ผ่าผิวน้ำ - ผ่านใจคนทำ
ละครเวทีเรื่องนี้สร้างบทการแสดงขึ้นมาจากการผสมผสานวัตถุดิบ 3 ชิ้นเข้าด้วยกัน นั่นคือ อัตชีวประวัติของ Greg Louganis ซึ่งเขียนร่วมกับ Eric Marcus, บทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel ฉบับปี 1984 โดย Max Frisch (ก่อนหน้านั้น Frisch ได้เขียนเรื่องนี้มาแล้วฉบับหนึ่งในปี 1967) และบทละครเรื่อง Breaking the Surface ซึ่งตัวผู้กำกับฯเองได้เคยดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี 1996 ขณะกำลังศึกษาวิชา Techniques of Adaptation อยู่ ณ Middlesex University ประเทศอังกฤษ
เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมและยุคสมัย รวมทั้งให้เหมาะแก่นักแสดง ทรัพยากรและสถานที่จัดแสดง เนื้อหาในการจัดแสดงคราวนี้ได้แปลงให้เป็นเรื่องราวของ “กันตชาติ” นักกีฬากระโดดน้ำชาวไทยวัย 29 ซึ่งก้าวมาถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จในฐานะแชมเปี้ยนทีมชาติ 4 เหรียญทองสองสมัย เขาได้รับโอกาสที่เกิดขึ้นไม่ได้ชีวิตจริงแต่เป็นไปได้บนเวทีละคร ให้ย้อนกลับไปในอดีตเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขชีวิตใหม่ โดยในช่วงแรกเขาได้พยายามหลีกเลี่ยงให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ “ท๊อป” ด้วยการผ่านกระบวนการที่ทำให้เขาต้องเข้าไปพัวพันกับช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ในชีวิต จนในที่สุดเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในค่ำคืนแรกที่เขาพบและลงเอยกับท๊อปได้ ส่วนช่วงที่สองเหตุการณ์ได้ย้อนกลับไปในชีวิตหลังจากที่เขาตัดสินใจคบหาและอยู่กินกับท๊อปเป็นเวลา 7 ปี ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงอารมณ์และความคิดที่มีขอบเขตจำกัดต่อการเปลี่ยนแปลงอดีตแบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้เขาหลบหลีกจากความผิดพลาดเก่า ๆ ที่เคยทำมา
ในเรื่องมีวัตถุอยู่ 2 ชิ้นที่เป็นสัญลักษณ์แสดงภาวะของกันตชาติ อย่างแรกคือนาฬิกาดนตรีที่ท๊อปชื่นชอบ และหมากรุกที่สามารถเปลี่ยนวิธีเดินไปได้มากมายภายใต้กติกาเพียงไม่กี่ข้อ กันตชาติเชื่อว่าเขาสามารถเล่นเกมชีวิตได้ใหม่เหมือนกับการเล่นหมากรุก โดยจดจำความผิดพลาดที่ผ่านมา ล้มกระดานใหม่ แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อจะได้จบเกมลงอย่างที่ตัวเองพอใจ แต่ว่าทางเลือกที่เขาตัดสินใจใหม่นี้ กลับทำให้เขาวนเวียนอยู่ในวัฎจักรเช่นเดียวกับกลไกของนาฬิกาดนตรีที่ถูกกำหนดไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
การซ้อมบทครั้งในค่ำคืนแรกที่กันตชาติได้พบกับชายคนรัก เห็นได้ชัดว่ากันตชาติประสบความล้มเหลวในการสร้างประวัติชีวิตใหม่ที่ไม่มีท๊อป กันตชาติไม่สามารถควบคุมความปรารถนาของตนเองได้ เขาจึงต้องย้อนกลับไปหาอดีตในช่วงก่อนหน้าที่เขาจะได้พบกับชายคนรักเพื่อหักเหเส้นทางชีวิตไม่ให้ต้องมาพบกัน กติกาของเกมนี้บอกให้เขารู้ว่าถึงแม้เขาจะมีสิทธิ์เลือกได้ตามอำเภอใจ แต่เขาก็ไม่สามารถมีอิสระได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ตามที่เขาต้องการ เนื่องจากคนอื่นก็มีเสรีภาพที่จะเลือกได้เหมือนกัน อีกทั้งทุกอย่างที่เขากระทำได้ถูกวางกรอบไว้แน่นอนแล้วตามสติปัญญาและนิสัยที่เขามีมา เขาจึงไม่สามารถลบล้างความทรงจำของตัวเองที่มีติดตัวอยู่ตลอดชีวิตได้ ไม่ว่าอุบัติเหตุที่ทำให้เพื่อนรักเพื่อนแค้นต้องตาบอด ความลังเลที่จะจากรักครั้งแรกในชีวิตเพื่อไปเยี่ยมแม่ที่กำลังมีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติ ความขัดแย้งกับพ่อเจ้าอารมณ์ การคบผู้หญิงเพื่อจะหลีกหนีความเป็นเกย์ของตนจนในที่สุดก็เป็นเหตุทำให้เธอต้องฆ่าตัวตาย ฯลฯ การทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้กันตชาติประจักษ์ว่าเขาได้เข้าไปมีส่วนพัวพันกับชีวิตของคนอื่นอย่างซับซ้อน อีกทั้งยังเปิดเผยให้เห็นถึงทัศนคติของเขาที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย เช่น การที่เขาช่วยให้นักกีฬาชาวพม่าให้ลี้ภัยในขณะไปแข่งซีเกมส์ เขารู้สึกภาคภูมิใจเพราะเขาไม่ต้องทุ่มเทอะไรมากมายเท่ากับการซ้อมกระโดดน้ำ และไม่ต้องสูญเสียอะไรในชีวิตด้วย และการที่เขาไม่คิดป้องกันให้สาธิกาฆ่าตัวตายก็เช่นกัน ดูเหมือนว่าเขาจะจงใจปล่อยความบังเอิญให้เข้ามาตัดสินชะตากรรม ซึ่งเห็นได้ชัดจากคำพูดที่ว่า “ผมเคยชินกับความผิดพลาดของผมซะแล้วล่ะ” ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและเฉื่อยชาผิดกับบุคลิกอันเชื่อมั่นในตอนแรกที่เขาพูดว่า “ถ้าเขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง เขารู้แน่ชัดว่าจะทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิมได้อย่างไร” กันตชาติจึงกลายเป็นเพียงคน ๆ หนึ่งที่ยอมประพฤติตัวซ้ำซากในขณะย้อนไปทบทวนและแก้ไขปมในอดีต มากกว่าจะเป็นผู้เรียนรู้และยอมรับความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น
การซ้อมบทในช่วงที่สองแสดงให้เห็นถึงชีวิตอันแห้งแล้งระหว่างกันตชาติกับท๊อป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กันตชาติต้องการหลีกหนีให้พ้นเป็นที่สุด ท๊อปยังคงความเหนือกว่าและเป็นตัวของตัวเองมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นการถ่ายทอดออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เช่นเดียวกับตัวละครอื่น ๆ ที่ผุดขึ้นมาจากจิตสำนึกของเขา ท๊อปที่เราเห็นไม่ใช่ท๊อปตัวจริง ทั้งนี้เนื่องจากกันตชาติรู้สึกว่าเขาถูกผู้ชายคนนี้ข่มและบงการชีวิตอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็อดไม่ได้ที่จะหลงใหลได้ปลื้มผู้ชายคนนี้ไปด้วย และสิ่งเหล่านี้เองที่เราสามารถสัมผัสได้ตลอดเวลาในขณะอ่านประวัติชีวิตของ Greg Louganis โดยเฉพาะในบทที่เกี่ยวกับ “ทอม” ผู้เป็นทั้งคนรัก ผู้จัดการส่วนตัว และสาเหตุหลักแห่งหายนะในชีวิตของเขา และนี่คือที่มาของการจับเอาเรื่องราวในชีวิตของนักกีฬากระโดดน้ำผู้นี้ มาผสานกับบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel ของ Max Frisch นั่นคือ ใช้มนต์สมมุติและอัจฉริยภาพของเวทีละครเพื่อให้ผู้ชายคนหนึ่งกระทำการ “ผ่าผิวน้ำ” ด้วยการให้เขาได้มีโอกาสเลือกใหม่ ถ้าเขารู้ว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองตรงไหน และอย่างไร
ในความพยายามครั้งสุดท้ายของกันตชาติ ที่จะทลายแบบแผนอันซ้ำซากที่เป็นอยู่ก่อนหน้านั้น กันตชาติได้ตัดสินใจยิงท๊อปด้วยความขมขื่น เขาต้องใช้กระสุนปืนถึงห้านัดก่อนที่ความตั้งใจของเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงในชีวิตได้ ซึ่งตัวกันตชาติเองก็ยอมรับในภายหลังว่าเป็นเพราะคำพูดของท๊อปที่มักจะบอกซ้ำ ๆ ว่า “ตอนบ่ายผมอยู่ที่ยิม” นั้นยังคงก้องอยู่ในโสตประสาทของเขาตลอดเวลา เขาจึงยิงประโยคนี้เพื่อให้มันลบเลือนหายไป แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ล้มเลิกความตั้งใจนี้ เพราะความรักที่เขามีต่อท๊อป ถึงแม้จะแฝงไปด้วยความเจ็บปวด หึงหวง และเกลียดชังมากเพียงใด แต่ก็มีพลังเกินกว่าจะไปตรวจสอบด้วยเรื่องที่สมมุติขึ้นมาได้
ดังนั้นกันตชาติจึงแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลยในช่วงชีวิตที่เขาอยู่ร่วมกับท๊อป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอดีตนั้นเปลี่ยนยากเกินไป เขาจึงเหลือแต่ความแก่ชรากับความตายอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ที่เขาติดจากใครมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เมื่อกันตชาติหยุดเล่นเกมประวัติชีวิต เขาจึงยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า “เขากลัวความตายอย่างช้า ๆ เขากลัวที่จะต้องรอ” ด้วยเหตุนี้ “ผู้กำกับ” ซึ่งรู้เฉพาะสิ่งที่กันตชาติรู้ จึงสามารถเปิดเผยและเสนอแนะทางเลือกต่าง ๆ ที่กันตชาติมีอยู่ได้ ทำให้กันตชาติสารภาพกับท๊อปเป็นครั้งแรกว่า “เราต่างประเมินกันและกันต่ำเกินไป ทำไมเราต้องดูถูกกันด้วยนะ ทำไมทุกสิ่งทุกอย่างทำให้เราเสื่อมถอยด้อยค่ากันไปหมด หรือคนเราจะรู้จักกันเพียงในสภาพนี้เท่านั้น” ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ความตั้งใจของกันตชาติ สามารถเอาชนะจิตสำนึกที่เป็นเพียงการแสดงได้ โดยการซ้อมบทได้กลับมายังจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เมื่อผู้กำกับเปิดโอกาสให้ท๊อปได้เริ่มใหม่บ้าง เขาก็ได้ใช้แค่โอกาสที่เขาได้รับมานี้ทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิม ด้วยการเลือกที่จะเดินออกไปจากบ้านของกันตชาติในคืนนั้น แน่นอน ในกรณีนี้ท๊อปสามารถทำได้เพราะเขาเป็นเพียงภาพสะท้อนที่ออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เมื่อเขาถูกปลดปล่อยออกจากกติกา เขาจึงมีอิสระที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามตัวตนที่เขาเป็น
ละครเรื่องนี้อาจจะเรียกได้ว่าจัดอยู่ในหมวด “ละครแห่งจิตสำนึก” ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะสร้างขึ้นมาให้เป็น “ละครเชิงสารคดีชีวประวัติ” หรือ “ละครเลียนแบบเรื่อง” ที่มุ่งเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของนักกีฬากระโดดน้ำชื่อดัง ตามแบบแผนหรือหลักเกณฑ์ของการดัดแปลงบทที่เคยมีการทำวิจัยและยึดถือปฏิบัติกันมา(นาน) สิ่งที่น่าสนใจจึงไม่ใช่ชีวประวัติของกันตชาติที่นำเค้าโครงเหตุการณ์หรือรายละเอียด (ทั้งหมดหรือบางส่วน) มาจากเรื่องราวต่าง ๆ ในประวัติชีวิตของ Greg Louganis หากเป็นทัศนคติของตัวละครกันตชาติที่มีต่อประวัติชีวิตของตนเอง ซึ่งนั่นก็พ้องกับที่ Max Frisch ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel” ว่า... “ละครเรื่องนี้เล่นบนเวที ผู้ชมไม่ควรเข้าใจไปว่าเป็นสถานที่ใด ๆ ที่มีลักษณะเหมือนเวทีละคร ที่นี่จะมีเหตุการณ์ที่เป็นไปได้เฉพาะแต่ในละครเท่านั้น เหมือนกับที่น่าจะเป็นไปได้ในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง เพราะฉะนั้นเนื้อหาของละครเรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ประวัติของกันตชาติซึ่งออกจะธรรมดา หากอยู่ที่พฤติกรรมของเขาที่มีต่อสภาพความเป็นจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนที่มีความผูกพันกับเงื่อนเวลา ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีประวัติชีวิตของตนชุดหนึ่ง ละครเรื่องนี้จึงมิได้แสดงถึงเหตุการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น แต่เป็นการทบทวนเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งคล้ายกับการเล่นหมากรุกตอนที่เราตั้งตัวสำคัญที่เราเดินพลาดไปขึ้นมาใหม่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเราจะสามารถเดินหมากแบบอื่นได้หรือไม่อย่างไร ... ละครเรื่องนี้ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรทั้งสิ้น ...”
นอกจากนี้ Frisch ยังได้กล่าวไว้อีกว่า “ผู้กำกับที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องไม่ได้เป็นตัวแทนของอำนาจเหนือมนุษย์ใด ๆ เขาพูดในสิ่งที่กันตชาติรู้อยู่แล้วหรือสามารถรับทราบได้ทั้งสิ้น เขาไม่ใช่พิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการเพราะเขาไม่ได้หันมาพูดอะไรกับผู้ชมเลย แต่เขาเป็นคนช่วยให้กันตชาติได้คิดรอบด้านมากยิ่งขึ้น และไม่เริ่มจากตัวเองหรือคิดเข้าข้างตัวเองมากเกินไป ถ้าหากผู้กำกับ (ซึ่งที่จริงไม่มีใครเรียกเขาด้วยตำแหน่งนี้หรือชื่อตำแหน่งอื่นใดตลอดทั้งเรื่อง) จะเป็นตัวแทนของอำนาจใดละก็ คงเป็นอำนาจของละครที่อนุญาตให้เราทำสิ่งที่เราไม่สามารถทำในความเป็นจริงได้ นั่นคือ การได้มีโอกาสทำซ้ำ ทดลอง เปลี่ยนแปลง และด้วยวิธีการนี้ แน่นอน เขาก็มีอำนาจอยู่ในระดับหนึ่ง บทที่เขาใช้อยู่นั้นไม่ใช่บันทึกประจำวันที่กันตชาติเขียนเอาไว้ และก็ไม่ใช่แฟ้มบันทึกของหน่วยงานใดเก็บรวบรวมเอาไว้ด้วย แต่บทนี้มีอยู่แล้วในจิตสำนึกของกันตชาติ และไม่ว่าจะมีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดสามารถรวมกันได้จนกลายเป็นประวัติเรื่องราวของเขา เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งกันตชาติเองก็ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปได้ การเปลี่ยนสลับแสงไฟระหว่างไฟละครกับไฟทำงานบนเวที ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนสลับระหว่างภาพมายากับความเป็นจริง แต่ไฟละครหมายถึงขณะนั้นกำลังเป็นการลองสิ่งที่อาจเป็นไปได้อีกทางหนึ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ (ซึ่งไม่ได้ปรากฏบนเวทีเลย) ดังนั้นละครเรื่องนี้จึงเป็นการทดลอง และเมื่อกันตชาติเดินออกมาจากฉากใดฉากหนึ่ง เขาก็ไม่ได้ออกมาอย่างตัวแสดงตัวหนึ่งในเรื่อง แต่เขาเป็นกันตชาติ และอาจเป็นไปได้ว่าในตอนนั้นตัวเขาจะยิ่งดูน่าเชื่อมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ไม่มีฉากใดเหมาะสมถูกใจเขาจนทำให้เห็นว่าไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้ มีแต่ตัวเขาเท่านั้นที่ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นไปได้ ... ผมตั้งใจให้ละครเรื่องนี้เป็นสุขนาฏกรรม”
เรียบเรียงจาก The Plays of Max Frisch โดย Michael Butler
เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมและยุคสมัย รวมทั้งให้เหมาะแก่นักแสดง ทรัพยากรและสถานที่จัดแสดง เนื้อหาในการจัดแสดงคราวนี้ได้แปลงให้เป็นเรื่องราวของ “กันตชาติ” นักกีฬากระโดดน้ำชาวไทยวัย 29 ซึ่งก้าวมาถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จในฐานะแชมเปี้ยนทีมชาติ 4 เหรียญทองสองสมัย เขาได้รับโอกาสที่เกิดขึ้นไม่ได้ชีวิตจริงแต่เป็นไปได้บนเวทีละคร ให้ย้อนกลับไปในอดีตเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขชีวิตใหม่ โดยในช่วงแรกเขาได้พยายามหลีกเลี่ยงให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ “ท๊อป” ด้วยการผ่านกระบวนการที่ทำให้เขาต้องเข้าไปพัวพันกับช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ในชีวิต จนในที่สุดเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในค่ำคืนแรกที่เขาพบและลงเอยกับท๊อปได้ ส่วนช่วงที่สองเหตุการณ์ได้ย้อนกลับไปในชีวิตหลังจากที่เขาตัดสินใจคบหาและอยู่กินกับท๊อปเป็นเวลา 7 ปี ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงอารมณ์และความคิดที่มีขอบเขตจำกัดต่อการเปลี่ยนแปลงอดีตแบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้เขาหลบหลีกจากความผิดพลาดเก่า ๆ ที่เคยทำมา
ในเรื่องมีวัตถุอยู่ 2 ชิ้นที่เป็นสัญลักษณ์แสดงภาวะของกันตชาติ อย่างแรกคือนาฬิกาดนตรีที่ท๊อปชื่นชอบ และหมากรุกที่สามารถเปลี่ยนวิธีเดินไปได้มากมายภายใต้กติกาเพียงไม่กี่ข้อ กันตชาติเชื่อว่าเขาสามารถเล่นเกมชีวิตได้ใหม่เหมือนกับการเล่นหมากรุก โดยจดจำความผิดพลาดที่ผ่านมา ล้มกระดานใหม่ แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเพื่อจะได้จบเกมลงอย่างที่ตัวเองพอใจ แต่ว่าทางเลือกที่เขาตัดสินใจใหม่นี้ กลับทำให้เขาวนเวียนอยู่ในวัฎจักรเช่นเดียวกับกลไกของนาฬิกาดนตรีที่ถูกกำหนดไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
การซ้อมบทครั้งในค่ำคืนแรกที่กันตชาติได้พบกับชายคนรัก เห็นได้ชัดว่ากันตชาติประสบความล้มเหลวในการสร้างประวัติชีวิตใหม่ที่ไม่มีท๊อป กันตชาติไม่สามารถควบคุมความปรารถนาของตนเองได้ เขาจึงต้องย้อนกลับไปหาอดีตในช่วงก่อนหน้าที่เขาจะได้พบกับชายคนรักเพื่อหักเหเส้นทางชีวิตไม่ให้ต้องมาพบกัน กติกาของเกมนี้บอกให้เขารู้ว่าถึงแม้เขาจะมีสิทธิ์เลือกได้ตามอำเภอใจ แต่เขาก็ไม่สามารถมีอิสระได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ตามที่เขาต้องการ เนื่องจากคนอื่นก็มีเสรีภาพที่จะเลือกได้เหมือนกัน อีกทั้งทุกอย่างที่เขากระทำได้ถูกวางกรอบไว้แน่นอนแล้วตามสติปัญญาและนิสัยที่เขามีมา เขาจึงไม่สามารถลบล้างความทรงจำของตัวเองที่มีติดตัวอยู่ตลอดชีวิตได้ ไม่ว่าอุบัติเหตุที่ทำให้เพื่อนรักเพื่อนแค้นต้องตาบอด ความลังเลที่จะจากรักครั้งแรกในชีวิตเพื่อไปเยี่ยมแม่ที่กำลังมีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติ ความขัดแย้งกับพ่อเจ้าอารมณ์ การคบผู้หญิงเพื่อจะหลีกหนีความเป็นเกย์ของตนจนในที่สุดก็เป็นเหตุทำให้เธอต้องฆ่าตัวตาย ฯลฯ การทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้กันตชาติประจักษ์ว่าเขาได้เข้าไปมีส่วนพัวพันกับชีวิตของคนอื่นอย่างซับซ้อน อีกทั้งยังเปิดเผยให้เห็นถึงทัศนคติของเขาที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย เช่น การที่เขาช่วยให้นักกีฬาชาวพม่าให้ลี้ภัยในขณะไปแข่งซีเกมส์ เขารู้สึกภาคภูมิใจเพราะเขาไม่ต้องทุ่มเทอะไรมากมายเท่ากับการซ้อมกระโดดน้ำ และไม่ต้องสูญเสียอะไรในชีวิตด้วย และการที่เขาไม่คิดป้องกันให้สาธิกาฆ่าตัวตายก็เช่นกัน ดูเหมือนว่าเขาจะจงใจปล่อยความบังเอิญให้เข้ามาตัดสินชะตากรรม ซึ่งเห็นได้ชัดจากคำพูดที่ว่า “ผมเคยชินกับความผิดพลาดของผมซะแล้วล่ะ” ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและเฉื่อยชาผิดกับบุคลิกอันเชื่อมั่นในตอนแรกที่เขาพูดว่า “ถ้าเขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง เขารู้แน่ชัดว่าจะทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิมได้อย่างไร” กันตชาติจึงกลายเป็นเพียงคน ๆ หนึ่งที่ยอมประพฤติตัวซ้ำซากในขณะย้อนไปทบทวนและแก้ไขปมในอดีต มากกว่าจะเป็นผู้เรียนรู้และยอมรับความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น
การซ้อมบทในช่วงที่สองแสดงให้เห็นถึงชีวิตอันแห้งแล้งระหว่างกันตชาติกับท๊อป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กันตชาติต้องการหลีกหนีให้พ้นเป็นที่สุด ท๊อปยังคงความเหนือกว่าและเป็นตัวของตัวเองมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นการถ่ายทอดออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เช่นเดียวกับตัวละครอื่น ๆ ที่ผุดขึ้นมาจากจิตสำนึกของเขา ท๊อปที่เราเห็นไม่ใช่ท๊อปตัวจริง ทั้งนี้เนื่องจากกันตชาติรู้สึกว่าเขาถูกผู้ชายคนนี้ข่มและบงการชีวิตอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็อดไม่ได้ที่จะหลงใหลได้ปลื้มผู้ชายคนนี้ไปด้วย และสิ่งเหล่านี้เองที่เราสามารถสัมผัสได้ตลอดเวลาในขณะอ่านประวัติชีวิตของ Greg Louganis โดยเฉพาะในบทที่เกี่ยวกับ “ทอม” ผู้เป็นทั้งคนรัก ผู้จัดการส่วนตัว และสาเหตุหลักแห่งหายนะในชีวิตของเขา และนี่คือที่มาของการจับเอาเรื่องราวในชีวิตของนักกีฬากระโดดน้ำผู้นี้ มาผสานกับบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel ของ Max Frisch นั่นคือ ใช้มนต์สมมุติและอัจฉริยภาพของเวทีละครเพื่อให้ผู้ชายคนหนึ่งกระทำการ “ผ่าผิวน้ำ” ด้วยการให้เขาได้มีโอกาสเลือกใหม่ ถ้าเขารู้ว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองตรงไหน และอย่างไร
ในความพยายามครั้งสุดท้ายของกันตชาติ ที่จะทลายแบบแผนอันซ้ำซากที่เป็นอยู่ก่อนหน้านั้น กันตชาติได้ตัดสินใจยิงท๊อปด้วยความขมขื่น เขาต้องใช้กระสุนปืนถึงห้านัดก่อนที่ความตั้งใจของเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงในชีวิตได้ ซึ่งตัวกันตชาติเองก็ยอมรับในภายหลังว่าเป็นเพราะคำพูดของท๊อปที่มักจะบอกซ้ำ ๆ ว่า “ตอนบ่ายผมอยู่ที่ยิม” นั้นยังคงก้องอยู่ในโสตประสาทของเขาตลอดเวลา เขาจึงยิงประโยคนี้เพื่อให้มันลบเลือนหายไป แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ล้มเลิกความตั้งใจนี้ เพราะความรักที่เขามีต่อท๊อป ถึงแม้จะแฝงไปด้วยความเจ็บปวด หึงหวง และเกลียดชังมากเพียงใด แต่ก็มีพลังเกินกว่าจะไปตรวจสอบด้วยเรื่องที่สมมุติขึ้นมาได้
ดังนั้นกันตชาติจึงแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลยในช่วงชีวิตที่เขาอยู่ร่วมกับท๊อป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอดีตนั้นเปลี่ยนยากเกินไป เขาจึงเหลือแต่ความแก่ชรากับความตายอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ที่เขาติดจากใครมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เมื่อกันตชาติหยุดเล่นเกมประวัติชีวิต เขาจึงยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า “เขากลัวความตายอย่างช้า ๆ เขากลัวที่จะต้องรอ” ด้วยเหตุนี้ “ผู้กำกับ” ซึ่งรู้เฉพาะสิ่งที่กันตชาติรู้ จึงสามารถเปิดเผยและเสนอแนะทางเลือกต่าง ๆ ที่กันตชาติมีอยู่ได้ ทำให้กันตชาติสารภาพกับท๊อปเป็นครั้งแรกว่า “เราต่างประเมินกันและกันต่ำเกินไป ทำไมเราต้องดูถูกกันด้วยนะ ทำไมทุกสิ่งทุกอย่างทำให้เราเสื่อมถอยด้อยค่ากันไปหมด หรือคนเราจะรู้จักกันเพียงในสภาพนี้เท่านั้น” ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ความตั้งใจของกันตชาติ สามารถเอาชนะจิตสำนึกที่เป็นเพียงการแสดงได้ โดยการซ้อมบทได้กลับมายังจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เมื่อผู้กำกับเปิดโอกาสให้ท๊อปได้เริ่มใหม่บ้าง เขาก็ได้ใช้แค่โอกาสที่เขาได้รับมานี้ทำตัวให้แตกต่างไปจากเดิม ด้วยการเลือกที่จะเดินออกไปจากบ้านของกันตชาติในคืนนั้น แน่นอน ในกรณีนี้ท๊อปสามารถทำได้เพราะเขาเป็นเพียงภาพสะท้อนที่ออกมาจากมุมมองของกันตชาติ เมื่อเขาถูกปลดปล่อยออกจากกติกา เขาจึงมีอิสระที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามตัวตนที่เขาเป็น
ละครเรื่องนี้อาจจะเรียกได้ว่าจัดอยู่ในหมวด “ละครแห่งจิตสำนึก” ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะสร้างขึ้นมาให้เป็น “ละครเชิงสารคดีชีวประวัติ” หรือ “ละครเลียนแบบเรื่อง” ที่มุ่งเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของนักกีฬากระโดดน้ำชื่อดัง ตามแบบแผนหรือหลักเกณฑ์ของการดัดแปลงบทที่เคยมีการทำวิจัยและยึดถือปฏิบัติกันมา(นาน) สิ่งที่น่าสนใจจึงไม่ใช่ชีวประวัติของกันตชาติที่นำเค้าโครงเหตุการณ์หรือรายละเอียด (ทั้งหมดหรือบางส่วน) มาจากเรื่องราวต่าง ๆ ในประวัติชีวิตของ Greg Louganis หากเป็นทัศนคติของตัวละครกันตชาติที่มีต่อประวัติชีวิตของตนเอง ซึ่งนั่นก็พ้องกับที่ Max Frisch ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของบทละครเรื่อง Biografie: Ein Spiel” ว่า... “ละครเรื่องนี้เล่นบนเวที ผู้ชมไม่ควรเข้าใจไปว่าเป็นสถานที่ใด ๆ ที่มีลักษณะเหมือนเวทีละคร ที่นี่จะมีเหตุการณ์ที่เป็นไปได้เฉพาะแต่ในละครเท่านั้น เหมือนกับที่น่าจะเป็นไปได้ในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง เพราะฉะนั้นเนื้อหาของละครเรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ประวัติของกันตชาติซึ่งออกจะธรรมดา หากอยู่ที่พฤติกรรมของเขาที่มีต่อสภาพความเป็นจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนที่มีความผูกพันกับเงื่อนเวลา ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีประวัติชีวิตของตนชุดหนึ่ง ละครเรื่องนี้จึงมิได้แสดงถึงเหตุการณ์ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น แต่เป็นการทบทวนเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งคล้ายกับการเล่นหมากรุกตอนที่เราตั้งตัวสำคัญที่เราเดินพลาดไปขึ้นมาใหม่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเราจะสามารถเดินหมากแบบอื่นได้หรือไม่อย่างไร ... ละครเรื่องนี้ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรทั้งสิ้น ...”
นอกจากนี้ Frisch ยังได้กล่าวไว้อีกว่า “ผู้กำกับที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องไม่ได้เป็นตัวแทนของอำนาจเหนือมนุษย์ใด ๆ เขาพูดในสิ่งที่กันตชาติรู้อยู่แล้วหรือสามารถรับทราบได้ทั้งสิ้น เขาไม่ใช่พิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการเพราะเขาไม่ได้หันมาพูดอะไรกับผู้ชมเลย แต่เขาเป็นคนช่วยให้กันตชาติได้คิดรอบด้านมากยิ่งขึ้น และไม่เริ่มจากตัวเองหรือคิดเข้าข้างตัวเองมากเกินไป ถ้าหากผู้กำกับ (ซึ่งที่จริงไม่มีใครเรียกเขาด้วยตำแหน่งนี้หรือชื่อตำแหน่งอื่นใดตลอดทั้งเรื่อง) จะเป็นตัวแทนของอำนาจใดละก็ คงเป็นอำนาจของละครที่อนุญาตให้เราทำสิ่งที่เราไม่สามารถทำในความเป็นจริงได้ นั่นคือ การได้มีโอกาสทำซ้ำ ทดลอง เปลี่ยนแปลง และด้วยวิธีการนี้ แน่นอน เขาก็มีอำนาจอยู่ในระดับหนึ่ง บทที่เขาใช้อยู่นั้นไม่ใช่บันทึกประจำวันที่กันตชาติเขียนเอาไว้ และก็ไม่ใช่แฟ้มบันทึกของหน่วยงานใดเก็บรวบรวมเอาไว้ด้วย แต่บทนี้มีอยู่แล้วในจิตสำนึกของกันตชาติ และไม่ว่าจะมีการบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดสามารถรวมกันได้จนกลายเป็นประวัติเรื่องราวของเขา เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งกันตชาติเองก็ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปได้ การเปลี่ยนสลับแสงไฟระหว่างไฟละครกับไฟทำงานบนเวที ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนสลับระหว่างภาพมายากับความเป็นจริง แต่ไฟละครหมายถึงขณะนั้นกำลังเป็นการลองสิ่งที่อาจเป็นไปได้อีกทางหนึ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ (ซึ่งไม่ได้ปรากฏบนเวทีเลย) ดังนั้นละครเรื่องนี้จึงเป็นการทดลอง และเมื่อกันตชาติเดินออกมาจากฉากใดฉากหนึ่ง เขาก็ไม่ได้ออกมาอย่างตัวแสดงตัวหนึ่งในเรื่อง แต่เขาเป็นกันตชาติ และอาจเป็นไปได้ว่าในตอนนั้นตัวเขาจะยิ่งดูน่าเชื่อมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ไม่มีฉากใดเหมาะสมถูกใจเขาจนทำให้เห็นว่าไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้ มีแต่ตัวเขาเท่านั้นที่ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นไปได้ ... ผมตั้งใจให้ละครเรื่องนี้เป็นสุขนาฏกรรม”
เรียบเรียงจาก The Plays of Max Frisch โดย Michael Butler
โดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
“ผ่าผิวน้ำ” แปลต้นฉบับจากภาษาเยอรมันโดย เจนจิรา เสรีโยธิน, ปานรัตน กริชชาญชัย และจากภาษาอังกฤษโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง สร้างบทและกำกับการแสดงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ นำแสดงโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง, นพพันธ์ บุญใหญ่, สุเกมส์ กาญจนกันติกุล ร่วมด้วยนักแสดงละครเวทีอีกคับคั่ง อาทิ เกรียงไกร ฟูเกษม, ปานรัตน กริชชาญชัย, ศุภฤกษ์ เสถียร, สาธิกา โภคทรัพย์, ณัฐกานต์ ภู่เจริญศิลป์ และ ช่อลดา สุริยะโยธิน
“ผ่าผิวน้ำ” แปลต้นฉบับจากภาษาเยอรมันโดย เจนจิรา เสรีโยธิน, ปานรัตน กริชชาญชัย และจากภาษาอังกฤษโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง สร้างบทและกำกับการแสดงโดย ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์ นำแสดงโดย กฤษณะ พันธุ์เพ็ง, นพพันธ์ บุญใหญ่, สุเกมส์ กาญจนกันติกุล ร่วมด้วยนักแสดงละครเวทีอีกคับคั่ง อาทิ เกรียงไกร ฟูเกษม, ปานรัตน กริชชาญชัย, ศุภฤกษ์ เสถียร, สาธิกา โภคทรัพย์, ณัฐกานต์ ภู่เจริญศิลป์ และ ช่อลดา สุริยะโยธิน
จัดแสดง ณ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์
ทุกคืนเวลา 19.30 น. (เว้นคืนวันจันทร์) ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 25 พฤษภาคม 2551
จองบัตรได้ที่โทร 086 787 7155 และ 089 600 2295 (รับผู้ชมจำนวนจำกัดเพียง 40 คนต่อรอบเท่านั้น)
หมายเหตุ: ละครเรื่องนี้มีความยาว 2 ชั่วโมง ไม่รวมพักครึ่ง 10 นาที
ทุกคืนเวลา 19.30 น. (เว้นคืนวันจันทร์) ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 25 พฤษภาคม 2551
จองบัตรได้ที่โทร 086 787 7155 และ 089 600 2295 (รับผู้ชมจำนวนจำกัดเพียง 40 คนต่อรอบเท่านั้น)
หมายเหตุ: ละครเรื่องนี้มีความยาว 2 ชั่วโมง ไม่รวมพักครึ่ง 10 นาที
No comments:
Post a Comment