Water Time: เพราะเวลากับความรักอาจจะไม่ไปด้วยกัน
Written by Nuttaputch
Written by Nuttaputch
ผมมักสังเกตว่าเนื้อหาของละครหรือหนังที่จะเป็นที่ชื่นชอบและเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ง่ายนั้นมักไม่พ้นเรื่องราวของความรัก ซึ่งเรามีข้อพิสูจน์จากละครดัง ๆ ในทีวีที่นับวันจะยิ่งสร้างความหวังให้กับคนดูแบบลม ๆ แล้ง ๆ รวมไปถึงสิ่งที่เราเรียกว่า “น้ำเน่า” ที่พร้อมจะเอ่อล้นจากจอทีวี
ในทางกลับกัน น่าแปลกที่ผมมักเห็นบทละครดี ๆ ที่พูดถึงความรักอย่าง “ตรงไปตรงมา” และ “ละเอียดละอ่อน” ในละครเวทีเล็ก ๆ หรือในภาพยนต์คุณภาพที่มีผู้ชมเพียงน้อยนิดและแทบจะเป็นเศษเสี้ยวเมื่อเทียบกับสื่อยักษ์ใหญ่ที่กวาดต้อนคนดูอยู่ในปัจจุบัน
ในทางกลับกัน น่าแปลกที่ผมมักเห็นบทละครดี ๆ ที่พูดถึงความรักอย่าง “ตรงไปตรงมา” และ “ละเอียดละอ่อน” ในละครเวทีเล็ก ๆ หรือในภาพยนต์คุณภาพที่มีผู้ชมเพียงน้อยนิดและแทบจะเป็นเศษเสี้ยวเมื่อเทียบกับสื่อยักษ์ใหญ่ที่กวาดต้อนคนดูอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่ง Water Time จาก Life Theatre เองก็เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องที่ผมค่อนข้างประทับใจกับเรื่องราวที่นำเสนอ เพราะแม้มันจะไม่ประโลมโลก สวยงามตระการตา แต่เนื้อแท้ของมันค่อนข้างจะจริงใจและลึกซึ้งกับสิ่งที่เรียกว่า “ความรัก” อย่างเรียบง่ายและงดงาม (สังเกตได้จากคนข้างหน้าของผมนั่นกอดคนที่มาด้วยอย่างอบอุ่นและน่าประทับใจเหลือเกิน)
บทละครที่เขียนโดย โชโกะ ทานิกาวา อาจจะเป็นเรื่องราวง่าย ๆ ของสองสามีภรรยาชาวไทยและญี่ปุ่นที่พยายามประครองชีวิตอยู่ในมหานครต่างถิ่น แรกเริ่มเราจะพบว่าความไม่ลงรอยและเนือยหน่ายนั้นคลาคลุ้งท่วมอยู่ในบรรยากาศของห้องพัก ยิ่งเมื่อไฟโมโหและความไม่พอใจปะทุขึ้นมา แรงระเบิดจากความเก็บกดก็อัดแน่นพร้อม ๆ กับความสัมพันธ์ที่พร้อมจะแตกหัก
ผมเชื่อว่าในเวลาปรกติของการมีชีวิตคู่ ไม่แปลกที่คู่รักจะต้องประสบปัญหาความรักที่จืดจางและทดแทนด้วยปัญหาของชีวิตจริงที่มารุมเร้า “น้ำ” กับ “เคนจิ” ก็ไม่ต่างกัน การพยายามประครองชีวิตคู่ที่มีเรื่องนอกเหนือไปจากความรัก เช่นเรื่องเงินทอง ๆ อาจจะกลายเป็นเมฆหมอกสีดำที่มาบดบังความหวานซึ้งไปจนหมด
และจะมีสักกี่ครั้งที่คนเราจะได้รับโอกาสในการย้อนกลับไปค้นหาและรู้สึกกับวันเก่า ๆ เพราะเวลามันก็ไม่ต่างจากสายน้ำที่ไหลไปแล้วไม่เคยย้อนกลับมา ผมว่าหลาย ๆ ครั้งเมื่อความสัมพันธ์จบลง เรามักถามตัวเองว่าเราทำสิ่งที่ถูกไปหรือเปล่า หรือไม่ก็ถามว่าเราใช้เวลากับคู่รักอย่างคุ้มค่าจริง ๆ หรือเปล่า
สำหรับ “น้ำ” และ “เคนจิ” พวกเขาอาจจะค้นพบมันเมื่อเวลามันสายไปแล้ว แต่ละครก็ไม่ได้บ่งบอกชี้ชัดไปว่ามันคือโศกนาฏกรรม ความรักในสายตาหลาย ๆ คนอาจจะมีคุณค่าเมื่อเราสูญเสียไป กับบางคนมันอาจจะงอกงามอยู่บนคราบน้ำตา ซึ่งผมว่าความรู้สึกที่ละครทิ้งท้ายไว้นั้นกลายเป็นสิ่งละเอียดละอ่อนที่เปิดกว้างให้เหล่าผู้คนที่มีมีประสบการณ์หรือกำลังประสบกับความรักอยู่นั้นได้กลับไปพิจารณาหัวใจของตัวเองโดยที่ตัวละครไม่ต้องตอบแทน
ความกลมกล่อมของบทละครในแบบที่เรียบง่าย ๆ พื้น ๆ แต่ละเอียดบนพื้นฐานของความรู้สึกเหมือนเป็นเสน่ห์สำคัญที่ผมมักเห็นได้จากละครเวทีเล็ก ๆ แต่หนักแน่นด้วยคุณภาพ บทละครอาจจะไม่บอกอะไรหรือชี้ให้เราแบบโต้ง ๆ แต่ค่อย ๆ นำพาความรู้สึกของเราจากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งด้วยบรรยากาศต่าง ๆ ซึ่งระหว่างทางนั้นก็มีการหยอดความรู้สึกต่าง ๆ เช่นอารมณ์ขันผสมผสานเข้าไปให้ละครไม่ได้ “สีดำ” หรือ “สีชมพู” อยู่ตลอดเวลา
การที่ผู้กำกับพันพัสสา ธูปเทียน ได้นักแสดงมากฝีมืออย่าง ศศิธร พานิชนก โชโกะ ทานิกาวา และอภิรักษ์ ชัยปัญหามาร่วมงานกันน่าจะเป็นความลงตัวที่ดีมากในการสร้างสรรค์ผลงานที่เรียกว่า “มีคุณภาพ” เพราะผู้กำกับเองก็ผ่านงานที่ค่อนข้างจะมากคุณภาพดังที่ผู้เขียนเคยวิจารณ์ไปในหลาย ๆ ครั้งอยู่แล้ว ส่วนนักแสดงก็ผ่านงานแสดงดี ๆ มาในปริมาณพอ ๆ กัน
ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งที่ผมมักผมจากการชมละครในเวทีเล็ก ๆ ที่เป็นงานที่มีคุณภาพนั้นคือการกำกับการแสดงของผู้กำกับรวมไปถึงการแสดงของนักแสดงที่มีความ “จริงใจ” ต่อบทละครโดยไม่ต้องอาศัยความเสแสร้ง ผลลัพธ์ที่ดีคือการที่ตัวละครนั้นเสมือนมีชีวิตอยู่ในเวทีจริง ๆ มากกว่าต้องฉาบหน้าด้วยเมคอัพเพื่อเป็นตัวละครที่พวกเขาไม่เคยเข้าถึงและมีเพียงการแสดงแห้ง ๆ เพียงเพื่อบอกว่าตัวละครนั้นคือใคร ทำอะไรอยู่ ซึ่งภายหลังกลายเป็นการสร้างมาตราฐานแย่ ๆ ให้กับวงการบันเทิงเมืองไทยจนไม่แปลกที่หนังหรือละครไทยไม่เคยไปไกลกว่าพรหมแดนประเทศเราเอง
แม้ส่วนตัวผมออกจะค่อนข้างตะหงิด ๆ กับการเกิดกลุ่มละครใหม่ (อีกแล้ว) อย่าง Life Theatre ซึ่งเป็นความร่วมมือของผู้กำกับและนักแสดงนั่นแหละ ทั้งนี้เพราะกลุ่มละครเวทีเล็ก ๆ ได้เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ในช่วงนี้ (และหลายกลุ่มเกิดมาแป๊ปเดียวแล้วก็หายไปเหมือนเพียงเพื่อสนองความต้องการบางอย่าง) แต่อย่างน้อย ผมก็ค่อนข้างดีใจที่อย่างน้อย Life Theatre ก็เป็นกลุ่มที่ไม่ได้สร้างงานที่น่าผิดหวังเหมือนกลุ่มละครบางกลุ่มหรือสถาบันการศึกษาบางที่ที่อาศัยชื่อเก่าขายไปเรื่อยแต่การพัฒนางานกลับสวนทางลงทุกวัน ๆ
ซึ่งผมหวังว่างานของ Life Theatre คงไม่จบและหายไปเหมือนสายน้ำที่ไหลไปแล้วไปเลย แต่หากให้สายน้ำนี้พาผู้ชมคนไทยไปสู่ห้องมหาสมุทรอันกว้างใหญ่
ให้รู้ว่าศิลปะมันมีค่ามากกว่าเสียงหัวเราะหรือน้ำตาที่เอาไว้หลอกตัวเองไปวัน ๆ
ให้รู้ว่าศิลปะมันมีค่ามากกว่าเสียงหัวเราะหรือน้ำตาที่เอาไว้หลอกตัวเองไปวัน ๆ
-----------------------------------------------------
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร a day
เผยแพร่ผ่านเวบไซต์
http://www.barkandbite.net/
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร a day
เผยแพร่ผ่านเวบไซต์
http://www.barkandbite.net/
No comments:
Post a Comment