Wednesday, 29 April 2009
รวมงาน
เราเปิด Crescent Moon space อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 เมษายน 2550 ก็เปิดมาได้สองปีแล้ว เรากำลังก้าวเข้าสู่ปีที่สามก็เลยลองรวบรวมจำนวนละครและกิจกรรมต่างๆที่มาลงในสเปซ ได้ดังนี้
จัดแสดงละครไปแล้ว 23 เรื่อง (ไม่รวมละครที่รีสเตจ)
รวมจำนวนรอบ 194 รอบ
อบรม 9 ครั้ง
เสวนา 8 ครั้ง
เทศกาลละคร 1 ครั้ง (เทศกาลผู้หญิงในดวงจันทร์)
งานศิลปะและการแสดงสด 1 ครั้ง
ฉายหนัง 3 ครั้ง
งานอ่านบทละคร 1 ครั้ง (อ่านบทละคร : อ่านเรื่องรัก)
ประมาณว่าเรามีผู้ชมมาเข้าชมและเข้าร่วมกิจกรรมในโรงละครเล็กๆของเราแล้ว น่าจะมากกว่า 6,000 คน
"เราขอแสดงความขอบคุณศิลปินละครและผู้ชมคนรักละครที่เข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่เล็กๆแห่งนี้"
Monday, 27 April 2009
Don't think just be, acting workshop
เรียนรู้การใช้ร่างกาย ในการเคลื่อนไหวและในการสื่อสาร
ทำความเข้าใจกับบทด้วยวิธีที่ไม่ซับซ้อน
เพื่อนำไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ และสำหรับการใช้งานจริงในรูปแบบละครเวที / ทีวี / ภาพยนตร์
* เสื้อผ้าที่สวมใส่สบายๆ
* เวริค์ชอปสองวัน ราคา 1000 บาท
* ติดต่อ 086 814 1676
6 pm -10pm
@ Crescentmoon Space
Crescent Moon summer class: showcase
เรื่องแรกเป็นการบทกวี “The Bread Shop” จากการอบรม Devised workshop ภายใต้โจทย์การอ่านบทกวี กับการทำงานกลุ่มระดมความคิดร่วมคิดร่วมสร้าง ภายในเวลา 1 ชั่วโมง
เรื่องที่ 2 เป็นละครสั้น จากการอบรมละครสร้างสรรค์ หัวข้อวรรณกรรมเยาวชน นำเสนอเรื่อง “แทนคำนำ” ซึ่งเป็นการทำงานจากกระบวนการกลุ่ม
เรื่องที่ 3 เป็นละครสั้นจากการอบรมละครสร้างสรรค์จากวรรณกรรมเยาวชนอีกเช่นเดียวกัน เสนอเรื่อง “โมนี่กับรูปวาดชิ้นเอก”
เรื่องที่ 4 เป็นละครสั้นจากนิทานบทกลอน “หมาเก้าหาง” ของคุณสุจิตต์ วงศ์เทศ เป็นการทำงานจากกระบวนกลุ่มใน Devised workshop ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ทำงานภายใต้โจทย์เดียวกันและทำงานภายในเวลา 1 ชั่วโมง เราเลือกผลงานของกลุ่มที่ใช้คนน้อยที่สุด คือ 3 คน มานำเสนอ
เรามีสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวและน้องๆฝึกงานทั้งหมด 14 คน มาร่วมกระบวนการอบรม โดยมีผู้นำกระบวนการคือ สินีนาฏ เกษประไพ ให้คำปรึกษาโดย ครูคำรณ คุณะดิลก
หลังจากการแสดงผลงาน มีการพูดคุยกันตามอัธยาศัย
และโปรดติดตามละครของพระจันทร์เสี้ยวเรื่องใหม่ได้เร็วๆนี้
ภาพถ่ายโดย: ภูมิฐาน ศรีนาค
ดูเพิ่มเติมที่นี่
http://www.crescentmoontheatre.blogspot.com
Party #3 photo
ชมภาพบรรยากาศหน้างานกันก่อน
หน้าตาอาหารหลากหลาย
เข้าโรงละคร Crescent Moon space
ถ่ายภาพโดย ภูมิฐาน ศรีนาค
Friday, 24 April 2009
new work in June
สินีนาฏ เกษประไพ และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ร่วมด้วย ด.ญ.อภิชญา สมบูรณ์
a performance by
Sineenadh Keitprapai and Dujdao Vadhanapakorn
ภาพเคลื่อนไหวโดย มนุสสา วรสิงห์
Direction by Dujdao Vadhanapakorn
Film by Manussa Vorrasingha
inside Pridi Banomyong Inst(BTS Thonglor)
081 525 7671 (Thai)
084 713 5075 (Eng)
Thursday, 23 April 2009
a room with the view
Crescent Moon Summer Class - showcase
Monday, 20 April 2009
ห้องเรียนพระจันทร์เสี้ยว
การอบรมในหัวข้อแรก Training for the trainer ผู้นำกระบวนการละครสำหรับเยาวชน จบลงแล้วเมื่อวาน ส่วนวันนี้จะเริ่มหัวข้อต่อไป แนะนำวิธีทำงานแบบระดมความคิดใช้กระบวนการกลุ่ม
Thursday, 16 April 2009
Back to Basic : acting workshop II
รับจำนวนจำกัด (10 คน)
สินีนาฏ เกษประไพ
เวลา 13.00 – 18.00 น. (รวม 15 ชั่วโมง)
ที่ Crescent Moon Space
สถาบันปรีดี พนมยงค์ (ซอยทองหล่อ)
E-mail: backtobasic@crescentmoontheatre.com
Crescent Moon space: Party #3
"ปาร์ตี้ปีสาม"
ขอเชิญเพื่อนคนละครและคนรักละครร่วมพบปะสังสรรค์ ปาร์ตี้น้ำหวาน และชมการแสดงเล็กๆจากชาวพระจันทร์เสี้ยวและเพื่อนเนื่องในวาระละครโรงเล็ก Crescent Moon space ก้าวเข้าสู่ปีที่สามแล้วจ้า
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552
เวลา18:00 น. เป็นต้นไป
@ Crescent Moon Space
โทร 083 995 6040
Wednesday, 15 April 2009
Back to Basic worshop - photo
ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนที่อนุญาตให้เรานำภาพมาลง
Tuesday, 14 April 2009
มีอะไรน่าสนใจใน Something else
และหนึ่งในเรื่องที่ผมเลือกดูบรรดาละครที่ดาษดื่นช่วงนี้ นั่นก็คือ Something Else
Something Else เรียกได้ว่า เป็นผลงานชิ้นแรกๆ และชิ้นล่าสุดหลังจากเพิ่งสำเร็จวิชาละครบำบัดจากอังกฤษ ของดุจดาว วัฒนปกรณ์ หรือพี่ดุจดาวนั่นเอง และนับได้ว่าเป็นละครที่มีจุดเดนน่าสนใจอยู่หลายจุดด้วยกันทีเดียวเชียวแหละ และก็เป็นหนึ่งในบรรดาละครร่วมสมัยไทยปัจจุบันนี้ ที่มักจะสร้างความงุนงงสงสัยกับผู้ชม กลับบ้านไปหกสูงคิดไปสามสิบตลบยังนึกไม่ออกว่ามันจะบอกอะไรกับเรา ก็ยังคิดไม่ออก ดังที่ผู้คนส่วนใหญ่ค่อนแคะกันหนาหูว่า เหตุที่ละครโดยเฉพาะกลุ่มเล็กๆ ไม่เป็นที่นิยมนั้น เพราะมีฉลากติดหน้าว่าละครพวกนี้ “ดูไม่รู้เรื่อง” ไม่มีฉากสวย ไม่มีดาราดัง ไม่มีน้ำตก หรือซกเล็กอะไรต่างๆ นานา
แต่เรื่องนี้มันไปได้มากกว่านั้นน่ะสิ เพราะว่าในความที่ดูง่ายๆ อะไรที่ดูไม่ซับซ้อน แต่กลับเข้าใจยากพอสมควร ในขณะเดียวกัน ไอ้ความเข้าใจยากของมันกลับเป็นคำถามที่ฟังดูง่ายๆ เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอย่างน่าประหลาด
จริงๆ แล้วการนิยามว่า Something Else จะเป็นการแสดงที่เรียกว่า “ละคร” ได้อย่างเต็มที่หรือเปล่านั้นก็ยากลำบากพอตัวอยู่ เพราะว่าการแสดงชุดนี้ ด้วยเหตุว่า มันไม่มีเรื่องอะไรให้เรามานั่งเล่าให้เราฟังตั้งแต่ต้นจนจบ วางพล็อตจับโครงแนบเนียน น่าติดตามตัวละครนั่นนี่ มีสิบเอ็ดฉากพอดิบพอดีไม่มีเกิน อย่างงั้นคงหาไม่ได้ในการแสดงชุดนี้ แต่ Something Else เลือกที่จะ “เล่น” กับกับคนดูด้วยปฏิสัมพันธ์แบบการปะติดปะต่อและเฝ้าสังเกตการณ์ หมายความว่า มันเหมือนคนดูมานั่งทำ Workshop อะไรซักอย่างกับละคร การโยนคำถามมาให้คนดูขบคิดและเรียนรู้ไปในระหว่างการลองสมมติสถานการณ์ต่างๆ นานา ในละครโดยไม่ได้ชี้นำคำตอบ การตีความหรือซึมซับความหมายเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับตัวผู้ชมแต่ละคน ว่ากันง่ายๆ แทนที่จะยัดเยียดแนวคิดหรืออะไรต่อมิอะไรให้คนดู แต่เรื่องนี้เล่นกับมุมมองและความคิดของคนดูที่มีต่อละครไปพร้อมๆ กับทัศนคติของตัวเองอย่างน่าสนใจ
ด้งนั้น ประสบการณ์ที่คนดูมีต่อชีวิตของตนเอง ทัศนคติ เงื่อนไข หรือปัจจัยต่างๆ นั้น จึงมีส่วนอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจละครเรื่องนี้ และเมื่อเราพยายามที่จะเข้าสู่การทำความเข้าใจในสาระอันเวิ้งว้างของละคร ณ ขณะเดียวกัน ก็เป็นกระบวนการในการเรียนรู้และทำความเข้าใจตัวของเรา และทัศนคติของเราไปด้วย ใครจะเอาประสบการณ์ของตัวเองช่วงไหนชุดไหนมา “สังสันทน์” กับละครก็ตามแต่ และไม่จะเป็นว่าจะต้องเข้าใจหรือพูดคุยกับละครไปได้เสียทั้งหมด แต่ผู้ชมหรือคนดูสามารถจะคัดสรรเอาช่วงเวลาที่เหมาะสมกับตัวเอง ตามแต่ประสบการณ์รวมทั้งทัศนคติตลอดจน “กำแพง” ของแต่ละคนจะอำนวย อันไหนดูแล้วไม่โดนใจก็ดูสนุกสนานได้ ไม่ว่ากัน (เพราะคนเรามันไม่เหมือนกัน)
กระบวนการในการมีปฏิสัมพันธ์ที่ Something Else มีต่อตัวผู้ชมนั้น ใช้รูปแบบที่น่าสนใจและหลากหลาย ประกอบกัน ผสมผสานกัน ดูสร้างสรรค์จากอะไรง่ายๆ ใกล้ตัว ว่าเป็นข้อดีมากๆ ของการแสดงชุดนี้ ทั้งในกระบวนการนำเสนอนั้นก็ช่วยดึงให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมแบ่งปันระหว่างผู้ชมกับการแสดง และระหว่างผู้ชมด้วยกัน ตัวอย่างเล่นตอนวาดภาพนี่เห็นชัดมาก แม้ผู้ชมบางคนจะไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการวาดภาพ แต่คำถามที่ตั้งขึ้นมาว่า “รู้สึกอย่างไร เมื่อเห็นภาพที่ตัวเองวาดถูกฉีก??” ตรงนั้น มันมีสำนักร่วมอะไรบางอย่างที่เราสัมผัสได้ แม้ว่ามือจะไม่จับกระดาษและสีเลยแม้แต่น้อย ความรู้สึกนั้นอาจจะไม่ได้มาจากการมองผลงานของ “เพื่อนร่วมรอบ” ถูกฉีกทึ้งเพียงอย่างเดียว แต่อีกส่วนมันเป็นทัศนคติหรือความคิดของเราลึกๆ ที่มีต่อการกระทำนั้นด้วยนั่นเอง เรียกว่า ต้อง check ความรู้สึกกันหลายตลบ
หรือในบางช่วงก็มีการนำเอาการเต้นการเคลื่อนไหว การวาดภาพแล้วฉายผ่านกล้องวีดีโอ และอีกสารพัดจะการ .... มามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งเพิ่มความน่าสนใจในงานนี้เข้าไปใหญ่รูปแบบของความสัมพันธ์ของผู้คนที่หลากหลาย ทั้งรู้จัก ทั้งไม่รู้จัก ทั้งเฉพาะหน้า ทั้งใกล้ชิดสนิทสนม ระคนปนเปกันไป ซึ่งแต่ละครก็มี “วิธีการ” หรือ “บุคลิก” หรือ “หน้ากาก” ที่เราใช้ในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนแต่ละคนต่างกันไปตามสถานการณ์ มิติเวลา สถานที่ ไม่อาจรู้ได้ ซึ่งเราเองในหลายกรณีเราก็ไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เพราะเหตุใดเราจึงเลือกปฏิบัติกับใครคนหนึ่งแบบหนึ่ง และปฏิบัติอีกแบบกับใครอีกคนหนึ่ง (ถ้าเราเป็นคน “เลือก” จริงๆ นะ ไม่ใช่อะไรมันพาไป) เราเองยังมีความไม่เข้าใจตัวเองเลยในบางกรณี แล้วนับประสาอะไรจะให้คนอื่นมาเข้าใจเราได้ในทุกแง่ ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า เราเข้าใจใครคนนึงหรือคนคนนั้นได้บริบูรณ์มากน้อยแค่ไหน แต่มันอยู่ที่ว่า เราจะจัดการความสัมพันธ์ และความผูกพันระหว่างตัวเรากับคนอื่นรวมทั้งสิ่งอื่นๆ ตลอดจน ความเป็นอื่นที่แฝงฝังในตัวเราเองและเราไม่ชอบใจมันเท่าไหร่นั้นได้อย่างไรมากกว่า ฉะนั้น เราเองก็อาจจะเป็น Something Else หรือ ที่มีหลายๆ Anything Else ที่เราเองก็ไม่ปราถนาอยู่ก็ได้ และเมื่อเราตั้งคำถาม พยายามมองให้เห็น และพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างเปิดกว้าง ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เพียงพอแล้วมิใช่หรือ ...
สุดท้ายแล้ว กล่าวโดยสรุปก็คือ Something Else แม้จะไม่ใช่ละครที่ดีเลิศ (จะดีหรือไม่ดียังไงมันขึ้นอยู่กับแต่ละคน) แต่เป็นงานที่มีความแปลก (ไม่รู้ว่าใหม่หรือเปล่า ไม่ได้หมายความว่าไปก๊อปเขามานะ แต่วิธีการแบบนี้ไม่แน่ใจว่ามีคนเอาไปใช้แล้วบ้างหรือยัง) และน่าสนใจมากๆ แต่ในขณะเดียวกัน แม้ว่าอาจจะเป็นงานที่สามารถดูได้ทุกคน แต่ก็อาจจะกล่าวแนบท้ายไว้ได้อีกว่า งานชิ้นนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะมันอยู่ที่เงื่อนไข และทัศนคติ ของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป
กระนั้นก็เถอะ ถ้าอยากลอง check ความรู้สึกตัวเอง หรือซึมซับตั้งคำถามหรือสร้างบทสนทนาอะไรเกี่ยวกับตัวเรา หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือไปดูเอาสนุกสนานเพลิดก็แนะนำให้ไปดูกันนะ อยากดูยังไงก็ดูได้ทั้งนั้น ... น้อ ...
Sunday, 12 April 2009
บทวิจารณ์ Water Time
WATER TIME
ในโลกใต้น้ำ...รอยยิ้มและร่างกายของเธอคืออากาศที่ผมใช้หายใจ
ที่มา จากนิตยสาร Esquire ฉบับเดือนมีนาคม 2552
คอลัมน์ Art & Culture โดย วรัญญู อินทรกำแหง
ผมไม่ได้เขียนถึงละครในแนวสมจริง (realistic) มาเสียนาน อาจจะเป็นเพราะรสนิยมส่วนตัวที่ช่วงหลังๆ รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการแสดงในแนวนี้ที่ต่อให้ผู้แสดงๆ ได้ดีและสมจริงเพียงใด แต่เนื่องจากข้อจำกัดของสื่อประเภทละครเวที (แสงเสียง ฉาก โรงละคร) ซึ่งแม้จะพยายามจะช่วยสมรู้ร่วมคิดสร้างความเชื่อไปกับเขาด้วยแล้วก็ตาม ผู้ชมอย่างเราก็จะรับรู้อยู่เสมอว่านั่นไม่ใช่ความจริง ซึ่งผิดกับสื่อภาพยนตร์ซึ่งมักจะให้ ‘ภาพลวง’ ที่สมจริงได้มากกว่า
ประกอบกับผมไม่ค่อยโชคดีได้เจอละครในแนวสมจริงซึ่งมีนักแสดง ‘ทั้งแคส’ ที่ทั้งมีพลังและแสดงได้ดีจนเป็นธรรมชาติจนทำให้เรารู้สึกเชื่อไปตามบทบาทที่พวกเขาได้รับไปตลอดเรื่องได้ นี่ยังไม่นับเรื่องบทละครในแนวนี้ซึ่งหาคนเขียนดีได้ยากเต็มทีอีกประการหนึ่ง
ทำให้ช่วงหลังๆ ความสนใจของผมจึงหันเหไปที่ละครแนว stylization มากกว่า เพราะไหนๆ ถ้าจะหาความสมจริงได้ยากถึงเพียงนั้นแล้ว ก็ไปหา ‘ความจริง’ ในความไม่สมจริงแต่มีสไตล์และมีพลังน่าจะดีกว่า แต่การได้กลับมาชมละครเวทีเล็กๆ เรื่องนี้ทำให้ต้องหวนกลับมาพิจารณาอะไรบางอย่าง และคงถึงขั้นเสียดายหากไม่ได้ชมละครเวีทีเล็กๆ เรื่องนี้
‘Water Time’ เป็นผลงานของกลุ่ม ‘Life Theatre’ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นชื่อใหม่สำหรับผู้ชมละครเวทีในบ้านเรา แต่หากพลิกไปดูสูจิบัตรแล้วจะพบว่าเป็นชื่อที่คุ้นหูพอสมควร เพราะเกิดจากการรวมตัวของสามคนละครอันได้แก่ พันพัสสา ธูปเทียน หรือ ‘ครูหนิงเอเอฟสอง’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำกับฯ, โชโกะ ทากานิวา หนุ่มลูกครึ่งชาวไทยญี่ปุ่น ที่สร้างสีสันผลงานละครเวทีอย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาทั้งในฐานะนักแสดง และผู้กำกับฯ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง ‘Water Time’ นี้เองอีกด้วย ส่วนอีกคนคือ ศศิธร พานิชนก หรือ ‘ฮีน’ ซึ่งหลายคนอาจจะจำเธอได้จากภาพยนตร์เรื่อง ‘ตะลุมพุก’ เมื่อหลายปีก่อน น่าชื่นใจว่าเธอก็เป็นหนึ่งในไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของบัณฑิตสาขาการละครมาที่ยังคงทำงานด้านนี้ต่อหลังเรียนจบ
เรื่องราวใน ‘Water Time’ ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างคู่สามีภรรยาต่างเชื้อชาติซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันในอพาร์ทเม้นต์กลางมหานครนิวยอร์ก เรื่องเปิดขึ้นที่หญิงสาวคนหนึ่งตื่นขึ้นมาตอนเช้าและเปิดเพลง ‘A Time For Us’ และซ้อมแสดงบทของจูเลียตในละครเรื่อง Romeo & Juliet ของเชกสเปียร์ ซึ่งซ่อนนัยยะสำคัญต่อสารที่ละครต้องการจะสื่อเอาไว้
ต่อมาเราได้รับรู้ว่าผู้หญิงคนไทยคนนี้ชื่อ ‘น้ำ’ เป็นภรรยาของ ‘เคนจิ’ นักเขียนบทละครชาวญี่ปุ่นหัวดื้อ ซึ่งเคยมีผลงานสร้างชื่อเสียง แต่ก็ตกอับเพราะไม่ได้เขียนงานที่ใช้ได้มาพักใหญ่แล้ว จนภรรยาซึ่งเป็นนักแสดงต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้านด้วยการเป็นสาวเสิร์ฟและหมั่นไปออดิชั่นเป็นนักแสดงควบคู่ไปด้วย
ภายใต้สภาวะความกดดันของชีวิตคู่ เคนจิตั้งใจจะเขียนบทละครที่ทั้งขายได้และมีความแปลกใหม่ทำให้เขาหมกมุ่นอยู่กับงาน ในขณะที่น้ำคาดหวังว่าเคนจิจะเขียนบทละครซึ่งเป็นที่น่าจดจำเช่นเดียวกับบทละครเรื่องที่นำทั้งคู่ให้มาพบรักและแต่งงานกันรวมทั้งทำความเข้าใจกับความต้องการของเธอให้มากกว่านี้
ประกอบกับความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของทั้งคู่อันเปรียบเสมือนกำแพงที่มองไม่เห็นที่กั้นพวกเขาให้ไกลห่างจากกันออกไป ซึ่งเราจะได้เห็นกำแพงนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในยามที่ทั้งสองคนทะเลาะและระเบิดอารมณ์ใส่กันด้วยภาษาแม่ของแต่ละคนโดยไม่ยอมใช้ภาษาอังกฤษอันเป็นสื่อกลาง ร้อนไปถึงเพื่อนร่วมอพาร์ทเม้นต์ชาวไทยที่ชื่อ ‘เอ’ (บทนี้รับเชิญโดยอภิลักษณ์ ชัยปัญหา) ที่จะต้องมาคอยเป็นล่ามแปลภาษาให้แบบแถๆ ไม่กล้าแปลให้ตามจริงเพราะกลัวว่าคู่รักเขาจะแตกหักกันเพราะตนเอง
พูดง่ายๆ ว่าละครเรื่องนี้เป็นละครสามภาษาซึ่งในช่วงสองในสามของเรื่องจะมี subtitle ทั้งสามภาษาบรรยายให้กับผู้ชมที่รู้ไม่ครบทั้งสามภาษา ด้วยความจงใจของผู้กำกับฯ ที่ต้องการจะให้คนดูอยู่ในฐานะผู้รู้ที่มีความเข้าใจในเหตุผลการกระทำของตัวละครทั้งสองคน ซึ่งหากคิดๆ ดูแล้วการที่นำเพลง A Time For Us และบทละครของเชกสเปียร์มาใช้ในตอนแรกนั้นก็เพื่อต้องการสื่อเห็นว่าสิ่งซึ่งเป็นกำแพงของความรักระหว่างโรเมโอกับจูเลียตนั้นเกิดจากปัจจัยภายนอกอันมาจากความขัดแย้งของทั้งสองตระกูล
ส่วนอุปสรรค์ความรักของน้ำและเคนจิใน Water Time นั้นหากมองเผินๆ แล้วอาจคิดได้ว่าเป็นเรื่องของภาษา แต่เมื่อ Subtitle ช่วงท้ายของเรื่องหายไปผู้ชมจะพบความจริงว่ามันมาจากปัจจัยภายในของคนทั้งคู่เอง โดยเฉพาะตัวละครฝ่ายชายซึ่งไม่ได้ตระหนักหรือเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ณ ปัจจุบัน จนมาเข้าใจอย่างถ่องแท้เมื่อรู้ว่าไม่สามารถหวนคืนเวลากลับมาได้ เหมือนกับประโยคหนึ่งภายในเรื่องที่บอกว่า... “ในโลกใต้น้ำที่อึดอัดหายใจไม่ออก...รอยยิ้มและร่างกายของคุณคืออากาศที่ผมใช้หายใจ
โดยรวมแล้วการแสดงของนักแสดงทั้งสามถือว่าดีมากๆ ทีเดียวครับ เมื่อหลายปีก่อนผมเคยเขียนวิจารณ์เกี่ยวกับการแสดงของฮีนในละครเวทีเรื่องกุหลาบสีเลือดไว้ในนิตยสารฉบับหนึ่งอย่างค่อนข้างแรงว่าน่าผิดหวังที่เป็นนักเรียนการละคร หลังจากนั้นก็ไม่เคยได้ชมการแสดงของเธออีกเลย พอมาเจอในเรื่องนี้เธอลบคำสบประมาทนั้นลงได้อย่างราบคาบเชียวล่ะครับ แถมยังมีเสน่ห์มากสำหรับบทของน้ำ, โชโกะในบทเคนจิเองก็มีเสน่ห์ อารมรณ์ขัน และความน่ารำคาญได้ในเวลาเดียวกันตามที่แคเร็คเตอร์นี้ควรจะเป็น ส่วนบทรับเชิญของอภิรักษ์ ชัยปัญหาที่โผล่ออกมาเพียงเล็กน้อยนั้นก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวังแต่อย่างใดทั้งยังสร้างสีสันให้กับเรื่องได้มาก
นอกจากบรรดานักแสดงแล้วคงต้องยกความดีให้กับ ‘ครูหนิง’ ซึ่งเป็นผู้กำกับฯ ที่สามารถโค้ชนักแสดงให้แสดงออกมาได้อย่างมีจังหวะจะโคนและเป็นธรรมชาติจนมีบางช่วงที่แม้จะรุ้อยู่แล้วว่าไม่จริงแต่กลับรู้สึก ‘จริง’ จนเผลอคิดไม่ได้ว่ากำลังแอบดูชีวิตของคนอื่นอยู่หรือเปล่า แต่อีกประการหนึ่งที่อยากจะพูดถึงก็คือความเรียบง่ายจากการแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมาของตัวละครซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเสน่ห์ที่ดูง่ายสำหรับคนดูโดยทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันก็มองได้เช่นกันว่าเป็นจุดด้อยที่ยังอาจจะดูได้ว่าอ่อนชั้นเชิงไปสักหน่อยสำหรับคนดูอีกจำพวกที่ต้องการความท้าทายขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
กระนั้นแล้ว ละครเวทีเล็กๆ ในแนวสมจริงเรื่องนี้ก็ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของนักการละครท่านหนึ่งที่เคยพูดคุยกันเมื่อหลายปีที่แล้วและบอกว่า “realistic…absurd…melodrama หรือ Brecth ไม่ว่าละครแนวไหนต่างก็มีความงามในตัวของมันเองทั้งสิ้น ถ้าเพียงแต่ละครเรื่องนั้นจะไปให้สุดทาง”
และก็ทำให้ผมตระหนักถึงความงามที่ว่าของละครในแนวสมจริง รวมทั้งคุณค่าของความรัก ณ ปัจจุบัน จนอยากกลับบ้านไปกอดแฟนและรักษามันไว้ให้ดีๆ ก่อนที่จะขาด...อากาศหายใจ
Saturday, 11 April 2009
บทสัมภาษณ์ ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์
ที่มาจากนิตยสาร Madam Figaro ฉบับ เดือนมีนาคม 2552
คอลัมน์ Reporter Theatre โดย อภิรักษ์ ชัยปัญหา
เหลือบมองข้อมูลผู้ดัดแปลงบทและกำกับการแสดงอีกครั้ง เขานี่เอง ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์... นักละครเวทีที่ผลงานเกือบทุกเรื่องของเขาต้องดัดแปลงจากบทละครต่างประเทศ และเป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
คำถามท่วมอกผมมากไปแล้ว..ผมจึงหาทางระบายให้ด้วยการต่อสายโทรศัพท์ถึงเขา...
ผม : ดีครับพี่บิ๊ก (ชื่อเล่นของเขา) ...ผมมีคำถามเกี่ยวกับละครของพี่แล้วก็การดัดแปลงบทละครต่างประเทศ
(เขาทำเสียงคล้ายจะปฏิเสธ..ผมรีบพูด) พี่เดี๋ยวผมจะส่งคำถามไปทางอีเมล์นะครับ ถ้ามีเวลา พี่ช่วยตอบด้วยครับ (ผมมัดมือชก)
ผ่านไปสองวัน เขาก็ตอบกลับมา หลังจากที่ผมโทรตาม (จิก) อีก 1ครั้ง
อีเมล์ฉบับนั้น ผมคิดเองว่ามันมีประโยชน์มาก มากเสียจนผมเก็บไว้อ่านคนเดียวก็เสียดาย
ฉบับนี้ผมเลยขออนุญาตนำมาแบ่งปันให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ
ผมถาม : ทำไมถึงเลือกสร้างละครเวทีจากการดัดแปลงบทแทนที่จะเขียนขึ้นใหม่ครับ
เขาตอบ : อย่างแรก เพราะขี้เกียจเขียนครับ ในมื่อโลกนี้มีบทละครเรื่องที่แข็งแรงดีและน่าสนใจอยู่แล้วมากมาย ทำไมต้องมานั่งเสียเวลาเขียนใหม่ให้เมื่อยล่ะ เราอยากทำละคร ไม่ได้อยากเขียนบทใหม่ ก็เลยคิดว่าชอบการดัดแปลงมากกว่า แต่ การดัดแปลงบทเรื่องนึงของผม มันก็เหมือนเขียนใหม่นั่นแหละ อิอิ (เขาหัวเราะด้วยภาษาวัยรุ่น)
ผมถาม : มีเกณฑ์ในการเลือกบทละครต่างประเทศมาดัดแปลงและสร้างเป็นละคร อย่างไรบ้างครับ
เขาตอบ : เลือกที่ตัวเองชอบก่อน หรืออย่างน้อยก็ต้องมีอะไรที่น่าสนใจพอเอามาคิดต่อทำต่อได้ มีอะไรที่สอดคล้องกับความคิดที่อยากพูด เหมาะสมกับยุคสมัยและวาระที่จัดแสดงด้วย ที่สำคัญมันต้องสนุก เห็นแนวทางที่สามารถดัดแปลงได้ มีจุดขาย หรือมีองค์ประกอบที่สามารถทำให้เป็นวาระที่น่าสนใจขึ้นมาได้ ทั้งนี้ก็แล้วแต่เหตุผลหรือวัตถุประสงค์ในการทำแต่ละครั้งด้วยนะว่าทำเรื่องอะไร เพื่ออะไร บางครั้งก็ดูหน้านักแสดงที่มีอยู่ก่อนว่าใครจะมาเล่นบ้าง ดูทรัพยากรในการสร้างว่ามีทุนแค่ไหน หรือเหมาะกับความสามารถของคนในกลุ่มมั้ย ดูสถานที่แสดงว่าได้เล่นที่ไหน ฯลฯ แล้วก็จะนึกเรื่องออกทันที โดยเฉพาะช่วงสิบปีมานี้ ลองเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ไม่เอากิเลสส่วนตัวว่าฉันอยากทำเรื่องนี้เรื่องนั้นเป็นตัวตั้ง ไม่อยากตกอยู่ในสภาพแบบทุกข์ยากแบบคนทำละครที่พยายามตามที่บทละครสั่ง มันเหนื่อยยากเกินความจำเป็น แล้วก็ยังไม่เคยเห็นใครทำได้ซักราย
ผมถาม : มีผลงานการดัดแปลงบทละคร เรื่องไหนบ้าง ที่รู้สึกภาคภูมิใจ เพราะอะไร
เขาตอบ : คงทุกเรื่องนั่นแหละ แต่ถ้าเอาที่ชอบมาก ๆ ก็คงมี “ราโชมอนคอนโดมิเนียม” (ดัดแปลงจากบทภาพยนตร์สุดยิ่งใหญ่ของอาคีระ คูโรซาวา และบทละครแปลของ ม.ร.ว. คึกฤทธ์ ปราโมช) กับ “ผ่าผิวน้ำ” (ดัดแปลงจากอัตชีวประวัติของ Greg Louganis นักกีฬาว่ายน้ำเจ้าของเหรียญของโอลิมปิค) เพราะรู้สึกว่าได้ทำอะไรกับมันเต็มที่ มันเป็นการดัดแปลงที่ใช้กลวิธีที่ มากกว่าการเปลี่ยนเทศให้เป็นไทย แล้วมันก็ออกมาได้ดังใจที่ต้องการด้วย
ผมถาม : "การเคารพบทประพันธ์" เกี่ยวข้องกับการดัดแปลงบทละครไหมครับ
เขาตอบ : ฮ่าๆๆ ....เขาบอกว่าบทละครเป็นเสมือนหัวใจของการแสดงหรือพิมพ์เขียวของการสร้างละคร แล้วมีผู้เอาไปทำตามที่เขียนสั่งมาในบทนั้น แต่เผอิญคนอย่างผมคงเติบโตมาในขนบ “ละครของผู้กำกับ” ไม่ใช่ในขนบ “ละครของนักเขียน” แล้วผมก็เจอครูหลายคนที่ชี้นำให้เห็นโลกหลายทางแล้วยุยงให้ลูกศิษย์คิดเกินครูด้วย ผมถือว่าตัวเองไม่ได้มีหน้าที่ต้องมาแบกรับภาระทางวิชาการหรือประวัติศาสตร์การละครที่ต้องทำละครให้ตรงตามต้นฉบับให้มากที่สุด ผมเคยเห็นบทแย่ ๆ ที่สามารถกลายมาเป็นการแสดงดี ๆ ในจำนวนที่พอ ๆ กับบทดี ๆ ที่กลายมาเป็นการแสดงเลว ๆ ก็เลยไม่ได้รู้สึกว่าบทจะต้องเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องบูชามั้ง ผมปฏิบัติต่อบทละครในฐานะ “บันทึกการแสดง” ที่ทำให้ทุกฝ่ายทำงานได้สะดวกขึ้นเท่านั้น ผลรวมของการแสดง ณ เวลานั้น ๆ ต่างหากที่สำคัญ ผมถือว่าบทเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับหลอดไฟที่ทำให้เรามองเห็นการแสดง บทมีความสำคัญพอ ๆ กับเครื่องประกอบฉากและสัญญะทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นละคร แต่ที่พูดมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าไม่เคารพบทละครซะเลยนะ คงใช้คำว่านับถือจะเหมาะสมกว่าเพราะถ้าผมหยิบเรื่องอะไรมาดัดแปลงแสดงว่าเรื่องนั้นก็ต้องมีดี และมีความใจกว้างพอสมควรที่เปิดช่องให้ผมตีความและดัดแปลงได้ ผมต้องเข้าใจต้นฉบับอันเดิมให้ได้มากที่สุดก่อนเหมือนกัน ถึงจะสามารถเชื่อมโยงผ่านตัวเองไปสู่วิธีการดัดแปลงได้ ผมถือว่าสิทธิ์ของผู้กำกับไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเป็นผู้รับใช้ผู้ซื่อสัตย์ต่อบทละครเท่านั้น แต่ต้องซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตนเองและซื่อสัตย์ต่อผู้ชมด้วย สิ่งที่ผู้ชมจะเห็นในตัวบท น่าจะเป็นการแสดงที่ผ่านการกลั่นกรองจากคนทำอีกทอดหนึ่ง
ผมถาม : คิดอย่างไรกับคำว่า "เสียงของผู้กำกับการแสดงครับ" เช่นกัน เกี่ยวข้องกับงานของพี่หรือเปล่าครับ
เขาตอบ : ไม่เคยคิดเลยครับ ถ้ามันจะมี ก็คงไม่มาแค่เสียงหรอกครับ มันคงมาทั้งตัวเลย ฮ่าๆๆๆ
ผมถาม : มาถึงผลงานชิ้นล่าสุด ทำไมต้องแฮมเล็ต และทำไมต้องแสดงเดี่ยวโดย อ้น นพพันธ์ บุญใหญ่ ครับ
เขาตอบ : เป็นเรื่องหนึ่งที่อยากทำ และได้คิดวิธีทำแฮมเล็ตไว้สามแบบสามขั้นตอน การแสดงเดี่ยวเป็นแบบแรกและขั้นตอนแรกของการทำละครเรื่องนี้ ที่เป็นอ้นเพราะว่าเค้าดูพยศดี อิอิ (ดูเหมือนเขาจะชอบหัวเราะแบบวัยรุ่นมาก) เป็นแฮมเล็ตในฝันของผมทั้งตัว เค้ามีความพร้อมที่จะทำงานแบบทดลองได้ (ว่ากันว่า นพพันธ์เป็นทั้งผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบท และนักแสดงที่แหวกแนวที่สุดของวงการละครเวที และแฟนคลับมากที่สุดคนหนึ่ง ณ ขณะนี้)
ผมถาม : เรื่องที่อยากทำต่อไปมีหรือยังครับ
เขาตอบ : เยอะแยะ คนใกล้ ๆ ตัวจะรู้ดี มันขึ้นอยู่กับโอกาสและความเหมาะสมด้วย แต่ถ้าให้เจาะจงว่าในระยะเวลาใกล้ ๆ นี้จะทำอะไรบ้าง ก็คงเป็นเรื่องในแนวที่ค่อนข้างไปในทางดราม่าครับ อย่าง The Seagull ของ Chekhov นอกจากนี้ก็อาจจะเป็นงานละครแนว Physical Theatre ซึ่งไม่ได้ทำมานานแล้วนับตั้งแต่ทำ The Metamorphosis และ Faust หรือไม่ก็งานดัดแปลงเชิงทดลองแบบเอาตัวละครจากบทละครที่เราชอบของนักเขียนคนเดียวกันให้มันข้ามเรื่องมาเจอกัน
ผมสะดุดใจกับข้อความต่อไปนี้มากเป็นพิเศษ มันอาจจะเป็นเคล็ดลับในการดัดแปลงบทละครของดำเกิงก็ได้
“ที่จริงวิธีการดัดแปลงมันมีมากมาย ขึ้นอยู่กับว่า เราหาไวยากรณ์ของการดัดแปลงเจอแล้วกล้าทำหรือเปล่าเท่านั้น”
Tuesday, 7 April 2009
Something else - reveiw
Of love, loss and something else
Review by Amitha Amranand
Bangkok Post, Outlook
April 1, 2009
Experimentation with the spectator’s experience in the theatre and defiance against linear narrative are still rare in Thailand. Shows that toy with the performer-audience interaction and the narrativestill stir curiosity and excitement as they are still considered something fresh and daring in Bangkok.
Physical theatre group B-floor Theatre has been experimenting with and foregoing linear narrative for years. However, by labeling itself “physical theatre”, viewers go to their shows expecting something different, something less talkative than the usual offerings without them having to advertise their own deviation from the scene.
As a number of the company’s founding members come from the Crescent Moon Theatre, the majority of B-floor’s oeuvre comprises creations with strong social and political awareness and messages. Through their work, the Bangkok audiences get glimpses of rural struggles that spill over into the urban spaces – glimpses of problems beyond the borders of Bangkok and themselves.
B-Floor’s year-long 10th anniversary celebration kicked off with Teerawat Mulvilai’s San-Dan-Ka, a butoh performance and a critique on the behaviour of Buddhist monks. This past Sunday, Dujdao Vadhanapakorn’s directorial debut, Something Else, ended its two-weekend run.
And the first-time director offered Bangkok something else indeed. Walking into the Crescent Moon Space, you already had to take careful steps as not to slip on a floor of tiny Styrofoam balls. Our seats were lined with cushions stuffed with the same material that covered the stage area. Hanging from the ceiling down to our seats were plastic toy binoculars. The theatre became a playful, touchable, fun and beautiful space.
Dujdao enters and speaks to us directly: “Isn’t it infuriating when others don’t understand you?” And what follows are a series of quirky and whimsical physical actions and scenes that try to make sense of love and the feelings that occupy us in the absence of love.
Something Else is about perception – the way we perceive ourselves, the way others perceive us, and the discrepancy between the two viewpoints. Dujdao plays with the idea of perception through the actions of the performers, which are dictated by the actions taking place on the camera. These actions include live drawing, live typing of instructions, questions and esoteric theories that explain the psyche of the characters being rendered by the performers on-stage. The performers and the projected images are not merely reflections of one another, they have a live and interactive relationship. The audience were sometimes pulled into the performance and asked to share their perception of the actions in front of them through drawing or merely just taking a closer look.
Dujdao’s choreography possesses an abundance of personality and adventurous spirit. The manners in which the performers handle their own and each other’s bodies seem to erase the gender lines. Clothes are donned and shed in front of our eyes. (There is no nudity in the show.) Performers dress themselves, as well as each other. They plant kisses on one another’s mouth perfunctorily and innocuously. Their physical communication and contact were not as intimate as they were comfortable and trusting. You usually don’t get to see this kind of physical closeness and ease among Thai theatre performers, not even when the plays and the roles demand them to be physically intimate.
Intentionally or not we do not know, but Something Else illuminates the politics of the body in Thai culture by challenging not only physical boundaries but also personal space.
Monday, 6 April 2009
Sunday, 5 April 2009
Back to Basic - day 2
Saturday, 4 April 2009
เริ่มแล้ววันนี้ Back to Basic - day 1
Thursday, 2 April 2009
ปรับปรุงใหม่
สำหรับเดือนนี้เดือนเมษายนจะเป็นเดือนของการอบรม เริ่มด้วยอบรมแรก คือ Back to Basic : acting workshop จะจัดในวันที่ 4-6 นี้ และจะต่อด้วยการเวริ์คชอปของเหล่าสมาชิกพระจันทร์เสี้ยวอีกสองหัวข้อ C (rescent moon) summer class ในช่วงหลังสงกรานต์ ซึ่งกิจกรรมการอบรมนี้ อาจจะมีการแสดงเคสเล็กๆให้ได้ชมกัน อันนี้โปรดติดตามข่าวความคืบหน้าเร็วๆนี้
ส่วนที่จะมีแน่ๆก็คือ "ปาร์ตี้ปีสาม" อยากจะชวนเชิญเหล่าคนรักละครและแฟนๆ Crescent Moon space มาร่วมพบปะสังสรรค์กันช่วงปลายเดือนนี้ ส่วนวันเวลาจะแจ้งให้รู้กันในเร็วๆนี้
โปรดติดตามความต่อเนื่องที่กำลังดำเนินต่อไป และขอขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจให้เราด้วยดีเสมอมา
Wednesday, 1 April 2009
Back to Basic : acting workshop
พระจันทร์เสี้ยวการละคร จัดอบรมศิลปะการแสดงเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจทั่วไป (ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการแสดงมาก่อน)
รับจำนวนจำกัด (12 คน)
สอนโดย
สินีนาฏ เกษประไพ
นักแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับละครเวที ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดงปี 2551
อบรมวันที่ 4-5-6 เมษายน 2552
เวลา 13.00 – 18.00 น. (รวม 15 ชั่วโมง)
ที่ Crescent Moon Space สถาบันปรีดี พนมยงค์
ค่าอบรม 2,000 บาท
(นักเรียน, นักศึกษา และสมาชิกเครือข่ายละครกรุงเทพฯ ลด 10%)
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร 083 995 6040
E-mail: contact@crescentmoontheatre.com
www.CrescentMoonTheatre.com