Wednesday, 30 September 2009
ไทยจ๋า รอบแรกวันนี้
Tuesday, 29 September 2009
Babymime ทำไมพวกเขาจึงเป็นทารก?
ติดตามผลงานเรื่องใหม่ของพวกเขาได้ใน "ไทยจ๋า" วันที่ 30 ก.ย. และ 1,2 ตุลาคมนี้ ที่ Crescent Moon space ดูฟรีด้วยนะเออ...
http://www.vrbabymime.com/
Sunday, 27 September 2009
โครงการอ่านบทละคร – อ่านสันติภาพ (2)
หรือจองที่นั่งโดยโพสต์คอมเม้นท์ไว้ที่ด้านล่างนี้ได้เลย
Friday, 25 September 2009
Left Out - Review
written by Jasmine Baker
published in THE NATION on Tuesday, June 16, 2009
Thanks to the muscle of their marketing budget, we got endless reports on what has been happening inside Muangthai Rachadalai Theatre—Myria “Nat” Benedetti flying to and fro over the stage, for example.
Away from the hype, however, were two small-scale productions, both with English surtitle translations, taking place at intimate performance spaces. They may not be flawless but, for more laid-back theatregoers, they are a breath of fresh air.
LEFT OUT
At the thirty-seater Crescent Moon Space was Dujdao Vadhapakorn’s follow-up to “Something Else”, her successful directorial debut. In her new work “Left Out”, Dujdao once again made use of her skills as a registered dance movement therapist to unleash the creativity of the performers (herself included).
Addressing the stories often left out of conversations amongst women, Dujdao upended the scenery to invite the audience to explore new perspectives. Hung from the ceiling were a table, a pair of stools, and countless dolls. It made a striking composition.
Though the only two live performers were Dujdao and her collaborator, Silpathorn Award-winning actress Sineenadh Keiparapai, young Apichaya Somboon, appearing in a short film footage projected onto the wall, was a vital character who brought an extra dimension to the show. Apichaya was chatty and inquisitive, but her words were always ignored. The film, so dark the spectators could hardly see her face, contributed symbolically to the fact that the little girl was left alone in her own world.
Representing reticent female adults who have been socially conditioned to repress their feelings, Dujdao and Sineenadh never spoke once throughout the play and could only express their agony and frustration though their bodies. Dujdao’s discomfort in dealing with sexual matters led to a scene in which she furiously wrote taboo words on a black board and moved alongside the images of blooming flowers. Sineenadh, as a mother, relived her pain in childbirth while wandering blankly on stage.
The two were dynamic, but on the down side, their movements were extremely monotonous. Stronger dance basics or an experienced choreographer, perhaps, would have helped them live up truly to the performance’s billing as “a combination of dance, film and mind”.
Read more:
http://blog.nationmultimedia.com/danceandtheatre/2009/07/06/entry-1
Monday, 21 September 2009
Next program - ไทยจ๋า
ผลงานวิทยานิพนธ์ สร้างบทและกำกับโดย
นิสิตปริญญาโท ภาควิชาศิลปการละคร อักษรฯ จุฬาฯ
Sunday, 20 September 2009
โครงการอ่านบทละคร – อ่านสันติภาพ (1)
กมลภัทร อินทรสร
Water Time – สูจิบัตร
รายชื่อนักแสดง
น้ำ ศศิธร พานิชนก (ฮีน)
“ยังคงยืนยันว่ามีความสุขมากๆที่ได้ทำและเล่นละครเรื่องนี้ ผู้กำกับเก่ง บทดี นักแสดงน่ารัก เรารักสิ่งที่เราทำเหมือนกัน ขอบคุณจริงๆค่ะ”
เคนจิ โชโกะ ทานิกาวา (โช)
“ดีใจที่ได้เล่นอีกครั้ง เป็นเคนจิมาแล้วหลายรอบ เหลืออีก 11 รอบ ผมจะทำให้ดีที่สุด ขอให้คนดูทุกคนชอบนะครับ”
เอ อภิรักษ์ ชัยปัญญหา (โย)
“นักแสดงธรรมดาๆ คนหนึ่งกับโอกาสดีๆที่ได้ร่วมงานกับผู้กำกับการแสดง คนเขียนบท และนักแสดงเก่งๆ มันเป็นประสบการณ์ที่เกินคาด.. และคงอยู่ในความทรงจำของผมไปอีกนานเท่านาน”
รายชื่อทีมงาน
พันพัสสา ธูปเทียน -กำกับการแสดง
โชโกะ ทานิกาวา -เขียนบท
อภิรักษ์ ชัยปัญหา -อำนวยการผลิต
วรัญญา มหาจุนทการ -แปลบทภาษาญี่ปุ่น
ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ -แปลบทภาษาอังกฤษ
ศรีมณฑา ธีระวัฒนชัย -ออกแบบฉาก
พรพรรณ อารยะวีรสิทธิ์ -ออกแบบแสง
สุรชต อุณาพรมหม -ผู้ช่วยฝ่ายแสง
อรุณโรจน์ ถมมา -ผู้ช่วยฝ่าย
แสงรติพร ยงทัศนะกุล -ออกแบบสิ่งพิมพ์
ณัฐพร เทพรัตน์ -ออกแบบเสื้อผ้า และอุปกรณ์ประกอบฉาก
คานธี อนันตกาญจน์ -เรียบเรียงดนตรี
อรุณโรจน์ ถมมา -กำกับเวที
สุรชัย มิดำ -กำกับเวที
อรุณวดี ลีวะนันทเวช -อำนวยการ/บัตร
ชนกภัทร คงนุช -อำนวยการ/บัตร
วิจิตรา ดวงกันยา -อำนวยการ/ของที่ระลึก
ศศิธร พานิชนก - ประสานงาน
เสฏพันธุ์ เสริญไธสง -จัดหาทุน
นวลตา วงศ์เจริญ -ภาพโปสเตอร์
ทามากิ โอโน -ภาพประชาสัมพันธ์
วิชย อาทมาท -ถ่ายภาพ
Director’s Note
สายน้ำ และเวลามีความเกี่ยวพันธ์กันคือเวลานั้นเปรียบเหมือนสายน้ำที่ไหลผ่านไปและไม่มีวันหวนคืน การเสียใจกับอดีต เป็นความเจ็บปวดที่เศร้ามาก เพราะเราทำอะไรไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ Water Time มีจุดกำเนิดมาจากการพูดคุยกันกับนักแสดง คนเขียนบท และผู้กำกับ โดยนำเอาประสบการณ์ร่วมของพวกเรามาเป็นแรงบันดาลใจ
“This one is for you… DAD”
****** สำหรับการ Restage ในครั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเสียงตอบรับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความผูกพันที่เรามีต่อละครเรื่องนี้ ******
Friday, 18 September 2009
มี Water Time ใน Happening
Water Time
เราทะเลาะกันด้วยภาษาอะไร
จาก คอลัมภ์ บนเวที! Playing play!
จากนิตยสาร Happening ฉบับที่ 31 เดือนกันยายน 2009
.....
ช่วงเวลาของโปรดักชั่นเริ่มตั้งแต่กระบวนการคิดในเดือนธันวาคม 2551 จนถึงวันแสดงจริงครั้งแรก ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ใจช่วงวันแห่งความรักเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นั้นถือว่าสั้นมาก ทุกคนจึงต้องซ้อมกันอย่างหนักด้วยวิธีการกำกับแบบครูหนิงที่จริงจังและดึงเอาพลังของนักแสดงออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กระทั่งผลตอบรับในครั้งนั้นก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจ
“ฟีตแบ็กดีและอบอุ่นมากค่ะ คนมาดูเต็มทุกรอบ อ่านจากใบคอมเม้นท์ที่คนดูเขียนหลังจากจบการแสดง เราก็ขนลุก เพราะเขาได้ในสิ่งที่เราอยากจะบอกจริงๆ บางคนก็บอกว่าอยากกลับไปกอดแฟนที่บ้าน บางคนก็จะไปขอคืนดีกับแฟน หรือบางคนก็เดินเข้ามาขอบคุณ” รอยยิ้มของเธอปรากฏบนใบหน้า
หลังจากประสบความสำเร็จเกินคาด ละครเรื่องนี้จึงได้มีโอกาสไปทัวร์ต่างจังหวัดด้วย เริ่มที่ม้าหมุนสตูดิโอ จังหวัดลำปาง และ Minimal Gallery จังหวัดเชียงใหม่
“คณะละครที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการทัวร์มากครับ เพราะทำให้เกิดทีมเวริ์ก และยังให้ความรู้แก่คนต่างจังหวัดที่สนใจด้านนี้แต่ไม่มีโอกาสเรียนด้วย เหมือนสมัยก่อนที่ผมอยู่ญี่ปุ่น ผมก็จะชอบมากเวลามีคณะละครจากเกียวมาเล่น” เขาเอ่ยถึงสมัยที่เคยอยู่เมือง อะโอะโมริ (Aomori) จังหวัดทางภาคเหนือของญี่ปุ่น ก่อนที่แรงบันดาลใจเหล่านั้นจะผลักดันให้เขาก้าวมาทำงานละครที่โตเกียวบ้าง
“ที่ลำปางกับเชียงใหม่มีคนดูตั้งแต่เด็กๆไปจนถึงคุฯป้าคุณยาย เป็นชาวบ้านธรรมดาที่ก็ไม่ได้เคยดูละครเวทีกันบ่อยๆ แต่เราก็มีซับไตเติลช่วยแปลให้นะ ซึ่งห้องที่แสดงก็เล็กมากๆ อยู่ใกล้คนดูแค่นิดเดียว แถมไม่มีแอร์ มีแต่พัดลมตัวใหญ่ๆ 3-4 ตัว เสียงดังเลยต้องใช้สมาธิสูงมาก” เธอกล่าวเสียงเน้น “แต่ถือได้ว่าคนดูก็ให้สมาธิเราด้วย เขานั่งกันนิ่งเลยทั้งที่มันร้อนมาก เพราะเขาได้อะไรในแบบที่เขาไม่เคยดู”
หลังจากนั้น ละครเวทีเรื่องนี้ก็ได้ทุนจาก Japan Foundation ในโครงการสนับสนุนศิลปะในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ใหไปเปิดการแสดงตามมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ธรรมศาสตร์, มหาสารคาม และสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งมีการจัดเวริ์คชอปการแสดงด้วย จนในที่สุดทีมงานก็ตัดสินใจให้ละครเรื่องนี้กลับมาแสดงอีกครั้งที่กรุงเทพฯที่เวทีเดิมคือ Crescent Moon Space ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ในเดือนกันยายนนี้
“หลังจากไปเล่นที่เชียงใหม่ เราก็หยุดไปนานเหมือนกัน แต่กลับมาเล่นอีกครั้งนี้ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าซ้ำเลยนะคะ กลายเป็นว่าเราหาซอกมุมให้ตัวละครตัวนั้นได้มากขึ้น เหมือนแกงที่เคี่ยวไปเรื่อยๆ และอร่อยขึ้นน่ะค่ะ” ฮีนเล่าความรู้สึกจาการทัวร์ครั้งล่าสุดที่เธอบอกว่าได้อะไรกลับมามากมาย
ไม่เพียงแค่ทีมนักแสดง คนดูก็ได้อะไรจากละครเรื่องนี้มากมายไม่แพ้กัน เพราะไม่ว่าใครก็ต้องเคยผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับเวลาและความรักมาแล้วทั้งนั้น แม้ละครจะยกเพียงเรื่องของคู่รักมานำเสนอ แต่ก็สามารถนำไปเทียบเคียงกับความสัมพันธ์แบบใดก็ได้ ยิ่งบวกกับความใกล้ระหว่างคนดูและนักแสดงเข้าไปด้วยแว ก็ยิ่งสร้างความรู้สึกสมจริงได้มากขึ้น ช่วยให้แต่ละคนได้มีโอกาสย้อนคิดถึงการกระทำของตนเองในช่วงเวลาที่ผ่านไป
เสน่ห์ของละครเวทีคือความสดค่ะ คนดูจะเห็นว่านี่คือมนุษย์ที่มาอยู่ข้างหน้าจริงๆไม่ได้อยู่บนจอ เรารู้สึกอะไร คนดูก็รู้สึกแบบนั้นไปด้วยกันในที่ที่เล่น สำหรับฮีนการได้แสดงละครเวทีเป็นความสุขที่ได้เล่น ได้เรียนรู้จักตัวละคร ส่วนถ้าในฐานะที่เราเป็นคนดูเอง เราก็จะได้พลังบางอย่างจากนักแสดงที่มันส่งมาถึงกัน มันสนุกดี” นักแสดงสาวคนสวยยิ้มกว้าง
“ใช่ครับ” นักเขียนบทชาวอาทิตย์อุทัยเห็นด้วย “ผมรู้สึกว่าคาแรกเตอร์มันมีชีวิตอยู่ ทุกครั้งที่เล่นก็จะไม่เหมือนกัน สนุกดี แล้วยังได้เรียนรู้อะไรที่เราอาจจะไม่ได้เจอในชีวิตจริงของเราด้วย”
เป็นอย่างที่เขาว่า.... ละครทำให้เราได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง คล้ายส่องให้เราได้ย้อนดูตัวเอง ให้เข้าใจความคิด เหตุผลของการกระทำรวมไปถึงความรู้สึกที่เรามีต่อใครสักคนได้ชัดเจนขึ้น เผื่อจะได้ทบทวนบางสิ่งเล็กๆที่เราไม่เคยใส่ใจ ก่อนเอ่ยคำว่าเสียใจติ่อดีตที่ไม่อาจหวนคืน
.....
หาอ่านแบบเต็มๆได้ในนิตยสาร Happening ฉบับที่ 31 เดือนกันยายน 2009 และเราขอขอบคุณทีมงานนิตยสาร Happening ที่สนับสนุนคนทำงานละครเวที
ส่วน Water Time เหลือวีคนี้เป็นวีคสุดท้ายแล้ว
Sunday, 13 September 2009
อบรมพื้นฐานการแสดงก็กลับมาอีกแล้ว
สอนโดย
สินีนาฏ เกษประไพนักการละครและผู้กำกับ จากกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวการละครศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี 2551
เวลา 13.00 - 18.00 น.
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ
อ่านบทละคร : อ่านสันติภาพ
พระจันทร์เสี้ยวการละคร ภูมิใจเสนอ
โครงการอ่านบทละคร
"อ่านสันติภาพ"
ชมการแสดงอ่านบทละครจากมุมมองของนักการละครหลายคน
อาทิ
สายฟ้า ตันธนา
ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์, ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
ภาวิณี สมรรคบุตร
ดุจดาว วัฒนปกรณ์
วสุรัชต อุณาพรหม
วรัญญู อินทรกำแหง
กมลภัทร อินทรสร
วิชย อาทมาท
สุกัญญา เพี้ยนศรี
ผดุงพงศ์ ประสาททอง
และ ฟารีดา จิราพันธุ์
จัดแสดง
วันที่ 24-25 ตุลาคม 2552
เวลา 13.00 และ 15.30 น. (รวม 4 รอบ)
@ Crescent Moon Space
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซ.ทองหล่อ
ชมฟรีไม่เก็บบัตร
สำรองที่นั่ง (รอบละ 30 ที่นั่ง)
โทร 083 995 6040, 081 259 6906
งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ในโครงการศิลปะกับสังคม “อภิวัฒน์สู่สันติ” ในวาระครบรอบ 110 ปี รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
Saturday, 12 September 2009
Water Time - Review
Written by Nuttaputch
ในทางกลับกัน น่าแปลกที่ผมมักเห็นบทละครดี ๆ ที่พูดถึงความรักอย่าง “ตรงไปตรงมา” และ “ละเอียดละอ่อน” ในละครเวทีเล็ก ๆ หรือในภาพยนต์คุณภาพที่มีผู้ชมเพียงน้อยนิดและแทบจะเป็นเศษเสี้ยวเมื่อเทียบกับสื่อยักษ์ใหญ่ที่กวาดต้อนคนดูอยู่ในปัจจุบัน
ให้รู้ว่าศิลปะมันมีค่ามากกว่าเสียงหัวเราะหรือน้ำตาที่เอาไว้หลอกตัวเองไปวัน ๆ
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร a day
เผยแพร่ผ่านเวบไซต์
http://www.barkandbite.net/
Friday, 11 September 2009
Water Time - full house
Saturday, 5 September 2009
Water Time - next program
หลังจากการทัวร์ และหลังจากผู้กำกับ คือ ครูหนิง พันพัสสา แสดงละครในเรื่อง 'นางฟ้านิรนาม' เสร็จสิ้นแล้ว Life Theatre จะนำ "Water Time" กลับมาเล่นที่ Crescent Moon spcae อีกครั้งเพียง 10 รอบเท่านั้น โปรแกมหน้า ต่อจาก "ช่อมาลีรำลึก"
Thursday, 3 September 2009
ไทยจ๋า
ผลงานวิทยานิพนธ์ สร้างบทและกำกับโดย
"มาย" เพียงไพฑูรย์ สาตราวาหะ
นิสิตปริญญาโท ภาควิชาศิลปการละคร อักษรฯ จุฬาฯ
Water Time
水の時間
(Mizuno Zikan)
Fri 7.30 pm. / Sat – Sun 2 pm. and 7.30 pm.
@ Crescent Moon Space
Pridi Bhanomyong Institute, Soi Sukhumwit 55 (BTS Thonglor)
ช่อมาลีรำลึก - ความคิดเห็นจากผู้ชม
ภาพสุดท้ายของละครเวทีเรื่อง ช่อมาลีรำลึก เป็นเหมือนภาพวาดแนวอิมเพรสชั่นนิสต์ ...ผู้ชมแบบฉันรู้สึกแบบนั้น
ฉันให้คะแนนกับละครเวที ช่อมาลีรำลึก ที่มีปานรัตน กริชชาญชัย เป็นผู้กำกับ เขียนบท และร่วมแสดง ว่าเป็นละครเวทีที่กำลังกินอร่อย รสชาติพอดี รู้สึกว่ากลมกล่อม กินแล้วไม่อิ่มเกินไป หนึ่งชั่วโมงครึ่งกับละครเวทีที่มีบทพูดตลอดทั้งเรื่อง ไม่ได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับเรื่องราวของ ป้าช่อมาลี เลยแม้แต่น้อย หนำซ้ำตอนจบยังรู้สึกตะหงิดใจว่า เอ๊...ป้าช่อแกไปกรีซจริงหรือเปล่า หรือแกยังบ่นกับกำแพงอยู่แบบเดิม แต่ไปไม่ไปก็ช่างแกเถอะ ทิ้งไว้ให้คาใจแบบนั้นละกัน ที่แน่ๆ คนดูหลายคนออกมาแสดงความเห็นว่า ...ไม่ได้การแล้วต้องออกไปใช้ชีวิต...
ดูละครที่ปานรัตน กริชชาญชัย มาก็หลายเรื่อง ต้องบอกว่าผู้กำกับหญิงคนนี้เป็นส่วนเติมเต็มให้ ช่อมาลีรำลึก มีมิติและสีสัน ปานรัตนรับบทเป็น ตุ๊กติ๊ก และตัวละครอีกหลายตัว ออกมาปล่อยมุกเป็นระยะร่วมกับ เยาวลักษณ์ เมฆกุลวิโรจน์ (บ่วย) ซึ่งรับบทเป็นช่อมาลี (ถ้าไม่มีปานรัตน เธอก็รับหน้าที่แสดงเดี่ยวแบบเต็มๆ) หญิงที่ชีวิตถูกลดทอนสีสันลงด้วยสถานภาพเมียและแม่ การปรากฏตัวของปานรัตนจึงเป็นน้ำจิ้มชั้นดี และต้องปรบมือให้กับผู้กำกับคนนี้ว่า การเขียนบทของเธอค่อนข้างแน่นและชัดเจนในการนำเสนอความคิดผ่านบทที่สื่อออกมา
ชอบที่ปานรัตนเขียนบทด้วยการใช้วิธีย้อนแย้ง การวิพากษ์ทฤษฎีต่างๆ ซึ่งแม้ละครจะมีความเป็นเฟมินิสต์ แต่ฉันดูในสถานภาพของผู้ชมที่ไม่อยากเป็นเฟมินิสต์ และดูว่าปานรัตนกำลังเล่าเรื่องของช่อมาลีอย่างไร และใช้การเล่าแบบไหน เธอวิพากษ์ทฤษฎีทั้งหลายของนักคิดตะวันตกหลายคน ที่ให้ความรู้สึกและท้าทายคนดูว่า คุณเลือกจะเชื่อที่เขาทำทฤษฎีสูตรสำเร็จเอาไว้แล้ว หรือคุณเลือกที่จะไม่ฟังนักคิดเหล่านั้น แล้วออกไปหาวิถีทางที่ชอบ(ประมาณไปสู่ที่ชอบๆ ด้วยตัวคุณเอง)ของคุณเอง มันให้อารมณ์เหมือนว่า เลือกที่จะเป็นคนหรือคิดอย่างที่เขาคิดไว้ให้แล้ว หรือเลือกที่จะค้นหาด้วยการออกไปหาคำตอบที่ใช่ด้วยตัวของตัวเอง
ปานรัตนหยิบเอาคำพูดธรรมดาในชีวิตประจำวัน มาให้เราได้คิดตาม จริงอยู่แม้เธอจะวิพากษ์ผู้ชายมากไปหน่อย และโยนคำถามมาให้ผู้หญิงเป็นคนหาคำตอบ หรือจะติดกับดักชีวิตแค่การเป็นเมียและเป็นแม่ ส่วนชีวิตที่ต้องการจริงๆ กลับมอดไปแล้ว และเอาแต่คร่ำครวญกับฝาบ้าน ขณะที่สมาชิกในครอบครัวต่างได้ใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างเต็มที่ ผู้ชมที่เป็นผู้ชายมองข้ามเรื่องความเป็นเฟมินิสต์ไปเลยดีกว่า และมองช่อมาลีว่าเป็นชีวิตของคนๆ หนึ่ง เพราะฉันเชื่อว่าผู้ชายก็มีอารมณ์ค้นหาตัวตนเช่นเดียวกัน หรือการใช้เวลาไปกับการรำลึกถึงบางสิ่งบางอย่างในชีวิตทั้งที่เป็นอยู่ เป็นมาแล้ว และกำลังจะเป็น
บางครั้งการปรากฏตัวของปานรัตนในบทบาทต่างๆ ก็ยังทำให้เกิดคำถามตามมาว่า จริงๆ แล้วตุ๊กติ๊กนั้นมีตัวตนจริงๆ หรือไม่(หรือเธอเป็นกุมารทอง) หรือทุกภาพที่เห็นในละครคือภวังค์ความคิดของ ช่อมาลี คนเดียว บทบาทของช่อมาลีตอบโจทย์ให้กับผู้ชมและสะกิดให้ผู้ชมอย่างฉันได้ฉงน
ข้อความจากปานรัตน กริชชาญชัย ในฐานะผู้กำกับ เขียนบท และร่วมแสดง เธอเขียนไว้น่าอ่านว่า
“...ละครเรื่องนี้ผู้ทำได้รับแรงบันดาลใจจากบทละครเรื่อง Shirley Valentine ของ Willy Russell (บทดั้งเดิมได้รับรางวัล Best Comedy ของ Laurence OIivier Awards 1998) และกลอนชื่อ Waiting ของ Faith Wilding โดยการนำเรื่องราวของตัวละครเอกในเรื่อง Shirley Valentine มาผสมผสานกับคำถามที่มันคาอยู่ในใจเมื่อครั้งที่ได้ไปอ่านบทกลอนดังกล่าว แล้วก็ได้แต่นั่งคิดไปเรื่อยๆๆๆ จนวันหนึ่ง (เกือบ ๑๐ ปีล่วงมา) ก็อดทนต่อไปไม่ไหวเลยทำใจกล้าๆ ท่าสวยๆ เขียนบทขึ้นมาใหม่ในชื่อเรื่องว่า “ช่อมาลีรำลึก”
สิ่งที่เรียกว่า “Rebellious Teenage Roots” หรือ “พลังกระตุ้นของวัยแรง(แวรงงงง)” เป็นสิ่งที่มาผลักดันเส้นทางการนำเสนอละครเรื่องนี้โดยผ่านตัวละครชื่อ ช่อมาลี สาวใหญ่วัยหมดแรงแต่อยากลอง feel อีกสักครั้ง หลังจากมีชีวิตที่ไม่ได้ใช้มานาน ความแรงซ่อนเร้นที่จะพาช่อมาลีออกไปจากกรงขังใจ...แต่กว่าเจ๊แกจะยอมแรง มันต้องผ่านประตูกลกี่บานก็หาได้เดาออกไม่ มาร่วมเดินทางไปกับช่อมาลีที่จะพาเราไปเที่ยวไกลๆ...ไปโดดลงทะเลที่มันลึกลงไปชั่วนิรันดร์นั้น...”
ปานรัตน ออกมาเปิดเรื่องด้วยการเล่นคำว่า รอ ว่าชีวิตของคนเรารออะไรกันบ้าง
เราควรจะรอที่จะใช้ชีวิตหรือไม่??? ชีวิตของเราได้ใช้ไปเท่าไหร่???
มีชีวิตแล้วเราควรต้องใช้มัน ฉันได้ใช้ชีวิตไปดูละครเรื่องนี้ ดูแล้วอิ่มกำลังดี อร่อยแล้วไม่ต้องปรุงอะไร ลงตัวสุด (แต่ยังไม่อยากโดดลงทะเลที่มันลึกลงไปชั่วนิรันดร์นั้น นะ เพราะยังอยากใช้ชีวิตกับอีกหลายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง)
รอบการแสดง ช่อมาลีรำลึก
26-30 สิงหาคม และ 2-6 กันยายน 2552รอบเวลา 19.30 น.
ที่ Crescent Moon Space
บัตรราคา 300 บาท (นักเรียนนักศึกษา 250 บาท)
สอบถามรายละเอียด 086 787 7715
ขอขอบคุณ nonglucky
และคลิ๊กเข้าไปอ่านได้ที่นี่
http://www.oknation.net/blog/nonglakspace/2009/08/31/entry-1
Shirley Valentine - Preview
ยัง ยังไม่หมดรอบกับ "ช่อมาลีรำลึก" อาทิตย์นี้ยังแสดงต่อจนถึงคืนวันอาทิตย์ เรานำรีวิวจาก Daily Epress ของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นมาให้อ่านกัน
Funny-sad Valentine
By Pawit Mahasarinand
SPECIAL TO DAILY XPRESS
Published on September 1, 2009
Parnrut Kritchanchai was studying in Britain when she read the script for "Shirley Valentine" by Willy Russell, who also penned "Blood Brothers" and "Educating Rita".
She enjoyed it so much that she translated the whole book in one day, titling it "Chor Malee Ramluek", and that's the play she's directing this week.
"Shirley Valentine is a Liverpool housewife who gave up her wild life when she got married. Then her best friend wins a trip for two to Greece and she goes along, and life is never the same again.
"I've added another character - the best friend," Parnrut says.
"Part of the reason was that it's tough finding a Thai actress who could handle the solo performance, but the friend is a single woman too, so you can observe the similarities and differences between the two women."
Parnrut has also shifted the setting and social context to Thailand and stitched in some of her own experiences and those of his mother and grandmother.
Point of view
"Chor Malee Ramluek" is not, she insists, a "feminist" piece.
"We're not protesting or demanding anything. It's simply a story about how women lead their lives today, as told from women's point of view."
Parnrut, a seasoned actress known for her deadpan comedy, plays the best friend, Tuktik. Portraying Chor Malee is Sao Soong Theatre's Yaowaluck Mekkulwiroj.
"Chor Malee Ramluek" opened last Wednesday and audience reaction has exceeded Parnrut's expectations.
"The original British play was an award-winning comedy, but this adaptation somehow makes Thai viewers - even men - cry. Some people are coming back to see it a second time."
GREECE, HUH?
>> "Chor Malee Ramluek" continues at the Crescent Moon Space in the Pridi Banonmyong Institute between Soi Thong Lor 1 and 3, until Sunday, nightly at 7.30.
>> Tickets are Bt300 (Bt250 for students). Call (086) 787 7715.