรวจสอบด้วยเรื่องที่สมมุติขึ้นมาได้

ดังนั้นกันตชาติจึงแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลยในช่วงชีวิตที่เขาอยู่ร่วมกับท๊อป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอดีตนั้นเปลี่ยนยากเกินไป เขาจึงเหลือแต่ความแก่ชรากับความตายอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ที่เขาติดจากใครมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เมื่อกันตชาติหยุดเล่นเกมประวัติชีวิต เขาจึงยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า “เขากลัวความตายอย่างช้า ๆ เขากลัวที่จะต้องรอ” ด้วยเหตุนี้ “ผู้กำกับ” ซึ่งรู้เฉพาะสิ่งที่กันตชาติรู้ จึงสามารถเปิดเผยและเสนอแนะทางเลือกต่าง ๆ ที่กันตชาติมีอยู่ได้ ทำให้กันตชาติสารภาพกับท๊อปเป็นครั้งแรกว่า “เราต่างประเมินกันและกันต่ำเกินไป ทำไมเราต้องดูถูกกันด้วยนะ ทำไมทุกสิ่งทุกอย่างทำให้เราเสื่อมถอยด้อยค่ากันไปหมด หรือคนเราจะรู้จักกันเพียงในสภาพนี้เท่านั้น” ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ความตั้งใจของกันตชาติ สามารถเอาชนะจิตสำนึกที่เป็นเพียงการแสดงได้ โดยการซ้อมบทได้กลับมายังจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เมื่อผู้กำกับเปิดโอกาสให้ท๊อปได้เริ่มใหม่บ้าง เขาก็ได้ใช้แค่โอกาสที่เขาได้รับมานี้ทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิม ด้วยการเลือกที่จะเดินออกไปจากบ้านของกันตชาติในคืนนั้น แน่นอน ในกรณีนี้ท๊อปสามารถทำได้เพราะเขาเป็นเพียงภาพสะท้อนที่ออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เมื่อเขาถูกปลดปล่อยออกจากกติกา เขาจึงมีอิสระที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามตัวตนที่เขาเป็น

ละครเรื่องนี้อาจจะเรียกได้ว่าจัดอยู่ในหมวด “ละครแห่งจิตสำนึก” ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะสร้างขึ้นมาให้เป็น “ละครเชิงสารคดีชีวประวัติ” หรือ “ละครเลียนแบบเรื่อง” ที่มุ่งเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของนักกีฬากระโดดน้ำชื่อดัง ตามแบบแผนหรือหลักเกณฑ์ของการดัดแปลงบทที่เคยมีการทำวิจัยและยึดถือปฏิบัติกันมา(นาน) สิ่งที่น่าสนใจจึงไม่ใช่ชีวประวัติของกันตชาติที่นำเค้าโครงเหตุการณ์หรือรายละเอียด (ทั้งหมดหรือบางส่วน) มาจากเรื่องราวต่าง ๆ ในประวัติชีวิตของ Greg Louganis หากเป็นทัศนคติของตัวละครกันตชาติที่มีต่อประวัติชีวิตของตนเอง ซึ่งนั่นก็พ้องกับที่ Max Frisch ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel” ว่า... “ละครเรื่องนี้เล่นบนเวที ผู้ชมไม่ควรเข้าใจไปว่าเป็นสถานที่ใด ๆ ที่มีลักษณะเหมือนเวทีละคร ที่นี่จะมีเหตุการณ์ที่เป็นไปได้เฉพาะแต่ในละครเท่านั้น เหมือนกับที่น่าจะเป็นไปได้ในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง เพราะฉะนั้นเนื้อหาของละครเรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ประวัติของกันตชาติซึ่งออกจะธรรมดา หากอยู่ที่พฤติกรรมของเขาที่มีต่อสภาพความเป็นจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนที่มีความผูกพันกับเงื่อนเวลา ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีประวัติชีวิตของตนชุดหนึ่ง ละครเรื่องนี้จึงมิได้แสดงถึงเหตุการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น แต่เป็นการทบทวนเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งคล้ายกับการเล่นหมากรุกตอนที่เราตั้งตัวสำคัญที่เราเดินพลาดไปขึ้นมาใหม่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเราจะสามารถเดินหมากแบบอื่นได้หรือไม่อย่างไร ... ละครเรื่องนี้ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรทั้งสิ้น ...”

นอกจากนี้ Frisch ยังได้กล่าวไว้อีกว่า “ผู้กำกับที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องไม่ได้เป็นตัวแทนของอำนาจเหนือมนุษย์ใด ๆ เขาพูดในสิ่งที่กันตชาติรู้อยู่แล้วหรือสามารถรับทราบได้ทั้งสิ้น เขาไม่ใช่พิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการเพราะเขาไม่ได้หันมาพูดอะไรกับผู้ชมเลย แต่เขาเป็นคนช่วยให้กันตชาติได้คิดรอบด้านมากยิ่งขึ้น และไม่เริ่มจากตัวเองหรือคิดเข้าข้างตัวเองมากเกินไป ถ้าหากผู้กำกับ (ซึ่งที่จริงไม่มีใครเรียกเขาด้วยตำแหน่งนี้หรือชื่อตำแหน่งอื่นใดตลอดทั้งเรื่อง) จะเป็นตัวแทนของอำนาจใดละก็ คงเป็นอำนาจของละครที่อนุญาตให้เราทำสิ่งที่เราไม่สามารถทำในความเป็นจริงได้ นั่นคือ การได้มีโอกาสทำซ้ำ ทดลอง เปลี่ยนแปลง และด้วยวิธีการนี้ แน่นอน เขาก็มีอำนาจอยู่ในระดับหนึ่ง บทที่เขาใช้อยู่นั้นไม่ใช่บันทึกประจำวันที่กันตชาติเขียนเอาไว้ และก็ไม่ใช่แฟ้มบันทึกของหน่วยงานใดเก็บรวบรวมเอาไว้ด้วย แต่บทนี้มีอยู่แล้วในจิตสำนึกของกันตชาติ และไม่ว่าจะมีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดสามารถรวมกันได้จนกลายเป็นประวัติเรื่องราวของเขา เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งกันตชาติเองก็ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปได้ การเปลี่ยนสลับแสงไฟระหว่างไฟละครกับไฟทำงานบนเวที ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนสลับระหว่างภาพมายากับความเป็นจริง แต่ไฟละครหมายถึงขณะนั้นกำลังเป็นการลองสิ่งที่อาจเป็นไปได้อีกทางหนึ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ (ซึ่งไม่ได้ปรากฏบนเวทีเลย) ดังนั้นละครเรื่องนี้จึงเป็นการทดลอง และเมื่อกันตชาติเดินออกมาจากฉากใดฉากหนึ่ง เขาก็ไม่ได้ออกมาอย่างตัวแสดงตัวหนึ่งในเรื่อง แต่เขาเป็นกันตชาติ และอาจเป็นไปได้ว่าในตอนนั้นตัวเขาจะยิ่งดูน่าเชื่อมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ไม่มีฉากใดเหมาะสมถูกใจเขาจนทำให้เห็นว่าไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้ มีแต่ตัวเขาเท่านั้นที่ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นไปได้ ... ผมตั้งใจให้ละครเรื่องนี้เป็นสุขนาฏกรรม”

เรียบเรียงจาก The Plays of Max Frisch โดย Michael Butler
โดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์

“ผ่าผิวน้ำ” แปลต้นฉบับจากภาษาเยอรมันโดย เจนจิรา เสรีโยธิน, ปานรัตน กริชชาญชัย และจากภาษาอังกฤษโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง สร้างบทและกำกับการแสดงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ นำแสดงโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง, นพพันธ์ บุญใหญ่, สุเกมส์ กาญจนกันติกุล ร่วมด้วยนักแสดงละครเวทีอีกคับคั่ง อาทิ เกรียงไกร ฟูเกษม, ปานรัตน กริชชาญชัย, ศุภฤกษ์ เสถียร, สาธิกา โภคทรัพย์, ณัฐกานต์ ภู่เจริญศิลป์ และ ช่อลดา สุริยะโยธิน

จัดแสดง ณ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์
ทุกคืนเวลา 19.30 น. (เว้นคืนวันจันทร์) ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 25 พฤษภาคม 2551
จองบัตรได้ที่โทร 086 787 7155 และ 089 600 2295 (รับผู้ชมจำนวนจำกัดเพียง 40 คนต่อรอบเท่านั้น)

หมายเหตุ: ละครเรื่องนี้มีความยาว 2 ชั่วโมง ไม่รวมพักครึ่ง 10 นาที

Monday, 5 May 2008

ผ่าผิวน้ำ



“ถ้าคนเราสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง...เราทุกคนรู้ดีว่าจะเปลี่ยนแปลงมันตรงไหน”

New Theatre Society เสนอ


เกมโชว์อัจฉริยภาพแห่งเวทีละคร ที่จะพาเราย้อนไปแก้ปมอดีตของ...
กฤษณะ พันธุ์เพ็ง
นพพันธุ์ บุญใหญ่
สุเกมส์ กาญจนกันติกุล

ในผลงานสุขนาฏกรรมแนวใหม่โดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์


"ผ่าผิวน้ำ"
Breaking the Surface

เค้าโครงเรื่องจากชีวประวัติของ Greg Louganis นักกระโดดน้ำโอลิมปิก
และบทละคร Biography: a Game ฉบับปี 1984 โดย Max Frisch

ร่วมด้วยนักแสดงที่เคยสร้างความประทับใจมาแล้วจาก
“ตาดูดาวเท้าเหยียบเธอ” และ “กลรักเกมเลิฟ”
เกรียงไกร ฟูเกษม, ปานรัตน กริชชาญชัย,
ศุภฤกษ์ เสถียร, สาธิกา โภคทรัพย์,
ณัฐกานต์ ภู่เจริญศิลป์ และ ช่อลดา สุริยะโยธิน

จัดแสดง ณ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ
รอบปฐมทัศน์ พุธที่ 7 พฤษภาคม 2551 เวลา 19.30 น.
รอบปกติ วันอังคารที่ 13 ถึงอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2551 เวลา 19.30 น.
* แสดงทุกคืน เว้นคืนวันจันทร์

13-14-15 พฤษภาคม บัตรราคา 200 บาท นักเรียน/นักศึกษา 100 บาท
16-17-18 พฤษภาคม บัตรราคา 250 บาท นักเรียน/นักศึกษา 150 บาท
20-21-22 พฤษภาคม บัตรราคา 300 บาท นักเรียน/นักศึกษา 200 บาท
23-24-25 พฤษภาคม บัตรราคา 350 บาท นักเรียน/นักศึกษา 200 บาท

(หมู่คณะ 10 คนขึ้นไป และ สมาชิก http://newtheatresociety.hi5.com/ รับส่วนลด 10%)

จองบัตรได้แล้ววันนี้ที่โทร 089 600 2295 และ 086 787 7155

รับผู้ชมจำนวนจำกัด เพียง 40 คนต่อรอบ เท่านั้น