สารจากผู้กำหนดทิศทาง “หยดน้ำตาในทะเล”
การแสดง “หยดน้ำตาในทะเล” ครั้งนี้ ร่วมแสดงในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ซึ่งเป็นง่านแสดงผลงานศิลปะของหลายสาขาจากศิลปินหลายรุ่นในพื้นที่เดียวกัน และแกนของงานในครั้งนี้ข้อหนึ่งคือการทำงานร่วมกันของสื่อต่างแขนง เราจึงเลือกหยิบวรรณกรรมบทกวี “ทะเลรุ่มร้อน” ของ วารี วายุ มาจุดประกายในการทำงานครั้งนี้ เพราะสนใจเรื่องแรงบันดาลใจที่กวีมีต่อเหตุการณ์ต่างๆรอบตัวที่พบเห็นและกลั่นกรองเป็นบทกวีที่มีความหมายกึ่งฝันกึ่งจริง และจากตัวอักษรที่มีความหมายเหล่านั้นก็ส่งผ่านมายังเราคนทำงานใช้เป็นแรงบันดาลใจในการร่วมคิดร่วมค้นหาการเคลื่อนไหวผ่านการใช้ร่างกายของนักแสดงโดยใช้กลวิธีการร่วมคิดร่วมสร้างร่วมค้นหาของกลุ่มนักแสดง การอ่านบทกวี การใช้ดนตรีประกอบ ภาพเคลื่อนไหว โดย ธัญสก พันสิทธิวรกุล และการวาดเงาทรายโดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์ และ นพพันธ์ บุญใหญ่ มาช่วยสนับสนุนการสร้างภาพที่เคลื่อนไหวไปกับการแสดงให้มีความหมายและความสวยงาม แต่ทั้งหมดทั้งมวลของการแสดงครั้งนี้มิได้มุ่งเน้นในการเล่าเรื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่า “ดูแบบไม่เอาเรื่อง” แต่หากดูได้แบบเลื่อนไหลไปกับการแสดงที่ถูกตีความจากบทกวีให้กลายภาพเคลื่อนไหวที่ใช้พลังขับเคลื่อนของนักแสดง
การสร้างงานในแต่ละครั้งและแต่ละชิ้นมีที่มาที่ไปเหตุและผลที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของผลงานที่หลากหลายรูปแบบ น่าจะเป็นการเดินทางค้นหาของทั้งผู้ทำงานและผู้ชม
ขอขอบคุณผู้ชมที่มาชมและสนับสนุนงานศิลปะการละคร
สินีนาฏ เกษประไพ
ตุลาคม 2551
การแสดง “หยดน้ำตาในทะเล” ครั้งนี้ ร่วมแสดงในงานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ซึ่งเป็นง่านแสดงผลงานศิลปะของหลายสาขาจากศิลปินหลายรุ่นในพื้นที่เดียวกัน และแกนของงานในครั้งนี้ข้อหนึ่งคือการทำงานร่วมกันของสื่อต่างแขนง เราจึงเลือกหยิบวรรณกรรมบทกวี “ทะเลรุ่มร้อน” ของ วารี วายุ มาจุดประกายในการทำงานครั้งนี้ เพราะสนใจเรื่องแรงบันดาลใจที่กวีมีต่อเหตุการณ์ต่างๆรอบตัวที่พบเห็นและกลั่นกรองเป็นบทกวีที่มีความหมายกึ่งฝันกึ่งจริง และจากตัวอักษรที่มีความหมายเหล่านั้นก็ส่งผ่านมายังเราคนทำงานใช้เป็นแรงบันดาลใจในการร่วมคิดร่วมค้นหาการเคลื่อนไหวผ่านการใช้ร่างกายของนักแสดงโดยใช้กลวิธีการร่วมคิดร่วมสร้างร่วมค้นหาของกลุ่มนักแสดง การอ่านบทกวี การใช้ดนตรีประกอบ ภาพเคลื่อนไหว โดย ธัญสก พันสิทธิวรกุล และการวาดเงาทรายโดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์ และ นพพันธ์ บุญใหญ่ มาช่วยสนับสนุนการสร้างภาพที่เคลื่อนไหวไปกับการแสดงให้มีความหมายและความสวยงาม แต่ทั้งหมดทั้งมวลของการแสดงครั้งนี้มิได้มุ่งเน้นในการเล่าเรื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่า “ดูแบบไม่เอาเรื่อง” แต่หากดูได้แบบเลื่อนไหลไปกับการแสดงที่ถูกตีความจากบทกวีให้กลายภาพเคลื่อนไหวที่ใช้พลังขับเคลื่อนของนักแสดง
การสร้างงานในแต่ละครั้งและแต่ละชิ้นมีที่มาที่ไปเหตุและผลที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของผลงานที่หลากหลายรูปแบบ น่าจะเป็นการเดินทางค้นหาของทั้งผู้ทำงานและผู้ชม
ขอขอบคุณผู้ชมที่มาชมและสนับสนุนงานศิลปะการละคร
สินีนาฏ เกษประไพ
ตุลาคม 2551
No comments:
Post a Comment