บทวิจารณ์ “DeadSaMoRe”
เขียนโดย อภิรักษ์ ชัยปัญหา
ข้อมูลจาก Madame FIGARO เดือนกรกฎาคม 2553
“การมีความทรงจำเลอเลิศแต่ ‘หลอกๆ’
กับไร้ความทรงจำ อะไรเจ็บปวดกว่ากัน”
ต้องยอมรับว่า นพพันธ์ บุญใหญ่ เป็นนักการละครสมัยใหม่ที่ขยันมากที่สุด ไฟแรงมากที่สุดในยุคนี้...เพียงผ่านมาครึ่งปี เขามีผลงานมาให้เราชมในปีนี้เป็นเรื่องที่สองแล้ว เรื่องแรกเขาทำงานกับคนรัก แต่เรื่องใหม่นี้เขาทำงานเดี่ยว เขียนบทละคร กำกับการแสดง และแสดงนำ
นับตั้งแต่ละครเรื่องแรกของเขาเมื่อสามปีก่อนจนถึงวันนี้ เขาผลิตผลงานละครเวทมีมาแล้ว 6 เรื่อง ไม่นับรวมผลงานย่อยๆที่เขาไปร่วมแจมกับเพื่อนศิลปินในสาขาอื่นๆ ผลงานของเขาสร้างแรงสะเทือนให้กับวงการละครเวทีร่วมสมัยไม่น้อย ด้วยมีทั้งผู้ชมที่ชื่นชมผลงานของเขาอย่างมากและขณะเดียวกันก็มีคนไม่ชอบผลงานของเขาเลย แต่ถึงกระนั้นงานทุกชิ้นของเขาก็กลายเป็นสิ่งที่ “ต้องดู” เสมอ
เด๊ดสะมอเร่ เป็นละครอีกเรื่องหนึ่งที่นพพันธ์ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบ แอ๊บเสริ์ด (absurd) คือการเล่าเรื่องของชีวิตที่ดูราวกับเป็นเรื่องตลกขบขันไร้สาระไม่เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งการเสพละครประเภทนี้ ข้อดีคือดูในระดับความบันเทิงก็ได้ เพราะนพพันธ์จัดมุขตลกร่วมสมัยเอาไว้ในละครของเขาเพียบ หรือจะดูในระดับลึกขึ้นอีกหน่อยก็ได้ เพราะนพพันธ์มีพื้นฐานเป็นนักนักอ่าน นักเสพงานศิลปะ ดังนั้นงานของเขาจึงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ และการจัดวางเอาไว้เพื่อตีความเสมอ...
เด๊ดสะมอเร่ เล่าเรื่องชีวิตหลังความตายที่มาแบบไม่ทันตั้งตัวของชายหนุ่มนักทำงานโฆษณา (นพพันธ์ บุญใหญ่) ที่ต้องประสบอุบัตืเหตุเสียชีวิตพร้อมๆกับกิ๊กของเขา เมื่อเขาฟื้นขึ้นมาก็พบกับชายลึกลับตนหนึ่ง (กีรติ ศิวะเกื้อ) ที่มารอรับเขาอยู่ และจะพาขำปไหนสักแห่ง แต่จู่ๆก็ปรากฏหญิงสาวลึกลับชุดขาวอีกคนหนึ่งที่ต้องการมาพาตัวเขาไปอีกแห่ง และในระหว่างที่ชายหญิงคู่นี้กำลังแย่งตัวเขาอยู่ เขาก็ได้มาพบกับฮิปปี้หนุ่ม (สายฟ้า ตันธนา) ผู้ออกมาวิพากษ์ปรัชญาการเมืองพร้อมๆกับจัดวางเครื่องปฐมพยาบาล ที่พอจัดเสร็จก็เก็บคืน แล้วจากไป และวิญญาณลามะเร่ร่อน (พลัฏ สังขกร) ที่อยู่ดีๆก็ลุกขึ้นจะมากินเขาเสียอย่างนั้น
ประเด็นท้าทายของละครเรื่องนี้ไปอยู่ตรงที่ชายชุดดำและหญิงชุดขาวต้องการให้เขากรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเพื่อเลือกความทรงจำที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิต เพื่อจะได้ติดตัวเขาไปในชีวิตใหม่...แต่เขาเลือกไม่ได้ เพราะเขายืนยันว่าไม่มี!
แต่กระนั้นเขายังมีความฝัน นั่นคือการได้รับรางวัลออสการ์และกล่าวขอบคุณบุคคลต่างๆ ดังนั้นชายลึกลับและหญิงลึกลับ จึงช่วยกันจำลองความฝันของเขาให้ออกมาเป็นภาพเสหมือนจริง จากนั้นเขาก็พร้อมจะออกเดินทาง ไปอีกโลกหนึ่งพร้อมๆกับความทรงจำ “เทียม” ติดตัวไปด้วย... เจ็บไหมครับ!
ละครเลือกเล่าความตายในแบบทีเลานทีจริง ตั้งแต่การยืมชื่อ “เด๊ดสะมอเร่” มาจากคุณเทิ่ง สติเฟื่อง พิธีกรรายการทีวียุคคุณยายมาใช้ การเล่นกับกติกาในโลกหลังความตายในแบบที่ไม่ได้เป็นกฏเกณฑ์เรื่องจักรวาลที่เรคุ้นเคย ซึ่งเต้มำปด้วยความกำกวม คลุมเครือ แต่ขระเดียวกันความลุ่มหลงบรรยากาศในอดีตของนพพันธ์ ก็ยังฉายออกมาเต็มละคร ผ่านสไลด์ที่เขาฉายเป็นฉาก เพลงประกอบที่เขานำเพลงประกอบภาพยนตร์เก่าๆ รวมทั้งการจตั้งชื่อ
นพพันธ์เลือกใช้เทคนิคการเล่าเรื่องน้องลงกว่าผลงานชิ้นก่อนๆ แต่ในด้านบท ผมกลับรู้สึกว่าเรื่องนี้ไปได้ลึกกว่าผลงานชิ้นก่อนๆพอสมควร การออกแบบแสงที่น้อยแต่มีประสิทธิภาพมากช่วยให้เรื่องดูมีมิติและเหงาหม่น อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องจะเน้นความไม่สมจริง แต่ผมก็ยังอยากเห็น “ความจริง” ที่ตัวละครเชื่อ ออกมาพร้อมกับการแสดงที่ดูไร้สาระนั้น เหมือนกับที่สายฟ้าได้ให้การแสดงที่ดีเยี่ยมในเรื่องนี้ไว้จากตัวละครอื่นๆเพิ่มขึ้น ในการรีเสตจครั้งต่อไป
ดูละครเรื่องนี้จบ ผมไม่ได้กลัวความตาย... แต่ผมกลัวการตายอย่างไร้ความทรงจำที่มีค่ามากกว่า....
ขอขอบคุณ
คุณอภิรักษ์ ชัยปัญหา และ Madame Figaro
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment