เราค้นไปเจอบทวิจารณ์ละครเวทีเรื่อง "ไฟล้างบาป" จากบล๊อกช.ช้างกระทืบโลง เลยนำมาแบ่งกันอ่านที่ หากใครสนใจอ่านบทวิจารณ์ละครเวทีเรื่องอื่นๆได้ที่นี่
ไฟล้างบาป
อาชญากรรมและการลงทัณฑ์ ?
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มิตรรุ่นพี่ท่านหนึ่งเคยเปรยขึ้นในวงสนทนาว่า “นรก” ในจินตภาพของคนไทยนั้น ดูๆ ไปก็ไม่ผิดกับครัว คือมีทั้งไฟ กระทะ และของมีคมนานาชนิด บรรดาสัตว์นรกทั้งหลายก็จะต้องมาชำระล้างบาปของตน ด้วยกรรมวิธีเฉกเช่นเดียวกับที่ “ของสด” ถูกหั่น สับ ปิ้ง ย่าง ต้ม แกง จนกลายเป็น “กับข้าว” ที่เป็น “ของสุก”
ไฟล้างบาป ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร ที่เพิ่งกลับมาขึ้นเวทีอีกครั้ง ก็ชวนให้ผมนึกถึงถ้อยคำของอาวุโสท่านนั้นขึ้นมาอีกครั้ง เพราะบางทีบางที่ “นรก” ก็อาจอยู่ถัดจากครัวไปอีกหน่อยหนึ่ง...
แน่นอนว่า สำหรับละครเรื่องนี้ (หรือเรื่องไหนๆ ก็เถอะ!) นักแสดงย่อมเป็นส่วนสำคัญ แต่ละคนของไฟล้างบาป ล้วนจัดอยู่ในระดับ “ยอดฝีมือ” ของวงการละครเวทีร่วมสมัยของเมืองไทย เช่น สินีนาฏ เกษประไพ เจ้าของรางวัลศิลปาธร ปี พ.ศ. 2551 ในฐานะศิลปินร่วมสมัยด้านการละคร หรือ ฟารีดา จิราพันธุ์ ซึ่งถ้าให้เดา ก็มีท่าทีว่าคงจะได้รับเกียรติยศอย่างเดียวกันกับสินีนาฏในอีกไม่นานเกินรอ
แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ก็คือบทละคร ซึ่งริเริ่มโดยนักแสดงทั้งสี่ของเรื่องนี้เอง ในการจัดเวิร์คช็อปของเพต้า (PETA - Philippines Educational Theatre Association) ที่กรุงฮา
นอย ประเทศเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2549 และพัฒนาต่อมา จนได้ออกตระเวนทัวร์แสดงตามสถาบันการศึกษาต่างๆ นับสิบแห่งในประเทศ และล่าสุด ก่อนหน้าการแสดงครั้งล่าสุดนี้ พวกเธอๆ ก็เพิ่งกลับมาจากการนำละครไปแสดงในเทศกาล Mekong Arts and Media Festival 2009 ที่โรงละครจตุมุข กรุงพนมเปญ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมานี่เอง
ไฟล้างบาป เริ่มต้นขึ้น ณ สถานที่แปลกประหลาดแห่งหนึ่ง จะด้วยเหตุผลกลใดไม่แน่ชัด ผู้หญิงแปลกหน้าสามคนมาพบกัน มีทั้ง “ป้าทอม” หนุ่มใหญ่ในร่างหญิง (สินีนาฏ เกษประไพ) ลูกจ้างทำงานบ้าน (ศรวณี ยอดนุ่น) และดาราสาวคนดัง (ฟารีดา จิราพันธุ์) ในไม่ช้า พวกเธอก็ตระหนักว่า ตัวเองตายไปแล้ว และสรุปกันว่า สถานที่แห่งนั้นคงต้องเป็น “นรก”
แต่นรกขุมนั้น ไม่มีเปลวไฟ และไม่มียมบาลใส่หมวกเขาควาย ทว่า จู่ๆ ก็มีกองเสื้อผ้าสกปรก กะละมัง 3 ใบ และผงซักฟอกกล่องใหญ่ขนาดเท่ากระเป๋าเดินทาง หล่นลงมา พวกเธอทั้งสามก็สำเหนียกว่า ในเมื่อที่นั่นเป็นนรก พวกเธอก็ย่อมมีหน้าที่ต้องชดใช้ความผิดบาปที่เคยกระทำมาเมื่อครั้งยังมีชีวิต จึงก้มหน้าก้มตาซักผ้า ชำระล้างบาปไป
ชีวิตซ้ำซากเวียนวนในนรกขุมซักผ้านี้ ดำเนินไปควบคู่กับการที่ผู้หญิงแต่ละคน เริ่มผลัดกันเล่าเท้าความถึงชีวิตเมื่อยังอยู่บนโลกมนุษย์ของตน ไม่ว่าจะเป็น “ป้าทอม” กับความรักแบบ “หญิงรักหญิง” ที่ถูกสังคมประณามว่าผิดเพศ ดาราสาวกับพฤติกรรม “ฉาวโฉ่” ในชีวิตส่วนตัว รวมทั้งเด็กสาวบ้านนอก ผู้ถูกกลุ่มชายโฉดรุมข่มเหง สร้างตราบาปให้แก่ชีวิตเธอ
แต่ครั้นแล้ว ทุกคนก็เริ่มตั้งคำถามว่า สิ่งที่เธอ “เป็น” นั้น มันเป็นความผิดบาปอย่างมหันต์ถึงขนาดที่ต้องตกนรกหมกกะละมังอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์เช่นนั้นเชียวหรือ พวกเธอจึงกู่ก้องตะโกนเรียกหา “ท่าน” เพื่อทวงถาม
ในที่สุด “ท่าน” (สุมณฑา สวนผลรัตน์) ก็ปรากฏตัวออกมา เป็นสาวใหญ่ในชุดขาว ด้วยมาดสตรีหมายเลขหนึ่ง ท่ามกลางความงุนงงของทุกคนว่า เหตุใด “ท่าน” (
พระเจ้า? ยมบาล? ใคร?) จึงเป็นผู้หญิง ต่างกับภาพที่มักนึกกันโดยทั่วไปว่าผู้มีอำนาจสูงสุดในจักรวาลจะต้องเป็นเพศชาย
ยิ่งไปกว่านั้น “ท่าน” ซึ่งสั่งให้ทุกคนเรียกเธอว่า “โกลดี้” ก็ย้อนถามทั้งสามสาวว่า มีใครบอกให้เธอไปซักผ้าหรือไม่ ? หรือพวกเธอทำไปเองเพียงเพราะความเคยชิน ? ทั้งยังสำทับด้วยว่า กะละมังนั้น ถ้าไม่หงายใส่น้ำซักผ้า ก็สามารถคว่ำลงใช้วางเท้าได้!
เช่นเดียวกับ “โทษบาป” ที่ทั้งสามคนแบกรับไว้นั้น ล้วนไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไร ไม่ใช่ความผิด ไม่ใช่สิ่งที่ต้องชดใช้ด้วยการลงโทษทัณฑ์ ว่าแล้ว โกลดี้ก็ลุกขึ้นเต้น จับมือกับสามสาว พากันเต้นออกไปจาก “นรกแม่บ้าน” นั้น...
ไฟล้างบาป ใช้เวลาแสดงเพียงไม่ถึงชั่วโมง แต่ก็นำเสนอ “สาร” ได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็น

ประเด็นที่ว่าด้วย “คำพิพากษา” ที่สังคมมีแก่ผู้หญิง ว่า ผู้หญิง “ที่ดี” หรือ “ปกติ” นั้น ต้องมีคุณสมบัติเช่นไร ควรต้องทำอะไร มีเพศสัมพันธ์แบบไหน กับใครได้บ้าง ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างภาวะจำยอม และเป็นภาระที่ต้องแบกติดตัวไปตลอดชีวิต (หรือเลยไปกว่านั้นด้วย...)
แม้ประเด็นเหล่านี้ อาจดูเหมือน “เกือบ” จะเชย เพราะก็มีการหยิบยกมานำเสนอบนเวทีละครของกลุ่มละครเล็กๆ ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง แต่ที่มันยังไม่เชย ก็เพราะนอกโรงละคร พ้นไปจากเวทีเล็กๆ นั้น ในโลกจริงข้างนอก การฉกฉวยโอกาสจากร่างกาย และ “ความเป็นหญิง” ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เหมือนที่เคยเป็นมา ซ้ำร้าย ยิ่งทวีความรุนแรงและความแยบยลขึ้นเป็นลำดับ
และผมก็เชื่อ – ด้วยความเศร้าใจยิ่ง – ว่า ไฟล้างบาป จะยังสามารถนำกลับมาขึ้นเวที (Restage) ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้นานปี โดยยังไม่ล้าสมัยง่ายๆ
ไฟล้างบาป (Restage)
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
นักแสดง สินีนาฏ เกษประไพ, ศรวณี ยอดนุ่น, ฟารีดา จิราพันธุ์, สุมณฑา สวนผลรัตน์
Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์
3-7 ธันวาคม 2552
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Vote ฉบับที่ 117 ปักษ์หลัง พฤษภาคม 2553
เขียนโดย ช้าง กระทืบโรง

อาชญากรรมและการลงทัณฑ์ ?
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มิตรรุ่นพี่ท่านหนึ่งเคยเปรยขึ้นในวงสนทนาว่า “นรก” ในจินตภาพของคนไทยนั้น ดูๆ ไปก็ไม่ผิดกับครัว คือมีทั้งไฟ กระทะ และของมีคมนานาชนิด บรรดาสัตว์นรกทั้งหลายก็จะต้องมาชำระล้างบาปของตน ด้วยกรรมวิธีเฉกเช่นเดียวกับที่ “ของสด” ถูกหั่น สับ ปิ้ง ย่าง ต้ม แกง จนกลายเป็น “กับข้าว” ที่เป็น “ของสุก”
ไฟล้างบาป ของพระจันทร์เสี้ยวการละคร ที่เพิ่งกลับมาขึ้นเวทีอีกครั้ง ก็ชวนให้ผมนึกถึงถ้อยคำของอาวุโสท่านนั้นขึ้นมาอีกครั้ง เพราะบางทีบางที่ “นรก” ก็อาจอยู่ถัดจากครัวไปอีกหน่อยหนึ่ง...

แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ก็คือบทละคร ซึ่งริเริ่มโดยนักแสดงทั้งสี่ของเรื่องนี้เอง ในการจัดเวิร์คช็อปของเพต้า (PETA - Philippines Educational Theatre Association) ที่กรุงฮา

ไฟล้างบาป เริ่มต้นขึ้น ณ สถานที่แปลกประหลาดแห่งหนึ่ง จะด้วยเหตุผลกลใดไม่แน่ชัด ผู้หญิงแปลกหน้าสามคนมาพบกัน มีทั้ง “ป้าทอม” หนุ่มใหญ่ในร่างหญิง (สินีนาฏ เกษประไพ) ลูกจ้างทำงานบ้าน (ศรวณี ยอดนุ่น) และดาราสาวคนดัง (ฟารีดา จิราพันธุ์) ในไม่ช้า พวกเธอก็ตระหนักว่า ตัวเองตายไปแล้ว และสรุปกันว่า สถานที่แห่งนั้นคงต้องเป็น “นรก”
แต่นรกขุมนั้น ไม่มีเปลวไฟ และไม่มียมบาลใส่หมวกเขาควาย ทว่า จู่ๆ ก็มีกองเสื้อผ้าสกปรก กะละมัง 3 ใบ และผงซักฟอกกล่องใหญ่ขนาดเท่ากระเป๋าเดินทาง หล่นลงมา พวกเธอทั้งสามก็สำเหนียกว่า ในเมื่อที่นั่นเป็นนรก พวกเธอก็ย่อมมีหน้าที่ต้องชดใช้ความผิดบาปที่เคยกระทำมาเมื่อครั้งยังมีชีวิต จึงก้มหน้าก้มตาซักผ้า ชำระล้างบาปไป

แต่ครั้นแล้ว ทุกคนก็เริ่มตั้งคำถามว่า สิ่งที่เธอ “เป็น” นั้น มันเป็นความผิดบาปอย่างมหันต์ถึงขนาดที่ต้องตกนรกหมกกะละมังอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์เช่นนั้นเชียวหรือ พวกเธอจึงกู่ก้องตะโกนเรียกหา “ท่าน” เพื่อทวงถาม
ในที่สุด “ท่าน” (สุมณฑา สวนผลรัตน์) ก็ปรากฏตัวออกมา เป็นสาวใหญ่ในชุดขาว ด้วยมาดสตรีหมายเลขหนึ่ง ท่ามกลางความงุนงงของทุกคนว่า เหตุใด “ท่าน” (

ยิ่งไปกว่านั้น “ท่าน” ซึ่งสั่งให้ทุกคนเรียกเธอว่า “โกลดี้” ก็ย้อนถามทั้งสามสาวว่า มีใครบอกให้เธอไปซักผ้าหรือไม่ ? หรือพวกเธอทำไปเองเพียงเพราะความเคยชิน ? ทั้งยังสำทับด้วยว่า กะละมังนั้น ถ้าไม่หงายใส่น้ำซักผ้า ก็สามารถคว่ำลงใช้วางเท้าได้!
เช่นเดียวกับ “โทษบาป” ที่ทั้งสามคนแบกรับไว้นั้น ล้วนไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไร ไม่ใช่ความผิด ไม่ใช่สิ่งที่ต้องชดใช้ด้วยการลงโทษทัณฑ์ ว่าแล้ว โกลดี้ก็ลุกขึ้นเต้น จับมือกับสามสาว พากันเต้นออกไปจาก “นรกแม่บ้าน” นั้น...
ไฟล้างบาป ใช้เวลาแสดงเพียงไม่ถึงชั่วโมง แต่ก็นำเสนอ “สาร” ได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็น

ประเด็นที่ว่าด้วย “คำพิพากษา” ที่สังคมมีแก่ผู้หญิง ว่า ผู้หญิง “ที่ดี” หรือ “ปกติ” นั้น ต้องมีคุณสมบัติเช่นไร ควรต้องทำอะไร มีเพศสัมพันธ์แบบไหน กับใครได้บ้าง ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างภาวะจำยอม และเป็นภาระที่ต้องแบกติดตัวไปตลอดชีวิต (หรือเลยไปกว่านั้นด้วย...)
แม้ประเด็นเหล่านี้ อาจดูเหมือน “เกือบ” จะเชย เพราะก็มีการหยิบยกมานำเสนอบนเวทีละครของกลุ่มละครเล็กๆ ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง แต่ที่มันยังไม่เชย ก็เพราะนอกโรงละคร พ้นไปจากเวทีเล็กๆ นั้น ในโลกจริงข้างนอก การฉกฉวยโอกาสจากร่างกาย และ “ความเป็นหญิง” ก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เหมือนที่เคยเป็นมา ซ้ำร้าย ยิ่งทวีความรุนแรงและความแยบยลขึ้นเป็นลำดับ
และผมก็เชื่อ – ด้วยความเศร้าใจยิ่ง – ว่า ไฟล้างบาป จะยังสามารถนำกลับมาขึ้นเวที (Restage) ซ้ำแล้วซ้ำอีกได้นานปี โดยยังไม่ล้าสมัยง่ายๆ
ไฟล้างบาป (Restage)
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
นักแสดง สินีนาฏ เกษประไพ, ศรวณี ยอดนุ่น, ฟารีดา จิราพันธุ์, สุมณฑา สวนผลรัตน์
Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์
3-7 ธันวาคม 2552
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Vote ฉบับที่ 117 ปักษ์หลัง พฤษภาคม 2553
เขียนโดย ช้าง กระทืบโรง
ขอขอบคุณ:
ช.ช้างกระทืบโลง
ภาพถ่ายโดย:
จีรณัท เจียรกุล
No comments:
Post a Comment