welcome to crescent moon space

welcome to crescent moon space
small but beautiful small alternative space for theatre lovers

Wednesday, 29 December 2010

สรุปผลงาน Crescent Moon space ปี 2553

ทบทวนความจำก่อนสิ้นปีว่าปี 53 มีกิจกรรม การแสดง ละครเวทีเรื่องอะไรกันบ้างที่โรงละครเล็กๆแห่งนี้




มกราคม
-อบรมการแสดงให้กับ นักแสดงละครเวทีเรื่อง “ล่าท้าฝัน” คณะเทคโนโลยีและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

มีนาคม
-การแสดงอ่านบทละคร : อ่านผู้หญิง จัดแสดงการอ่านบทละครเรื่องราวของผู้หญิง โดยผู้หญิงนักการละคร 9 คน 9 เรื่องสั้น
(จำนวน 4 รอบ)
-จัดการแสดง Butoh Dance ชุด “Green Snake” โดยคณะเนียวบะคัง จากประเทศมาเลเซีย จัดการการแสดงโดย Butoh Co-Op Thailand และ กลุ่ม Ray of Light
(จำนวน 2 รอบ)

เมษายน
-จัดอบรมออกแบบแสง Lighting Workshop ครั้งที่ 4
-จัดอบรมการแสดง Back to Basic
-จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง “The Mother”
-จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง “เฉือน”

พฤษภาคม
-ละครเวทีเรื่อง “เด๊ดสะมอเร่” เขียนบทละครกำกับโดย นพพันธ์ บุญใหญ่
(จำนวน 10 รอบ)

มิถุนายน
-ละครเวทีเรื่อง “สุดทางที่บางแคร์” ดัดแปลงบทและกำกับการแสดงโดย ปานรัตน กริชชาญชัย กลุ่ม New Theatre Society
(จำนวน 10 รอบ)

สิงหาคม
-ละครใบ้ Baby Mime Project 2 โดยกลุ่มเบบี้ไมม์
(จำนวน 19 รอบ)

กันยายน
-ละครเรื่อง “ควันใต้น้ำ” กำกับการแสดงโดย สายฟ้า ตัณธนา
(จำนวน 10 รอบ)

ตุลาคม
-ละครเวทีเรื่อง “เด๊ดสะมอเร่” เขียนบทละครกำกับโดย นพพันธ์ บุญใหญ่
(จำนวน 10 รอบ)
-การแสดงอ่านบทละคร : อ่านสังคม โดยนักการละคร 10 คน 10 เรื่องสั้น
(จำนวน 4 รอบ)
-ละครหุ่นสื่อผสมเรื่อง “วาวา The Rice Child”
(จำนวน 4 รอบ)

พฤศจิกายน
-ละครเรื่อง “Once Upon A Time of Broken Dream” กำกับการแสดงโดย บงกชรัตน์ จารุจินดา กลุ่ม Dream Catcher
(จำนวน 10 รอบ)

ธันวาคม
-การแสดง Butoh Dance “The 6th International Butoh Festival Thailand 2010” แสดงโดยศิลปินบุโตจากอเมริกาและไทย Michael Sakamoto, Sheri Brown, ธัระวัฒน์ มุลวิไล และ จารุนันท์ พันธชาติ จัดโดย Terry Hatfeild กลุ่ม Butoh Co-Op Thailand และ Ray of Light
(จำนวน 2 รอบ)


สรุปรวมกิจกรรม 17 กิจกรรม รวมการอบรม 3 ครั้ง รวมฉายภาพยนตร์ 2 ครั้ง รวมละครเวทีและการแสดง 12 โปรดักชั่น รวม 89 รอบการแสดง


"พระจันทร์เสี้ยวการละครขอขอบคุณท่านผู้ชมที่ให้การสนับสนุนศิลปะการละครและคนทำละคร หวังว่าปีหน้าเราจะพบกันอีกที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว ห้องเล็กๆสำหรับคนรักละคร"

Tuesday, 28 December 2010

Butoh - performance note

The 6th International Butoh Festival THAILAND 2010
December 10-11, 2010





Repeat After Me
Choreographed and Performed by Michael Sakamoto (USA) and Teerawat Mulvilai (Thailand)
Poetry excerpts by Ngien Way (Burma)
Music : Guilaume Humery (Bloom)
Video Compilation of Thai News 1976 by Teerawat Mulvilai



The Well
“Sinking into sadness and suffering is like allowing yourself to draw into a deep well”
Choreographed and performed by Jurunun Phantachat (Thailand)
Motion Graphic Designer : Lee Soetorsak
Violinist : Wariya Wongsuriyanan



Ainsi Soit-Il
Choreographed and performed by Sheri Brown (USA)
Musical credits : Bjork (Vokuro), NoisePoetNobody (Void), Marron of dubmarronics (Melts Slowly)




The Prince
Choreographed and performed by Michael Sakamoto (USA)
Musical credits : Nina Simone, Bob Marley (Redemption Song), Amiee Mann (Momentum), Frank Sinatra (All of Me)

Produced by : Terry Hatfeild, Ray of Light Productions and Butoh Co Op Thailand
Lighting Designer : Tawit Keitprapai
Stage Manger : Kwan and Roong
Photo by : Tahn Jirachaphong

Thursday, 9 December 2010

Butoh performance by 4 artists

Let's see Butoh Performance
4 peices by 4 artists

การแสดงบุโตพรุ่งนี้มะรืนนี้ น่าสนใจมากด้วยศิลปิน 4 คน กับงาน 4 ชิ้น

Repeat After Me
Choreographed and Performed by Michael Sakamoto (USA) and Teerawat Mulvilai

The Well
Choreographed by Jurunun Phantachat

Ainsi Soit-Il
Choreographed by Sheri Brown (USA)

The Prince
Choreographed by Michael Sakamoto (USA)

come and join us!

Thursday, 18 November 2010

The 6tth International Butoh Fest THailand 2010


Butoh Co-Op Thailand Presents

The 6th International Butoh Festival Thailand 2010
1-31 December



Photo Exhibition

Featuring BUTOH III by Boaz Zippor (Israel)
December 1-31 @ Boka Gallery, Grand Opening; December 3 with Special Guest Performers @ 19:00

FREE EVENT

34/1-2 Inthamara soi 1, Suttisan-vinichai road
Saphan-Kwai
boaz@boazzippor.net
(BTS) Saphan Kwai

Butoh Performances

Featuring Michael Sakamoto (USA), Teerawat Mulvilai (Thailand), Jarunun Phantachat (Thailand), and Sheri Brown (USA)

December 10-11; 19:30 – 300 THB/Students 250 THB

@ Crescent Moon Space, Pridi Banomyong Institute, 65/1 Sukhumvit soi 55, BTS Thong Lo,

http://www.crescentmoontheatre.com/



Butoh Workshop

MIND/BODY/TIME

Movement Based Workshop for Cultivating Presence and Character

December 11; 13:30-16:30 with Michael Sakamoto (USA), 300 THB/Students 250 THB @ Gaia by HOPS (inside Sareerarom Spa) 32 Sukhumvit soi 23, opposite Chokchai Steak House, www.gaiabyhops.com


Solstice Butoh Jam
FREE EVENT


December 18 with Special Guest Performers; 19:00 @ Boka Gallery, 34/1-2 Inthamara soi 1, Suttisan-vinichai road (BTS) Saphan Kwai

For more information and reservations: bkkbutoh@yahoo.com

Or phone 080 773 6607

Sponsored by Ray of Light Productions, Boka Gallery, Makhampom Theatre, Gaia by HOPS, and Crescent Moon Theatre



Butoh Workshop
MIND/BODY/TIME
Movement Based Workshop for Cultivating Presence and Character


December 11; 13:30-16:30 with Michael Sakamoto (USA), 300 THB/Students 250 THB @ Gaia by HOPS (inside Sareerarom Spa) 32 Sukhumvit soi 23, opposite Chokchai Steak House, www.gaiabyhops.com

This is an intensive workshop designed for dancers, other performers, and non-performers alike. Through visceral and image-based movement exercises, we cultivate a highly-centered, bodily presence and attempt to unearth all manner of habitual and idiosyncratic thought, feeling, and elements of our personae. Techniques from Butoh-based training as well as concepts from Zen and a range of other disciplines cultivate integration of mind, body, and spirit as well as increase our range of performative expression and character creation.

Monday, 15 November 2010

Once Upon the Broken Dream

Some Photo from Once Upon the Brkoen Dream








ขอบคุณภาพจาก dreamcatchertheatre

know more about dreamcatchertheatre
click:
http://dreamcatchertheatre.wordpress.com/

Sunday, 31 October 2010

รวมภาพ "อ่านสังคม"

รวมภาพถ่าย
อ่านบทละคร : อ่านสังคม
ภาพโดย ชลันดา และ จีรณัทย์


บรรยากาศพูดคุยก่อนเริ่มอ่าน











ช่อลดา สุริยะโยธิน
อ่านเรื่อง “เงาแห่งยุคหิน” (Shadows of the Neanderthal เขียนโดย David Hutchens) แปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล



สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
อ่านเรื่อง “โลกสันติภาพ”





กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
อ่านเรื่อง “เพลงชาติไทย” จากหนังสือ เราหลงลืมอะไรบางอย่างไป ของ วัชระ สัจจะสารสิน





วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
อ่านเรื่อง “จิ้งหรีดแห่งเมืองสีเทา” ของ ตรัย ภูมิรัตน์






กรินทร์ ใบไพศาล
อ่านเรื่อง “แรด” (จากบทละคร Rhinoceros เขียนโดย Eugene Ionesco)




รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
อ่านเรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” จากบทละครเขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ





กวินธร แสงสาคร
อ่านเรื่อง “นักเลงเฟือง” จากหนังสือเรื่อง เดินอย่างปุ๊ ของ ปุ๊ กรุงเกษม และ เส้นทางมาเฟีย ของ สุริยันต์ ศักดิ์ไธสง




สินีนาฏ เกษประไพ
อ่านเรื่อง “ชั้นที่ 7” บทละครโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี






บรรยากาศหลังการอ่าน












พบกับโครงการอ่านบทละครได้ใหม่ปีหน้า...


Friday, 29 October 2010

Next program November : Once Upon A Broken Dream

เรื่องมันมีอยู่ว่า...


"เธอพร้อมที่จะฝัน... ตัวเธอมีความฝัน เธอจึงปล่อยให้ตัวเธอฝัน... ฝัน... และฝันไป... แต่ฝันไปก็เท่านั้น... เพราะโดนไอ้คนไร้ศรัทธามันย่ำยี เพราะไอ้คำพูดอุบาทว์บางคำพูด... ไม่เอาไหน ไม่ได้เรื่อง ไร้สาระ... แต่เธอก็แค่หวังว่า... สำหรับตัวเธอ... มันก็แค่เผื่อว่า... "

คุณมีความฝันกับเขาบ้างไหม หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความฝัน เคยมีความฝัน ยังคงมีอีกเสี้ยวหนึ่ง... แม้เพียงเล็กน้อยที่ยังศรัทธาในความฝัน... "Once Upon A ...Broken Dream" จะไม่ทำให้คุณผิดหวัง เพราะเราจะร่วมออกเดินทางตามหาฝันไปกับคุณ

บางครั้งคุณอาจจะต้องออกเดินทางตามหาฝันของคุณ... ออกไปในดินแดนอันแสนไกล... ออกไปยังในโลกกว้างที่แสนน่ากลัวและโหดร้าย จนบางครั้งคุณเองกลับลืมว่าจุดเริ่มต้นของการเดินทางนี้มันคืออะไร สิ่งไหน และเพราะเหตุใด สุดท้ายแล้วนั้นมันกลับทำให้คุณเห็น เข้าใจ และเรียนรู้ว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันก็เพียงเพื่อที่จะค้นพบสิ่งที่ใกล้ตัวคุณที่สุด... เสียงของหัวใจ

การกลับมาครั้งนี้ การดัดแปลงบทใหม่ การคิดค้น และค้นพบไปด้วยกันของทีมงานจะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน...

ที่โรงละครพระจันทร์เสี้ยว

วันที่ 5, 6, 7 และ 12, 13, 14 พ.ย. 53
ในวันศุกร์ เวลา 8 pm. เป็นต้นไป
และเสาร์อาทิตย์ 2 รอด้วยกัน : 1pm. และ 7.30pm.
ราคาตั๋ว 300 บาท ( โดยส่วนหนึ่งจะให้กับมูลนิธิเด็ก )

ทุกรอบมี English Subtitle และจำนวนจำกัดคือ 40 ที่นั่งเท่านั้น
(โปรดมาก่อนเวลา 30 นาที)

จองบัตรที่ Booking : 080 595 5029

Thursday, 28 October 2010

วาวาและเพื่อน


รูปสวยๆของวาวและผองเพื่อน

ภาพถ่ายโดย ชลันดา


หมดรอบแล้วนะวาวา, ข้าว, ส้ม, ชมพู่, แกละ และ จุก หวังว่าจะได้เล่นกันใหม่...โอกาสหน้า....











Wednesday, 27 October 2010

บทวิจารณ์ วาวา "The Rice Child"

WaWa – The Rice Child
– เบิกบานและละเอียดอ่อน (B+)
by nuttaputch / from Bark & Bite


การทำละครหรือการแสดงให้เด็กดูเป็นหนึ่งในโจทย์ที่จะว่าง่ายก็ง่าย หรือจะว่ายากก็ยาก เพราะหลายคนก็เลือกเส้นทางง่าย ๆ ในการพูดสารเชิงจริยธรรมให้กับเด็กแบบตรง ๆ ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรแต่เน้นการสร้างสีสันให้ตื่นตาตื่นใจและดึงความสนใจของเด็กไว้ได้ ในขณะที่บางคนก็อาจจะเลือกกลอุบายการเล่าเรื่องอื่น ๆ มาเล่าอย่างแยบคายดังจะเห็นได้จากเรื่องของนิทานอีสป

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงต้องดูแต่ความเจนจัดของฝีมือและมุมมองของคนที่จะทำละครเด็กนั่นแหละ ว่าจะทำอย่างมาแล้วเวิร์คหรือเหลวเป๋วกันแน่

และสำหรับผม “วาวา The Rice Child” จากพระจันทร์เสี้ยวการละคร เป็นละครหุ่นสายที่เลือกเส้นทางในการพูดเรื่องของ “เด็ก” ให้ “เด็กและผู้ใหญ่” ฟังได้อย่างลงตัว ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอที่สวยงามและน่าประทับใจชนิดเกินความคาดหมาย!!!

เรื่องราวของ วาวา The Rice Child นั้นเดินเป็นเส้นตรง ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนเลยแม้แต่น้อย เริ่มตั้งแต่เด็กหญิงวาวาที่เป็นเด็กต่างถิ่นมาในโรงเรียนชาวไทย จนโดน “ข้าว” เด็กชายชาวไทยรังแกบนปมของการ “ไม่ได้เป็นคนไทย” จนทำให้วาวากลายเป็นเด็กที่โดนกลั่นแกล้ง และแปลกแยกจากคนอื่น ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งข้าวได้เรียนรู้ว่าไม่มีใครสนุกกับการถูกกลั่นแกล้ง จนทำให้เขาเดินกลับไปขอโทษวาวาและได้สร้างสัมพันธ์ของ “เพื่อน” ขึ้นมาใหม่บนรอยยิ้มของเด็กทุกคน

จากเนื้อเรื่องง่าย ๆ นี้ทำให้แก่นของเรื่องที่ว่าถ้าเรามองข้ามความแตกต่างและมองเข้าไปในใจของคนแต่ละคน เราจะสามารถเป็นมิตรได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ นั้นชัดเจนอย่างง่ายดาย แถมเสริมด้วยวิธีการใช้เพลงเป็นองค์ประกอบในการเล่าแก่นนี้เพื่อจะสามารถจูงใจผู้ชมได้อย่างประทับใจ

อันที่จริง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในละครหุ่นเรื่องนี้ถือว่าเป็นสิ่งง่าย ๆ ที่เรารู้กันดีว่าจะสามารถดึงดูดและเข้าถึงเด็กได้ ตั้งแต่การใช้หุ่นสาย การใช้ดนตรี และเพลง หรือแม้กระทั่งการฉายกภาพของการ “วาดทราย” เพื่อสร้างภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจให้กับเด็ก แลพก็ไม่แปลกอีกนั่นแหละที่เด็ก ๆ จะชอบและจ้องเขม็งจนสมาธิดีกว่าผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เสียด้วยซ้ำ ซึ่งต้องของชมทีมงานและผู้กำกับการแสดง “สินีนาฏ เกียรติประไพ” ที่เลือกนำสื่อผสมต่าง ๆ มารวมกันบนพื้นฐานที่เข้าใจพฤติกรรมและจิตวิทยาในการสื่อสารกับเด็ก ได้อย่างลงตัว

แต่ไม่ใช่ว่าการสร้างความตื่นตาตื่นใจจะเพียงพอกับการทำละครเด็กให้สมบูรณ์ได้ สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่าคือการลงรายละเอียดของแต่ละจังหวะในการแสดง ซึ่งละครเรื่องนี้ทำได้อย่างดียิ่ง ตั้งแต่การเชิดหุ่นให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีจังหวะของการคิด การตรึกตรองก่อนที่จะลงมือกระทำอะไร รวมไปถึง Reaction ที่เกิดจากการกระทำของตัวเอง ในขณะเดียวกัน แม้หุ่นเชิด (รวมทั้งคนเชิด) จะไม่ได้มีบทพูดเยอะ แต่ก็อาศัยตัวท่าทางที่ละเอียดอ่อนของหุ่นในการสื่อสารอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครออกมาได้อย่างสวยงาม (ซึ่งก็ต้องให้เครดิตกับคณะหุ่น “แกะดำดำ” ที่ออกแบบหุ่นดังกล่าวด้วย) นอกจากนี้แล้ว สื่อผสมอื่น ๆ อย่างจอฉายภาพแผ่นใส หรือเทคนิควาดทรายก็เป็นส่วนผสมที่ “เลือก” มาแทนบทสนทนาหรือการบรรยายได้อย่างดี

ที่ผู้เขียนชื่นชอบมากเป็นพิเศษสำหรับโปรดักชั่นละครเรื่องนี้คือการอาศัยสิ่งที่ทำอะไรอย่างง่าย ๆ และไม่ต้องลงทุนเยอะ แต่สามารถสร้างความประทับใจได้ด้วยกลวิธีผสมผสานและส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะถ้าใครที่เข้าไปดูละครเรื่องนี้ใน Crescent Moon Space แล้วอาจจะคิดได้ว่าเป็นงานละครเด็กที่ “บ้าน ๆ” และ “กันเอง” มากเสียเหลือเกิน ตั้งแต่ดนตรีสดจากคีย์บอร์ด หรือการฉายสไลด์ภาพด้วย “เครื่องปิ้งแผ่นใส” ที่เราคุ้นเคย และถ้าใครเหลือบมองก็จะเห็นว่าวิธีทำ animation ของแผ่นใสดังกล่าวนั้น “ซื่อ” เกินบรรยายเลยจริง ๆ

แต่ถ้าถามว่าส่วนไหนที่ผู้เขียนจะรู้สึกตะขิดตะขวงอยู่บ้าง คือ “ทำนอง” ของละครทั้งเรื่องที่เหมือนจะชะงักตรงกลาง ๆ เรื่องที่ดูยังขาดหายไปหลังจากโหมโรงอย่างตื่นตาตื่นใจในตอนต้นเรื่อง ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าต้องการความเงียบในจังหวะที่ต้องการสื่อสารเรื่องความเศร้าและความเดียวดาย แต่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีกลวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยทดแทนและหล่อเลี้ยง “อารมณ์” ของเรื่องให้ต่อเนื่องและบันเทิงเริงใจได้อยู่ตลอดเวลา (ซึ่งจะเห็นความเจนจัดเรื่องนี้มากในบรรดาการ์ตูนเด็กของญี่ปุ่น)

อย่างไรซะ วาวา The Rice Child ถือเป็นละครเด็กที่ดีเอามาก ๆ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างง่าย ๆ มีเนื้อหาที่สื่อสารอย่างตรงตัวแต่แยบคายด้วยกลวิธีที่ร้อยเรียงมันออกมา เป็นสื่อที่ไร้สารพิษสำหรับเด็ก และเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ใหญ่ที่คิดจะไปทำ Detox ด้านจิตใจกันเสียบ้าง


see more:
http://www.barkandbite.net/2010/10/thericechild/



Tuesday, 26 October 2010

Wawa The Rice Child

The Rice Child
October 26 & 27, 2010
at Crescent Moon Space

Crescent Moon’s experiments with music and songs, sand drawings, and a playful mix of shadow puppets – marionette and paper - to tell their story. Inspired by a Mekong folktale about bearing fruits from the same seed, theirs is a story about the friendship of two children, descended from two different cultures. Wawa comes from a minority group in Myanmar (Burma) and migrates to Thailand with her parents. Kao, just like the other Thai children, thinks that Wawa is different and joins the others in bullying her. But these children learn to know more about each other when they began to enjoy playing together. As they begin to see that they have more things in common, the relationship between Wawa and Kao evolved from discrimination to acceptance, from enmity to friendship, and from disunity to harmony.

Story & Directed by:
Sineenadh Keitprapai สินีนาฏ เกษประไพ
Set, Lighting Design & Technical Director:

Tawit Keitprapai ทวิทธิ์ เกษประไพ
Marionette workshop and training by :

Vasin Mitsuphan (Kae Dam Dam) วศิน มิตรสุพรรณ
Music Composed by :

Pornchanok Kanchanabanca พรชนก กาญจนพังคะ
Sand Drawing :

Nophand Boonyai นพพันธ์ บุญใหญ่
Shadow :

Ladda Kongdach ลัดดา คงเดช, Chantiga Chotkajornthai ฉันทิกา โชติขจรไทย


Puppeteers/Performers:
Natsarlisttar Wonenutprapha ณัชศลิษฏา วัลย์ณัฐประภา
Cheeranat Chiarakul จีรณัทย์ เจียรกุล
Sukanya Pheansri สุกัญญา เพี้ยนศรี
Arunroj Thomma อรุณโรจน์ ถมมา
Worasiri Dirapat วรศิริ ดีระพัฒน์
Sumana Sumanakul สุมนา สุมนะกุล


Crew:
Video Animation :

Jirachapong Roengjan, Tawit Keitprapai จิรัฏชพงศ์ เรืองจันทร์, ทวิทธิ์ เกษประไพ Documentation :
Kavintron Sangsakron กวินธร แสงสาคร
Set & Props :

Chaiwat Kumdee ชัยวัฒน์ คำดี
Stage Manager :

Kriengkrai Fookasem เกรียงไกร ฟูเกษม
House Manager : Donruedee Jamraschai ดลฤดี จำรัสฉาย
Production Manager :

Farida jiraphan ฟารีดา จิราพันธุ์
Producer :

Sarawanee Yodnoon ศรวนีย์ ยอดนุ่น


This project is part of Mekong Creative Arts for Advocracy Fellowship 2010

Supported by:
Save the Children UK, PETA Phillipines Educational Theatre Association, additional contributions from Terre des Hommes



Crescent Moon Theatre

One of the most active contemporary theatres in Thailand, Crescent Moon Theater aims to create theatre performances, workshop and arts activities using group efforts and dynamics. Its characteristic style is the use of collaborative approaches among its artists. For instance, the script is not only the work of the playwright but the group’s creation. Their works are designed to express their point of view, to question the meaning of life, and to surface social issues. Crescent Moon Theater is founded in the belief that theatre is the art of communication and serves as a thread to link-up people.

Crescent moon owns a small black-box theater called the Crescent Moon Space, an alternative theatre space for performances and a venue they share with contemporary theatre artists and theatre lovers.



วาวา The Rice Child

รอบแรกวันนี้

วาวา The Rice Child เป็นละครที่ถูกพัฒนาใน Mekong Laboratory 2010 ที่มะนิลา เป็นแลปที่มุ่งเน้นการทำบท เล่าเรื่องประเด็นเด็ก พระจันทร์เสีั้ยวการละครเล่าเรื่อง เด็กแรงงานข้ามชาติ เริ่มต้นความคิดจากหนังสือ และการลงพื้นที่กับองค์กรที่ทำงานด้านนี้ คือ LPN ที่สมุทรสาคร และเริ่มเขียนบท เล่าเรื่องด้วยตุ็กตากระดาษ จนวันนี้ The Rice Child เป็นหุ่นสาย มีภาพเงา มีวาดทราย มีเพลง พร้อมเปิดการแสดงรอบแรกแล้ววันนี้


Monday, 25 October 2010

The Rice Child

Next program 26-27 Oct, 2010 is "The Rice Child"



พระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ
ละครหุ่นสื่อผสมเรื่อง




"วาวา The Rice Child"


วันที่ 26 ต.ค. 53 เวลา 19.30 น. และ 27 ต.ค. 53 เวลา 14.00 และ 19.30 น. (3 รอบเท่านั้น)
ที่ โรงละครพระจันทร์เสี้ยว
ตึกอาคารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ
บัตร 100, 200 และ 250 บาท
โทร. 081 259 6906
http://www.crescentmoonspace.blogspot.com/


Crescent Moon Theatre proudly presents




THE RICE CHILD – a marionette and so on performance


At Crescent Moon space
Prid Banomyong Institute, Soi Thonglor
Oct 26, 2010 (Time 7.30 pm.) and Oct 27, 2010 (Time 2.00 & 7.30 pm.)


Ticket 100, 200, 250 B.
More info & Booking : 081 259 6906
http://www.CrescentMoonTheate.com/



Sunday, 24 October 2010

รอบการแสดง "อ่านสังคม"

วันที่ 23-24 ตุลาคม 2553
รอบเวลา 13.00 และ 15.30 น. (ทั้งหมด 4 รอบ)


กลุ่มที่ 1

ช่อลดา สุริยะโยธิน
อ่านเรื่อง “เงาแห่งยุคหิน” (Shadows of the Neanderthal เขียนโดย David Hutchens) แปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล

สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
อ่านเรื่อง “โลกสันติภาพ”


กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
อ่านเรื่อง “เพลงชาติไทย” จากหนังสือ เราหลงลืมอะไรบางอย่างไป ของ วัชระ สัจจะสารสิน

วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
อ่านเรื่อง “จิ้งหรีดแห่งเมืองสีเทา” ของ ตรัย ภูมิรัตน์

กลุ่ม 2

กรินทร์ ใบไพศาล
อ่านเรื่อง “แรด” (จากบทละคร Rhinoceros เขียนโดย Eugene Ionesco)

รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
อ่านเรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” จากบทละครเขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ

กวินธร แสงสาคร
อ่านเรื่อง “นักเลงเฟือง” จากหนังสือเรื่อง เดินอย่างปุ๊ ของ ปุ๊ กรุงเกษม และ เส้นทางมาเฟีย ของ สุริยันต์ ศักดิ์ไธสง

สินีนาฏ เกษประไพ
อ่านเรื่อง “ชั้นที่ 7” บทละครโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี



Friday, 15 October 2010

ใครบ้างที่จะมาอ่านสังคม

โครงการอ่านบทละคร - อ่านสังคม


ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 4 แล้ว เรามีนักทำละครมาร่วมอ่านทั้งหมด 8 เรื่อง ขอแนะนำ 4 คนแรกกันก่อนเลย




กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์
อ่านเรื่อง “เพลงชาติไทย” จากหนังสือ เราหลงลืมอะไรบางอย่างไป ของ วัชระ สัจจะสารสิน


วิชญ์พล ดิลกสัมพันธ์
อ่านเรื่อง “จิ้งหรีดแห่งเมืองสีเทา” ของ ตรัย ภูมิรัตน์



กวินธร แสงสาคร
อ่านเรื่อง “นักเลงเฟือง” จากหนังสือเรื่อง เดินอย่างปุ๊ ของ ปุ๊ กรุงเกษม และ เส้นทางมาเฟีย ของ สุริยันต์ ศักดิ์ไธสง


สุวรรณา พร้อมตั้งตระกูล
อ่านเรื่อง “โลกสันติภาพ”

ช่อลดา สุริยะโยธิน
อ่านเรื่อง “เงาแห่งยุคหิน” (Shadows of the Neanderthal เขียนโดย David Hutchens) แปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล


กรินทร์ ใบไพศาล
อ่านเรื่อง “แรด” (จากบทละคร Rhinoceros เขียนโดย Eugene Ionesco)

สินีนาฏ เกษประไพ
อ่านเรื่อง “ชั้นที่ 7” บทละครโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี

รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
อ่านเรื่อง “วันที่สหายพายุกลับบ้าน” จากบทละครเขียนโดย รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ


Thursday, 14 October 2010

A Play in November 2010

ละครเดือนพฤศจิกายน


กลุ่มละคร Dream Catcher
เสนอละครเวทีเรื่อง


กาลครั้งหนึ่งแห่งฝันสลาย
Once Upon A Broken Dream



รอบแสดง 5-7 และ 12-14 พฤศจิกายน 2553

ศุกร์เริ่ม 20.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ 2 รอบ
13.00 น.และ 19.30 น.

บัตรราคา 300 บาท
โทรจองได้ที่ 080-5955029




3 Project in Oct

ตุลาคมนี้มี 3 โปรเจค ที่ Crescent Moon space






เรื่องแรก



"เด๊ดสะมอเร่" – ละคร Black Comedy

เขียนบทและกำกับ โดย นพพันธ์แอนด์เฟรนส์

ยังเหลืออีก 4 รอบ วันที่ 14,15,16,17 ตุลาคม 53 เวลา 19.30 น.
บัตร 300
โทรจองด่วน 086 814 1676


โปรแกมที่ 2

พระจันทร์เสี้ยวการละครเชิญชม อ่การแสดงอ่านบทละคร

"อ่านสังคม"
จากมุมมองนักทำละครหลายคน


23-24 ต.ค. 53 เวลา 13.00 และ 15.30 น.

ชมฟรี
จองที่นั่งที่ 081 259 6906

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ 3


โปรแกมที่ 3


พระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ

ละครหุ่นสาย "วาวา The Rice Child"

กำกับโดย สินีนาฏ เกษประไพ
ออกแบบและฝึกสอนหุ่นสาย โดย วศิน มิตรสุพรรณ / แกะดำดำ
วาดทรายโดย นพพันธุ์ บุญใหญ่
ดนตรีโดย พรชนก กาญจนภังคะ

วันที่ 25-26 ต.ค. 53 เวลา 19.30 น.
และ 27 ต.ค. 53 เวลา 14.00 น.

บัตร 100, 200 และ 250 บาท
โทร. 081 259 6906


Crescent Moon Theatre proudly presents

THE RICE CHILD – a marionette and so on performance

Directed by Sineenadh Keitprapai
Marionette design and training by Vasin Mitrsuphan
Sand Drawing by Nophan Boonyai
Music by Pornchanok Kanjanapanka

Oct 25-26, 2010 (Time 7.30 pm.)
and Oct 27, 2010 (Time 4.00 pm.)
Ticket 100, 200, 250 B.

More info & Booking : 081 259 6906
http://www.CrescentMoonTheate.com/

Thursday, 7 October 2010

Deadsmaore- before it's too late

แสดงรอบแรกแล้วเมื่ออวานนี้


Deadsamore เป็นละครรีสเตจอีกครั้ง เขียนบท และ กำกับโดย นพพันธ์ บุญใหญ่ ผู้นักแสดงและผู้กำกับรุ่นใหม่ที่น่าจับตาที่สุดคนหนึ่งในขณะนี้
Deadsamore เรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตและความตาย ที่ไม่สยดสยอง แต่ ตลร้ายก เสียดสี และ ลุ่มลึกกับการให้คุณค่าในการมีชีวิตอยู่


ครั้งนี้เขาไม่ได้ร่วใแสดงเหมือนครั้งก่อน แต่ได้นักแสดงฝีมือดี คือ คานธี อนันตกาญจน์ และ รัชชัย หรือ งิ่ง เบบี้ไมม์ ที่จะเปิดปากเล่นละครพูดครั้งแรกในครั้งนี้ ร่วมด้วยนัแสดงชุดเดิม และบางตัวละครที่เปลี่ยนไป


ติดตามชมกันได้ ค่ำนี้ ยังมีการแสดงอีก 9 รอบ

มาชมก่อนที่จะสายเกินไป

Saturday, 2 October 2010

Stage play in Oct "Deadsamore"


ถ้าคุณคิดว่าชีวิต(หรือละครเวที)มันไม่มีอะไรไปมากกว่านี้ก็ลองมาดูเรื่องนี้


"เด๊ดสะมอเร่" – ละคร Black Comedy


ละคร โดย นพพันธ์แอนด์เฟรนส์

นำแสดงโดยนักแสดงละครเวทีแนวหน้าของความพิลึก

ที่ห้องพระจันทร์เสี้ยว Crescent Moon space สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ

แสดงวันที่ 6,7,8,9,10 และ 13,14,15,16,17 ตุลาคม
เวลา 19.30 น.
บัตร 300 บาท

โทรจองด่วน 086 814 1676


ถ้าคุณคิดว่าชีวิต(หรือละครเวที)มันไม่มีอะไรไปมากกว่านี้ก็ลองมาดูเรื่องนี้

Wednesday, 29 September 2010

Wednesday, 1 September 2010

Next program in Sept, 2010

โปรแกมหน้าเดือนกันยายนนี้

Right Now Theatre เสนอ ละครเวที

ควันใต้น้ำ


“ถ้าฉันบอกว่ามันจบไปแล้ว คุณจะเชื่อฉันไหม”


ดัดแปลงจากบทประพันธ์ Senza Sangue
ของ Alessandro Barrico

ดัดแปลงบทโดย จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ
กำกับโดย สายฟ้า ตันธนา

แสดง พฤ. – อา. วันที่ 16-19 และ 23-27 กันยายน 2553
เวลา 19:30 น.
ที่ Crescent Moon space
(สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ)

บัตรราคา 280 บาท (นักเรียน,นักศึกษา 220 บาท)
จองบัตรที่ 081-834 0845 และ 081-116 0066

Tuesday, 31 August 2010

สูจิบัตร Little Mime Project 2

จบไปแล้วกับความสุขและความสำเร็จอย่างล้นหลามของผลงานเบบี้ไม์ล่าสุด รวมรอบทั้งหมดแสดงไปแล้ว 19 รอบ กับความสนุกสนานเฮฮาและความน่ารักของแขกรับเชิญพิเศษสุดๆ คือ น้องทันทัน

Little Mime Project 2 - สูจิบัตร

Little Mime Project เป็นงานละครใบ้เล็กๆแต่คุณภาพคับห้อง เริ่มแสดงครั้งแรกปี 2551 โดย GTH (GLUR,TA,HAO) เป็นงานกลางปีแบบรวมกันเฉพาะกิจ แก้คิดถึงแฟนๆซึ่งจะมีสมาชิกเบบี้ไมม์ แสดงเพียง 2 คน และมีแขกรับเชิญเป็น surprise อีกด้วย

Little Mime Project 2 (พบกับ 5 เรื่องสั้น มันส์สะเทิ้นอารมณ์)
RONOTS : เมื่อหุ่นยนต์เพี้ยน เจอกับหุ่นบ๊องเรื่องตต๊องๆจึงเกิดขึ้น
CROCODILE SHOW : โชว์ตื่นตาตื่นใจของคนสู้จระเข้ที่มาพร้อมความหวาดเสียวจนทุกคนต้องร้องซี้ดดด..
DOLLS : เรื่องราวอมสนุกระหว่างคนกับตุ๊กตาเจ้าปัญหา
Mr.Photo : กว่าจะถ่ายรูปซักภาพหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
The Second : ถ้ากินเนสบุ๊คไม่เคยบันทึกความเป็นที่ 2 เราจึงต้องเปิดเผยเรื่องราวที่คุณไม่อยากเป็น

นักแสดง
รัชชัย รุจิวิพํฒน์ (งิ่ง)
ณัฐพล คุ้มเมธา (ทา)
ณัษฐภัทร์ คุ้มเมธา (ทันทัน)
ทีมงาน
กำกับการแสดง นิกร แซ่ตั้ง
จัดการโครงการและบัญชี พรพรรณ ตั้งวรกุลชัย
ออกแบบและควบคุมแสง พลัฏฐ์ สังขกร
ออกแบเสียง พรชนก กาญจนพังคะ
ควบคุมเสียง ฉันทิกา โชติขจรไทย
ดูแลเครื่องแต่งกาย พรพรรณ ตั้งวรกุลชัย
อุปกรณ์ประกอบฉาก ธีรภาพ พรประดิฐ
กำกับเวที กีรติญา รินากุล, พิชเณศ
ออกแบบสิ่งพิมพ์ พรชนก กาญจนพังคะ
บันทึกภาพนิ่ง ณัฐวุฒิ ธรรมศักดิ์
ลูกค้าสัมพันธ์ พรพรรณ ตั้งวรกุลชัย
ควบคุมการผลิต คณะบุคคลกลุ่มละครเบเบี้ไมม์


ขอขอบคุณ
สถาบันปรีดี พนมยงค์
พระจันทร์เสี้ยวการละคร
B-Floor Theatre
Democrazy Studio
Happening Magazine
GOOD FM.
Madame Figaro Magazine
ครอบครัวรุจิวิพัฒน์, คุ้มเมธา, น้องจิ๋ว, น้องไผ่, และน้องเอ๊ะ
สื่อมวลชนทุกท่านที่สัมภาษณ์และช่วยลงข่าว
ทุกพื้นที่ที่กรุณาให้ติดโปสเตอร์และวางใบปลิว
เพื่อน พี่ น้อง วงการละครเวทีทุกท่านที่ช่วยเหลือแม้ไม่ได้กล่าวถึง
คนดูและแฟนคลับที่น่ารักทุกคน

Sunday, 1 August 2010

Crescent moon space : Aug 2010

Baby Mime proudly presents



Little Mime Project 2





ละครใบ้ใกล้ชิดแบบลมหายใจ อุ่นกลิ่นไออบอวลฉุนเฉียว



12-22 August 2010 / 12-22 สิงหาคม 2553
Showtime 7:30 pm. (sat-sun add 2:00pm.) / รอบเวลา 19.30 น. (เสาร์-อาทิตย์ เพิ่มรอบ 14.00 น.)

@ Cresentmoon space
Pridi Banomyong Institute
Bts: thong lor

Ticket 300 baht.
Reserve: 081-444-7034





รีบมาจองความสนุกกันนะครับ
รอบนึงจุได้แค่ 40 คนเท่านั้นนะครับ
ช้าหมดอดสนุกนะครับ


Thursday, 29 July 2010

บทวิจารณ์ "เด๊ดสะมอเร่"

บทวิจารณ์ “DeadSaMoRe”
เขียนโดย อภิรักษ์ ชัยปัญหา
ข้อมูลจาก Madame FIGARO เดือนกรกฎาคม 2553



“การมีความทรงจำเลอเลิศแต่ ‘หลอกๆ’
กับไร้ความทรงจำ อะไรเจ็บปวดกว่ากัน”


ต้องยอมรับว่า นพพันธ์ บุญใหญ่ เป็นนักการละครสมัยใหม่ที่ขยันมากที่สุด ไฟแรงมากที่สุดในยุคนี้...เพียงผ่านมาครึ่งปี เขามีผลงานมาให้เราชมในปีนี้เป็นเรื่องที่สองแล้ว เรื่องแรกเขาทำงานกับคนรัก แต่เรื่องใหม่นี้เขาทำงานเดี่ยว เขียนบทละคร กำกับการแสดง และแสดงนำ
นับตั้งแต่ละครเรื่องแรกของเขาเมื่อสามปีก่อนจนถึงวันนี้ เขาผลิตผลงานละครเวทมีมาแล้ว 6 เรื่อง ไม่นับรวมผลงานย่อยๆที่เขาไปร่วมแจมกับเพื่อนศิลปินในสาขาอื่นๆ ผลงานของเขาสร้างแรงสะเทือนให้กับวงการละครเวทีร่วมสมัยไม่น้อย ด้วยมีทั้งผู้ชมที่ชื่นชมผลงานของเขาอย่างมากและขณะเดียวกันก็มีคนไม่ชอบผลงานของเขาเลย แต่ถึงกระนั้นงานทุกชิ้นของเขาก็กลายเป็นสิ่งที่ “ต้องดู” เสมอ


เด๊ดสะมอเร่ เป็นละครอีกเรื่องหนึ่งที่นพพันธ์ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบ แอ๊บเสริ์ด (absurd) คือการเล่าเรื่องของชีวิตที่ดูราวกับเป็นเรื่องตลกขบขันไร้สาระไม่เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งการเสพละครประเภทนี้ ข้อดีคือดูในระดับความบันเทิงก็ได้ เพราะนพพันธ์จัดมุขตลกร่วมสมัยเอาไว้ในละครของเขาเพียบ หรือจะดูในระดับลึกขึ้นอีกหน่อยก็ได้ เพราะนพพันธ์มีพื้นฐานเป็นนักนักอ่าน นักเสพงานศิลปะ ดังนั้นงานของเขาจึงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ และการจัดวางเอาไว้เพื่อตีความเสมอ...



เด๊ดสะมอเร่ เล่าเรื่องชีวิตหลังความตายที่มาแบบไม่ทันตั้งตัวของชายหนุ่มนักทำงานโฆษณา (นพพันธ์ บุญใหญ่) ที่ต้องประสบอุบัตืเหตุเสียชีวิตพร้อมๆกับกิ๊กของเขา เมื่อเขาฟื้นขึ้นมาก็พบกับชายลึกลับตนหนึ่ง (กีรติ ศิวะเกื้อ) ที่มารอรับเขาอยู่ และจะพาขำปไหนสักแห่ง แต่จู่ๆก็ปรากฏหญิงสาวลึกลับชุดขาวอีกคนหนึ่งที่ต้องการมาพาตัวเขาไปอีกแห่ง และในระหว่างที่ชายหญิงคู่นี้กำลังแย่งตัวเขาอยู่ เขาก็ได้มาพบกับฮิปปี้หนุ่ม (สายฟ้า ตันธนา) ผู้ออกมาวิพากษ์ปรัชญาการเมืองพร้อมๆกับจัดวางเครื่องปฐมพยาบาล ที่พอจัดเสร็จก็เก็บคืน แล้วจากไป และวิญญาณลามะเร่ร่อน (พลัฏ สังขกร) ที่อยู่ดีๆก็ลุกขึ้นจะมากินเขาเสียอย่างนั้น


ประเด็นท้าทายของละครเรื่องนี้ไปอยู่ตรงที่ชายชุดดำและหญิงชุดขาวต้องการให้เขากรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเพื่อเลือกความทรงจำที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิต เพื่อจะได้ติดตัวเขาไปในชีวิตใหม่...แต่เขาเลือกไม่ได้ เพราะเขายืนยันว่าไม่มี!


แต่กระนั้นเขายังมีความฝัน นั่นคือการได้รับรางวัลออสการ์และกล่าวขอบคุณบุคคลต่างๆ ดังนั้นชายลึกลับและหญิงลึกลับ จึงช่วยกันจำลองความฝันของเขาให้ออกมาเป็นภาพเสหมือนจริง จากนั้นเขาก็พร้อมจะออกเดินทาง ไปอีกโลกหนึ่งพร้อมๆกับความทรงจำ “เทียม” ติดตัวไปด้วย... เจ็บไหมครับ!


ละครเลือกเล่าความตายในแบบทีเลานทีจริง ตั้งแต่การยืมชื่อ “เด๊ดสะมอเร่” มาจากคุณเทิ่ง สติเฟื่อง พิธีกรรายการทีวียุคคุณยายมาใช้ การเล่นกับกติกาในโลกหลังความตายในแบบที่ไม่ได้เป็นกฏเกณฑ์เรื่องจักรวาลที่เรคุ้นเคย ซึ่งเต้มำปด้วยความกำกวม คลุมเครือ แต่ขระเดียวกันความลุ่มหลงบรรยากาศในอดีตของนพพันธ์ ก็ยังฉายออกมาเต็มละคร ผ่านสไลด์ที่เขาฉายเป็นฉาก เพลงประกอบที่เขานำเพลงประกอบภาพยนตร์เก่าๆ รวมทั้งการจตั้งชื่อ



นพพันธ์เลือกใช้เทคนิคการเล่าเรื่องน้องลงกว่าผลงานชิ้นก่อนๆ แต่ในด้านบท ผมกลับรู้สึกว่าเรื่องนี้ไปได้ลึกกว่าผลงานชิ้นก่อนๆพอสมควร การออกแบบแสงที่น้อยแต่มีประสิทธิภาพมากช่วยให้เรื่องดูมีมิติและเหงาหม่น อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องจะเน้นความไม่สมจริง แต่ผมก็ยังอยากเห็น “ความจริง” ที่ตัวละครเชื่อ ออกมาพร้อมกับการแสดงที่ดูไร้สาระนั้น เหมือนกับที่สายฟ้าได้ให้การแสดงที่ดีเยี่ยมในเรื่องนี้ไว้จากตัวละครอื่นๆเพิ่มขึ้น ในการรีเสตจครั้งต่อไป


ดูละครเรื่องนี้จบ ผมไม่ได้กลัวความตาย... แต่ผมกลัวการตายอย่างไร้ความทรงจำที่มีค่ามากกว่า....


ขอขอบคุณ

คุณอภิรักษ์ ชัยปัญหา และ Madame Figaro